Solution Center Minitab

ผู้เขียน : Solution Center Minitab

อัพเดท: 25 พ.ค. 2017 03.48 น. บทความนี้มีผู้ชม: 2635 ครั้ง

การใช้ DOE เพื่อทำการหาค่า settings ที่เหมาะสม (optimal) และปรับปรุงกระบวนการ ถือเป็นงานที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด อย่างไรก็ดีการใช้ DOE ถือเป็นงานที่ท้าทายสำหรับงานการปรับปรุงคุณภาพ เมื่อตอนเริ่มต้นทำงานเราอาจจะหลงทางได้ง่ายๆ โดยเฉพาะตอนจะเลือกตัวแบบใดมาทำการทดสอบรวมไปถึงจำนวนปัจจัย (Factors) และระดับของปัจจัย (Level of factor) ที่จะนำมาทดสอบ ซึ่งการเลือกตัวแบบให้ได้ตามความเหมาะสมถือเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก


4 เคล็ดลับที่ทำให้คุณมั่นใจว่าคุณกำลังทำงานแบบ DOE ไม่ใช่ D.O.A. (Four Tips for Making Sure Your DOE isn’t D.O.A.))

การใช้ DOE เพื่อทำการหาค่า settings ที่เหมาะสม (optimal) และปรับปรุงกระบวนการ ถือเป็นงานที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด อย่างไรก็ดีการใช้ DOE ถือเป็นงานที่ท้าทายสำหรับงานการปรับปรุงคุณภาพ เมื่อตอนเริ่มต้นทำงานเราอาจจะหลงทางได้ง่ายๆ โดยเฉพาะตอนจะเลือกตัวแบบใดมาทำการทดสอบรวมไปถึงจำนวนปัจจัย (Factors) และระดับของปัจจัย (Level of factor) ที่จะนำมาทดสอบ  ซึ่งการเลือกตัวแบบให้ได้ตามความเหมาะสมถือเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก

ตอนที่เริ่มศึกษา DOE ถือเป็นเรื่องที่น่ากลัวอย่างหนึ่ง แต่เมื่อเริ่มมาเรียนรู้กับผู้ฝึกสอน DOE ของ MINITAB คุณ Lou Johnson และ คุณ Eduaro Santiago แทบไม่น่าเชื่อเลยว่าผมก้าวผ่านความกลัวเหล่านั้นไปได้ง่ายๆ คุณ Lou และคุณ Eduaro ทำงานให้กับลูกค้าของ Minitab มานานและได้เก็บเกี่ยวกับเรื่องราวต่างๆ พร้อมทั้งเคล็ดลับที่จะช่วยในการทำ DOE ได้เป็นอย่างดี

1 : การทำการทดลองแบบสำรวจ (exploratory runs) เพื่อจะช่วยบ่งชี้ตัวแปรของการศึกษาที่ถูกต้อง การใช้การทดลองแบบสำรวจก่อนที่จะทำการทดลองหลัก จะช่วยในการบ่งชี้ค่า settings ได้ดีขึ้น ซึ่งการทำแบบนี้จะช่วยทำให้จำนวนตัวแปรที่จะนำมาการทดลองนั้นให้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น

2 : ควบคุมจำนวนการทดลองตลอดช่วงค่าการทดลองเพื่อดูความเสถียรของกระบวนการ การทำการทดลองที่มี center point ด้วยจะเป็นจุดที่ช่วยสังเกตสำหรับการทดลองว่ากระบวนระหว่างการทดลองนั้นมีความเสถียรหรือไม่ เพราะ center points ในการทดลองจะเป็นตัวสังเกตเรื่องเงื่อนไขการทดลองเรื่อง ความเป็นปกติ ซึ่งถือเป็นจุดทวนสอบสมรรถนะของกระบวนการ

3 : การใช้ Pareto เพื่อบ่งชี้ปัญหาที่สำคัญที่สุดที่จะนำมาแก้ไขเป็นข้อแรก แผนภาพพาเรโต คือ แผนภาพที่แสดงผลิตภัณฑ์หรือข้อบกพร่องที่จะเป็นหัวข้อที่ถูกนำมาแก้ไขตามลำดับความสำคัญเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นของธุรกิจนั้นๆ การเลือกหัวข้อในการแก้ไขโดยนำมาทำโครงการการปรับปรุงตามลำดับความสำคัญที่มีผลต่อธุรกิจ

4 : ขยายช่วงของค่า setting เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการปรับปรุง ทำการทดสอบในช่วงของ input ให้กว้างที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ โดยไม่ต้องสนใจว่าช่วงนั้นจะเป็นช่วงที่จะได้ใช้งานหรือไม่ ซึ่งการทำการทดลองแบบนี้จะเป็นส่วนช่วยให้ทำความเข้าใจกระบวนการได้ดีขึ้นและทำให้ค่า setting ที่เหมาะสมได้ด้วย

ในบทความต่อไปจะเป็นเคล็ดลับเพิ่มเติมในการทำ DOE


บทความต้นฉบับ : http://blog.minitab.com/blog/real-world-quality-improvement/four-tips-for-making-sure-your-doe-isnt-doa

เนื้อหาบทความโดยบริษัท Minitab Inc. ประเทศสหรัฐอเมริกา
แปลและเรียบเรียงโดยสุวดี นําพาเจริญ และ ชลทิขา จํารัสพร, บริษัท โซลูชั่น เซ็นเตอร์ จํากัด webadmin@solutioncenterminitab.com


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที