เมตตา

ผู้เขียน : เมตตา

อัพเดท: 26 พ.ค. 2007 10.49 น. บทความนี้มีผู้ชม: 1837575 ครั้ง

การทำแผนธุรกิจแบบใหม่ ที่เน้นการใส่แนวความคิดเรื่องนวัตกรรมใหม่เข้าไปด้วย ระดมสมอง และ สร้างความสัมพันธ์ในกลุ่มทีมบริหารทุกผ่าย ภายใต้บรรยากาศธรรมชาติเขาใหญ่


บทสรุปของการวางแผนเชิงกลยุทธ์

ในวงจร PDCA คุณว่าขั้นตอนใดควรใช้เวลาให้มากที่สุด


       P = Plan , D = Do , C = Check , A =  Act  

       ระหว่างนายก. และนาย ข. ใครจะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานมากกว่ากัน

การวางแผนจะช่วยให้เราสามารถเตรียมความพร้อมและป้องกันข้อผิดพลาด ความสูญเสีย และความสูญเปล่าในการทำงานได้  ถ้าการวางแผนงานไม่ดี  เราอาจจะทำขั้นตอน Do ได้รวดเร็วกว่า แต่กลับจะต้องสูญเสีย เสียเวลาในการตรวจสอบและกลับมาแก้ไขข้อผิดพลาดมากขึ้น  ทำให้ประสิทธิผลและประสิทธิภาพที่จะได้ไม่เป็นไปตามแผนงาน  ดังนั้น Do Right thing at the first time เป็นเรื่องที่ดีกว่า

 จะเห็นว่าที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดตั้งแต่ขั้นตอนที่ 1- 16 เป็นขั้นตอนการ P และ เมื่อนำแผนไป D แล้ว ขั้นตอนที่ 17 เป็นขั้นตอนการ C และ A 

ในที่นี้เราใช้ KPI เป็นตัว Check นอกจากนี้  ยังต้องประเมินถึง  ผลที่ได้ (Outcome)  ระยะเวลาคืนทุน ผลประโยชน์ทางธุรกิจที่จะได้รับด้วย

สรุปขั้นตอนการแปลงวิสัยทัศน์ไปสู่การปฏิบัติ เป็นดังนี้

1. กำหนดวิสัยทัศน์ คือ ทิศทางที่ผู้นำองค์กรต้องการพัฒนาให้เกิดขึ้นกับองค์กรในอนาคต    เป็นการวางแผนระยะยาวขององค์กร  ซึ่งควรมีการปรับเปลี่ยนประมาณ 5 ปี ต่อครั้ง แต่ปัจจุบัน อาจจะต้องมีการพิจารณาถี่มากขึ้น  เพราะปัจจัยภายนอกเปลี่ยนแปลงรวดเร็วกว่าเดิม  จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์เพื่อฉกฉวยโอกาส  หรือ  ขจัดอุปสรรคทีขวางกั้นองค์กร 

2. กำหนดพันธกิจ คือ แนวทางในการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์  เป็นการวางแผนในระยะสั้น ต้องมีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์  ซึ่งควรมีการพิจารณาทบทวนประมาณ 3 ปีต่อครั้ง หรืออาจจะปีละ 1 ครั้ง เพื่อใช้ในการสร้างกลยุทธ์ขององค์กร

3. กำหนดค่านิยม คือ นิสัยที่องค์กรต้องการสร้างให้พนักงานทุกคนในองค์กรปฏิบัติ เพื่อสนับสนุนวิสัยทัศน์ขององค์กร

   กำหนดปรัชญา คือ เจตนารมณ์ในการก่อตั้งองค์กร 

4. กำหนดวัตถุประสงค์  คือ  การกำหนดสิ่งที่คาดว่าจะได้รับจากพันธกิจ  เพื่อให้ใช้เป็นแนวทางในการกำหนดเป้าหมาย

5. วิเคราะห์ปัจจัยภายใน / ภายนอก และความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งจะมีผลต่อองค์กรแล้วหามาตรการหรือกลยุทธ์ในการฉกฉวยโอกาสหรือป้องกันอุปสรรคที่จะขัดขวางองค์กร  อาจจะต้องมีการพิจารณาทุกปีเช่นกัน

 6. กำหนดเป้าหมาย คือ ตัววัดและเกณฑ์ที่องค์กรต้องการจะไปให้ถึง  ซึ่งต้องกำหนดให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และ กำหนดเป็นตัวเลข  จะใช้วิธีการกำหนดเป็นเป้าหมายประจำปี หรือ ตั้งเป้าหมายล่วงหน้าเป็นระยะเวลา 3 ปี แล้วแบ่งเป้าหมายนั้นออกมาเป็นเป้าหมายประจำปีจะยิ่งดีมากขึ้น  จากนั้นกำหนดกลยุทธ์ประจำเป้าหมายแต่ละเรื่องขึ้นมา 

จัดประเภทของเป้าหมายเป็น 4 ด้านตาม Balance scorecard รวมทั้งด้านสิ่งแวดล้อม  แล้วทำการคัดเลือกกลยุทธ์ของแต่ละด้าน

นอกจากนี้ เป้าหมายประจำปีควรมีการพิจารณากันใหม่ทุกปี เพื่อปรับเป้าหมายให้สูงขั้นเรื่อย ๆ  หลังจากที่มีการประเมินผลการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการของแต่ละปีแล้ว

7. จัดทำแผนกลยุทธ์ ระดับองค์กร ระดับธุรกิจ ควรทำการพิจารณาใหม่ทุกปีเช่นกัน

8. จัดทำแผนปฏิบัติการของแต่ละฝ่าย แล้วทำการติดตามผล ซึ่งควรจะมีการพิจารณากันทุกไตรมาส

 

จะเห็นว่าเมือผ่านขั้นตอนเหล่านี้มาแล้วเราจะได้แผนกลยุทธ์ที่ทำหน้าที่แปลงวิสัยทัศน์ของผู้นำมาสู่การปฏิบัติจริง  ซึ่งจะทำให้เกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement) ตามทิศทางที่ผู้นำกำหนด และเป็นข้อกำหนดข้อหนึ่งในระบบบริหารคุณภาพที่สำคัญ เช่น ISO 9000 , TQM , TQA  ซึ่งต่างก็มีหลักการในการวางแผนกลยุทธ์คล้ายคลึงกัน  แต่มีเทคนิคและวิธีการแตกต่างกันไป  เทคนิคการวางแผนเชิงกลยุทธ์ที่กล่าวมาแล้วแล้วนี้เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น

หน้าที่ของผู้นำที่สำคัญ คือ ต้องรับรู้ข่าวสารทั้งภายในองค์กรและภายนอกองค์กรแล้วสามารถวิเคราะห์สถานการณ์  เพื่อชี้ทิศทางและนำพาองค์กรให้เจริญก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง  ดังนั้นผู้นำต้องมีสายตากว้างไกล ซึ่งเป็นที่มาของคำว่าวิสัยทัศน์

ผู้นำของประเทศเวียตนาม  ประกาศเป้าหมายจะพัฒนาประเทศไปสู่ประเทศอุตสาหกรรมภายในเวลา 13 ปีนับต่อจากปีนี้ไป  เขาต้องการจะมีสนามบินประจำชาติที่ใหญ่กว่าสนามบินสุวรรณภูมิ  ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ท้าทายมากและเป็นไปได้

วิสัยทัศน์ของผู้นำเวียตนามครั้งนี้ ก่อให้เกิดความตื่นตัวของนักลงทุนต่างชาติ แห่กันเข้าไปจับจองลงทุนในประเทศนี้ เพื่อฉกฉวยโอกาส  ใครเข้าไปก่อนได้เปรียบกว่า  

สิ่งที่เวียตนามคาดว่าจะได้รับ คือ เทคโนโลยีและความรู้ทางด้านอุตสาหกรรมที่ต่างชาติจะต้องถ่ายทอดให้พวกเขา  และเขากำลังจะเจริญรอยตาม ไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้

เมื่อไม่นานมานี้  ได้อ่านข่าวเกี่ยวกับการตรวจพับบาร์ที่เปิดเกินเวลาในเวียตนาม  และมีนักเที่ยววัยรุ่นจำนวนมากที่ตรวจพบสารเสพติด  ทำให้ได้ข้อคิดเตือนใจว่า  “ การพัฒนาทางด้านวัตถุควรควบคู่ไปกับการพัฒนาทางด้านจิตใจเสมอ”


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที