ในบทความ เครื่องมือวัด ส่วนที่ 1 : .ชิ้นงานจำนวน 10 ชิ้น เพียงพอหรือไม่ ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ว่าการใช้ชิ้นงาน 10 ชิ้น เพียงพอหรือไม่ในการวิเคราะห์เครื่องมือวัด และได้ให้คำแนะนำไว้แต่ละอย่างที่สอดคล้องกับผลลัพธ์ที่ได้
ตอนนี้ผมจะมาดูอีก 2 ปัจจัยที่ต้องสนใจในการศึกษาเครื่องมือวัด การใช้พนักงานวัด 3 คน หรือ ทำซ้ำ 2 ครั้ง โดยเฉพาะเมื่อถ้าไม่สามารถเพิ่มจำนวนชิ้นงานในการศึกษา (ซึ่งในบทความก่อนหน้านั้นได้แสดงให้เห็นแล้วว่า คุณไม่สามารถใช้ชิ้นงานจำนวนมากๆได้) แล้วถ้าทำการเพิ่มจำนวนพนักงานวัด หรือ จำนวนทำซ้ำ จะเป็นไปได้หรือไม่
พนักงานวัด
เราจะเริ่มจาก พนักงานวัด โดยจะใช้เครื่องมือแบบเดียวกับในบทความส่วนที่ 1 ในการจำลองสถานการณ์ และครั้งนี้จะทำการจำลองสถานการณ์ 2 แบบที่แตกต่างกัน คือ เพิ่มพนักงานวัดเป็น 4 คน แต่ยังใช้จำนวนชิ้นงาน 10 ชิ้น และทำซ้ำ 2 ครั้ง (ซึ่งเท่ากับจำนวนข้อมูลทั้งหมดที่จะได้คือ 80 ข้อมูล) อีกหนึ่งสถานการณ์ คือ เพิ่มจำนวนพนักงานวัดเป็น 4 คน และใช้จำนวนซ้ำ 2 ครั้ง แต่ลดจำนวนชิ้นงานลงเป็น 8 ชิ้น ซึ่งทำให้จำนวนการทำการทดลองทั้งหมดลดลงใกล้เคียงกับที่เริ่มต้น (ของใหม่คือ64 ข้อมูล ซึ่งใกล้เคียงกับของเดิมคือ 60 ข้อมูล ซึ่งเป็นการทดลองเริ่มต้น)
และการเปรียบเทียบการทดลองแบบต่างๆตามกราฟ
จากกราฟอาจไม่ได้แสดงผลอย่างชัดเจน แต่การเพิ่มจำนวนพนักงานวัดเป็น 4 คน แต่ลดจำนวนชิ้นงานเหลือ 8 ชิ้น ทำให้ความผันแปรเพิ่มขึ้น ซึ่งเห็นได้จากค่า %Contribution ดังนั้นตัวเลือกนี้ ทำการทดลองทั้งหมดเพิ่ม 4 ครั้ง ไม่ใช่ตัวเลือกที่ดี ส่วนการทดลองที่ใช้พนักงานวัด 4 คน และยังใช้จำนวนชิ้นงาน 10 ชิ้น (จำนวนครั้งการทดลองทั้งหมด คือ 80 ครั้ง) ไม่ได้แสดงผลการปรับปรุงที่มีนัยสำคัญใดใดจากการทดลองมาตรฐาน
จำนวนการทำซ้ำ
ตอนนี้มาดูจำนวนการทำซ้ำ ซึ่งเราจะทำการศึกษาเหมือนกัน คือ ทำการจำลองสถานการณ์ด้วยการเพิ่มจำนวนซ้ำเป็น 3 ครั้ง โดยยังคงใช้ชิ้นงาน 10 ชิ้น และ พนักงานวัด 3 คน เหมือนเดิม (จำนวนครั้งการทดลองทั้งหมด คือ 90 ครั้ง) ส่วนอีกสถานการณ์คือ เพิ่มจำนวนซ้ำเป็น 3 ครั้ง โดยยังคงใช้พนักงานวัด 3 คน แต่ลดชิ้นงานเหลือ 7 ชิ้น (จำนวนครั้งการทดลองทั้งหมด คือ 63 ครั้ง)
และผลการเปรียบเทียบการทดลองแบบต่างๆ คือ
และผลที่ได้รับเป็นแบบเดียวกับที่ได้จากการเปลี่ยนจำนวนพนักงานวัด การเพิ่มจำนวนทำซ้ำเป็น 3 ครั้ง เพื่อให้ลดจำนวนชิ้นงานเหลือ 7 ชิ้น (จำนวนครั้งการทดลองทั้งหมด คือ 63 ครั้ง) ทำให้ความผันแปรเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และ การเพิ่มจำนวนการทำซ้ำ 3 ครั้ง โดยที่ยังใช้จำนวนชิ้นงาน 10 ชิ้นเท่าเดิม ไม่ได้ปรับปรุงผลใดใด
สรุปผลเกี่ยวกับพนักงานวัดและจำนวนการทำซ้ำในการศึกษาเครื่องมือวัด
จากที่กล่าวไว้ด้านบน เราทำการดูผลกระทบที่มีต่อค่าประมาณความคลาดเคลื่อนของระบบการวัดทั้งหมดเมื่อทำการเปลี่ยนแปลงปัจจัยการศึกษา จากการเปลี่ยนจำนวนพนักงานวัดเป็น 4 คน และ จำนวนการทำซ้ำเป็น 3 ครั้ง จะไม่เห็นผลการปรับปรุงใดใดที่มีต่อค่าประมาณ %Contribution หรืออาจจะทำให้ผลที่ได้นั้นแย่ลงด้วย ในบางครั้งคุณอาจจะมีความพร้อมที่จะทำการทดลองเพิ่มขึ้นเพื่อให้ได้ผลที่ถูกต้องมากขึ้น แต่ควรจะเลือกการทดลองแบบใดนั้นเป็นสิ่งที่คุณต้องเลือก สถานการณ์ที่น่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด ถ้าคุณสามารถทำการทดลองเพิ่มได้ คือ การเพิ่มจำนวนชิ้นงาน
แล้วการเลือกชิ้นงานเพื่อมาทำการทดลองนั้น ควรทำอย่างไร ซึ่งจะกล่าวในบทต่อไป
บทความต้นฉบับ : http://blog.minitab.com/blog/fun-with-statistics/gauging-gage-part-2-are-3-operators-or-2-replicates-enough
เนื้อหาบทความโดยบริษัท Minitab Inc. ประเทศสหรัฐอเมริกา
แปลและเรียบเรียงโดยสุวดี นําพาเจริญ และ ชลทิขา จํารัสพร, บริษัท โซลูชั่น เซ็นเตอร์ จํากัด webadmin@solutioncenterminitab.com
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที