GIT Information Center

ผู้เขียน : GIT Information Center

อัพเดท: 07 มิ.ย. 2017 03.35 น. บทความนี้มีผู้ชม: 1595 ครั้ง

การประชุมเจรจาความตกลงการค้าเสรีไทย-ปากีสถาน หรือ FTA มีความคืบหน้าไปอีกขั้น จากการประชุมล่าสุดครั้งที่ 7 ระหว่างวันที่ 17 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2560 ณ กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการประชุมเพื่อหารือถึงแนวทางในการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การแก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้า รูปแบบการลดภาษี (modality) และกฎถิ่นกำเนิดเฉพาะรายสินค้า รวมถึงการเร่งหาข้อสรุปรายการสินค้าที่ต้องการให้มีการเปิดตลาดระหว่างกัน ซึ่งผลจากการประชุมในครั้งนี้ทั้งสองฝ่ายเห็นควรเร่งสรุปผลการจัดทำ FTA ระหว่างไทยกับปากีสถานให้ได้ภายในปีนี้ตามที่ตั้งเป้าเอาไว้ เพราะการจัดทำ FTA ระหว่างกันนอกจากจะเป็นการกระชับความสัมพันธ์อันดีของทั้งสองประเทศแล้ว ยังเป็นผลประโยชน์ต่อทางด้านเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศด้วย ติดตามบทความฉบับเต็มได้ที่ https://goo.gl/1uOdsl หรือติดตามบทความอื่นๆ ที่ http://infocenter.git.or.th


จับตาการประชุมเจรจาเพื่อจัดทำ FTA ระหว่างไทยกับปากีสถาน

http://www.thansettakij.com/
 
การประชุมเจรจาความตกลงการค้าเสรีไทย-ปากีสถาน หรือ FTA มีความคืบหน้าไปอีกขั้น จากการประชุมล่าสุดครั้งที่ 7 ระหว่างวันที่ 17 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2560 ณ กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการประชุมเพื่อหารือถึงแนวทางในการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การแก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้า รูปแบบการลดภาษี (modality) และกฎถิ่นกำเนิดเฉพาะรายสินค้า รวมถึงการเร่งหาข้อสรุปรายการสินค้าที่ต้องการให้มีการเปิดตลาดระหว่างกัน ซึ่งผลจากการประชุมในครั้งนี้ทั้งสองฝ่ายเห็นควรเร่งสรุปผลการจัดทำ FTA ระหว่างไทยกับปากีสถานให้ได้ภายในปีนี้ตามที่ตั้งเป้าเอาไว้ เพราะการจัดทำ FTA ระหว่างกันนอกจากจะเป็นการกระชับความสัมพันธ์อันดีของทั้งสองประเทศแล้ว ยังเป็นผลประโยชน์ต่อทางด้านเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศด้วย
 
http://www.gotoknow.org
 
การจัดทำความตกลงการค้าไทย-ปากีสถาน (FTA) นอกเหนือไปจากการส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือกัน ทางเศรษฐกิจ และการช่วยขจัดอุปสรรคทางการค้าทั้งในรูปแบบภาษีและไม่ใช่ภาษีแล้ว ยังเป็นการเพิ่มโอกาสทางการค้าให้แก่ไทยทั้งในด้านการส่งออกสินค้าที่มีศักยภาพ และนำเข้าวัตถุดิบคุณภาพดีจากปากีสถาน รวมถึงการอาศัยปากีสถานเป็นประตูการค้าในการขยายตลาด และการกระจายสินค้าของไทยไปยังประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และประเทศจีนตอนกลางได้ เมื่อพิจารณาถึงศักยภาพของปากีสถานในปัจจุบันพบว่าปากีสถานเป็นตลาดส่งออกที่มีศักยภาพ และเป็นตลาดใหญ่อันดับ 2 ในภูมิภาคเอเชียใต้ รองจากอินเดีย ด้วยมีจำนวนประชากรมากกว่า 200 ล้านคน โดยแบ่งเป็นประชากรที่มีกำลังซื้อสูงถึงประมาณ 30 ล้านคน ประกอบกับการที่รัฐบาลปากีสถานมีนโยบายเปิดเสรีมากยิ่งขึ้น เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ รวมทั้งนโยบายมองตะวันออก (Look East Policy) ที่ต้องการส่งเสริมและขยายความสัมพันธ์กับประเทศในภูมิภาคอาเซียน จึงทำให้ปากีสถานถือเป็นตลาดใหม่ที่น่าสนใจ


ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ แม้ว่าระหว่างไทยกับปากีสถานจะมีมูลค่าการนำเข้า และส่งออกค่อนข้างน้อย โดยจากสถิติปี 2559 พบว่าไทยมีมูลค่าการนำเข้าสินค้าจากปากีสถานอยู่ที่ประมาณ 11.58 ล้านเหรียญสหรัฐ สินค้านำเข้าส่วนใหญ่เป็นพลอยสี (พิกัด 7013) ขณะที่มูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 6.8 ล้านเหรียญสหรัฐซึ่งถือว่าไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้าในปีที่ผ่านมา แต่ทั้งนี้เป็นที่คาดการณ์ว่ามูลค่าการส่งออกของไทยจะมีแนวโน้มเติบโตได้ดีขึ้นจากการที่ปากีสถานมีแผนจะดำเนินโครงการความร่วมมือระหว่างประเทศด้านอัญมณีและเครื่องประดับต่อไปในอนาคตภายหลังจากที่การจัดทำ FTA สัมฤทธิ์ผล ดังนั้น จึงมีความน่าสนใจที่ผู้ประกอบการควรจะติดตามสถานการณ์ และความคืบหน้าในการจัดทำ FTA ระหว่างไทยกับปากีสถาน เพราะมีการประเมินถึงประโยชน์ทั้งด้านการค้า และการลงทุนระหว่างกันทั้งสองฝ่าย ความตกลงดังกล่าวอาจเป็นการช่วยเอื้อประโยชน์แก่ผู้ประกอบการได้บ้างในอนาคต ดังเช่น กรณีที่ไทยจะสามารถนำเข้าวัตถุดิบคุณภาพดีจากปากีสถาน เช่น ทับทิบ แซฟไฟร์ มรกต โกเมน และควอตซ์ โดยลดขั้นตอนความยุ่งยากทางศุลกากร และกฎระเบียบต่างๆ ลง เป็นต้น

ทั้งนี้ การเจรจาครั้งต่อไปจะมีขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2560 ซึ่งดูจากทิศทางแล้วเหลือรายละเอียดอีกเพียงไม่กี่ประเด็นที่จะต้องหาข้อสรุป จึงคาดการณ์ว่าการจัดทำ FTA ระหว่างไทยกับปากีสถานจะสามารถสัมฤทธิ์ผลได้ตามที่รัฐบาลทั้งสองฝ่ายตั้งเป้าหมายเอาไว้ และจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการค้า และการลงทุนในภาคธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับในอนาคต 

 

ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

 
-----------------------------------------
ข้อมูลอ้างอิง:     
1. ไทย-ปากีสถาน เจรจา FTA รอบที่ 7 คืบหน้าไปอีกขั้น, ฐานเศรษฐกิจ (22 พฤษภาคม)
2. เดินหน้า FTA ไทย-ปากีสถาน เร่งเจรจาสรุปเปิดตลาดการค้าเสรีระหว่างกัน, ประชาชาติธุรกิจ (18 พฤษภาคม)
3. ไทย-ปากีสถาน เจรจา FTA รอบที่ 7, ทรานสปอร์ต เจอนัล (23 พฤษภาคม)

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที