GIT Information Center

ผู้เขียน : GIT Information Center

อัพเดท: 16 พ.ย. 2017 08.14 น. บทความนี้มีผู้ชม: 1259 ครั้ง

ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประัดับ สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดัีบ (องค์การมหาชน) ขอนำเสนอบทความเรื่อง "ความต้องการทองคำของอินเดียลดลง 25%" สนใจบทความอื่นๆ อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://infocenter.git.or.th


ความต้องการทองคำของอินเดียลดลง 25%

ปัจจุบันความต้องการทองคำของชาวอินเดียลดลง 25% เมื่อเทียบกับปี 2559 อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากรัฐบาลอินเดียประกาศนโยบายยกเลิกธนบัตร (Demonetization) ใบละ 500 รูปี และ 1,000 รูปี ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2559 ที่ผ่านมา อีกทั้งนโยบายการเรียกเก็บภาษีสินค้าและบริการ (GST) สำหรับทองคำและเครื่องประดับทอง ในอัตราร้อยละ 3 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2560 ก็เป็นอีกปัจจัยกดดันความต้องการทองคำและเครื่องประดับทองของชาวอินเดียให้ลดลงด้วย เนื่องจากอินเดียเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญใน 10 อันดับแรกของไทย ฉะนั้น การดำเนินนโยบายดังกล่าวจึงส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยไปยังอินเดียอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งจากสถิติส่งออกไทยในปี 2560 พบว่า ไทยเริ่มส่งออกทองคำไปยังอินเดียลดลงในไตรมาสที่ 2 และ 3 ถึง 1 เท่าตัว ขณะที่เครื่องประดับทองยังคงขยายตัวได้ในช่วง 9 เดือนแรก หากแต่มูลค่าการส่งออกก็ยังถือว่าน้อยอยู่ โดยมีมูลค่าเพียง 19.96 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นสัดส่วน 7% ของมูลค่าส่งออกไปยังอินเดียโดยรวม
 

ข้อมูลเพิ่มเติม

- นโยบายยกเลิกธนบัตร (Demonetization) ของรัฐบาลอินเดียมีเป้าหมายในการขจัดปัญหาเงินนอกระบบ (Black Money) เพื่อทำให้ธุรกิจในอินเดียเข้าสู่ระบบมากขึ้น และต้องการปราบปรามผู้ที่ให้เงินสนับสนุนกลุ่มผู้ก่อการร้าย รวมทั้งมุ่งที่จะนำพาเศรษฐกิจอินเดียสู่การเป็นเศรษฐกิจไร้เงินสด (cashless economy)

- การดำเนินนโยบาย demonetization เป็นการบังคับทางอ้อมให้ประชาชนคนเมืองและคนชนชั้นกลาง หันมาใช้ “สิ่งแทนเงินสด” อาทิ บัตรเดบิต และ digital wallet แทน ส่งผลให้กลุ่มธุรกิจประเภท e-payment, e-wallet มีการใช้กันอย่างกว้างขวางมากขึ้น จากเดิมที่มีการใช้กันเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น ปัจจุบันร้านค้าเล็กๆ แท๊กซี่ สามล้อเครื่องก็ยังต้องติดตั้งอุปกรณ์เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงนี้

- ปัจจุบันไม่มีเงินนอกระบบการค้าทองคำแบบ B2B แล้วแต่ยังพบบ้างในการค้าแบบ B2C


ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ
สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

--------------------------------------------------- 
ข้อมูลอ้างอิง:
Demonetisation spoils gold appetite, demand falls, https://economictimes.indiatimes.com (8 November 2017). 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที