แหล่งกำเนิดเพชร
แหล่งกำเนิดเพชร
อินเดีย มีการขุดเพชรมากกว่า 5000 ปีมาแล้ว เป็นประเทศแรกที่พบเพชร เพชรที่อินเดียเป็นเพชรมีคุณภาพสูง เม็ดมีขนาดใหญ่ และมีจำนวนมาก เพชรที่มีชื่อเสียงของโลกกว่าครื่งมาจากประเทศอินเดีย
บราซิล เป็นประเทศรองจากอินเดียที่พบเพชร โดยพบในปี พ.ศ. 2288 เพชรที่นี่ไม่สวยเท่ากับอินเดีย เม็ดมีขนาดเล็กเป็นส่วนใหญ่ ใช้ในวงการอุตสาหกรรม ขณะนี้มีปริมาณน้อยแล้ว
แอฟริกา เมื่อเพชรที่บราซิลเริ่มน้อยลงก็พบเหมืองใหม่เมื่อ พ.ศ. 2410 ที่แอฟริกาเพชรมีคุณภาพสูง สวยงามและมีเม็ดขนาดใหญ่ ๆ และมีปริมาณมาก
รัสเซีย ในปี ค.ศ. 1970 มีการขุดเพชรที่รัสเซีย เพชรที่รัสเซียปริมาณมากกว่าแอฟริกา แต่เนื่องจากความเป็นประเทศในโลกที่สาม จึงไม่เป็นที่สนใจนัก
นอกจากนี้ยังพบที่ จีน อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย โคลัมเบีย สหรัฐอเมริกา เวเนซุเอล่า โบลิเวีย กิอานา และไซบีเรีย ในประเทศไทยพบที่จังหวัดพังงาปนอยู่ในแหล่งแร่ดีบุก เพชรที่พบเหล่านี้มีขนาดเล็กไม่ถึงหนึ่งกะรัต และมีปริมาณไม่มากนัก
อินเดียเป็นชาติแรกที่รู้จักการเจียระไนเพชร แต่ไม่มีชื่อเรื่องความสวยงามเพราะคำนึงถึงปริมาณเนื้อเพชรมากๆ จนกระทั่ง Vineenti Peruzzi ชาวเวนิสเป็นผู้ออกแบบ Brilliant cut นับเป็นครั้งแรกที่ทำให้นักเจียระไนทั่วโลกได้เห็นไฟ และประการแวววาวที่สวยงามของเพชรเป็นครั้งแรก แต่รูปทรงยังไม่ดีนักโดยในเวลาต่อมาก็ได้มีการปรับปรุงต่อเนื่องกันมาเรื่อยๆ
แหล่งเจียระไนที่มีชื่อ ได้แก่ เบลเยียม, ฮอลันดา, นิวยอร์ค, ลอนดอน, อิสราเอล และอินเดีย ในปัจจุบันรูปแบบการเจียระไนที่นิยม คือ การเจียระไนเหลี่ยมเกสร (Round Brilliant Cut) ซึ่งมี 57-58 เหลี่ยม ถ้าเพชรมีคุณสมบัติ 4C อย่างใดอย่างหนึ่ง หมายถึง เพชรที่ไม่มีสี มีรูปร่างในการเจียระไนสวยงาม ไม่มีมลทิน
เพชรสังเคราะห์และเพชรเทียม
เพชรสังเคราะห์ (Synthetic Diamond) นักวิทยาศาสตร์คิดสังเคราะห์เพชรขึ้นเป็นผลสำเร็จตั้งแต่ปี พ.ศ. 2498 เนื่องจากเพชรเป็นอัญมณีที่มีราคาสูงจึงมักทำเทียมขึ้น ปัจจุบัน General Electric Company เป็นผู้ผลิตเพชรสังเคราะห์เพื่อใช้งานด้านอุตสาหกรรมรายใหญ่ที่สุด นอกจากนี้ผู้ผลิตรายอื่น ๆ ได้แก่ แอฟริกาใต้ , ญี่ปุ่น ,จีน ,รัสเซีย
ในการผลิตเพชรสังเคราะห์ สามารถทำโดยใช้หินแกรไฟต์ (Graphite) ซึ่งประกอบด้วยคาร์บอนเช่นเดียวกับเพชร มาให้ความร้อน และแรงกดสูง เพื่อให้อะตอมของ C เข้ามาอยู่ด้วยกันมากขึ้น ก็จะได้ความหนาแน่นมากขึ้น สามารถทำให้หินแกรไฟต์กลายเป็นเพชรสังเคราะห์ มีความแข็งเท่ากับเพชร แต่มีตำหนิมากจึงนิยมใช้ในด้านอุตสาหกรรม แต่ถ้าจะนำไปทำเป็นเครื่องประดับจะต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงในการแก้เพชรสังเคราะห์ให้บริสุทธิ์เท่ากับเพชรธรรมชาติ คาดว่าในอนาคตนักวิทยาศาสตร์คงสามารถสังเคราะห์เพชรหรือนำไปใช้เป็นเครื่องประดับในราคาถูกได้
เพชรเทียม ( Diamond Substitutes ) คือ แร่หรือสารสังเคราะห์ที่ไม่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ เมื่อเจียระไนแล้ว มีคุณสมบัติทางด้านแสงคล้ายเพชร ดังนั้นเพชรสังเคราะห์และเพชรเทียมจึงไม่เหมือนกัน
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที
- ตอนที่ 1 : แหล่งกำเนิดเพชร