การที่บุคคลลดความเป็นอิสระเสรีของตนเองมาสังกัดอยู่ในองค์การ ยอมรับปฏิบัติตามระเบียบแบบแผน แนวทางประพฤติปฏิบัติ ตลอดจนปรับตนให้เข้ากับวัฒนธรรมขององค์การ เป็นสิ่งที่ต้องเข้าใจธรรมชาติและความรู้สึกนึกคิดของคนว่า คนแต่ละคนต้องการสิ่งทดแทนอย่างไร ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีเหตุผลและแรงจูงใจอย่างเดียวกัน แม้จะอยู่บนพื้นฐานเพื่อสนองความต้องการของตนเองเหมือนกัน การบริหารทรัพยากรบุคคลมีข้อควรคำนึงในด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลต่อบุคคล และบุคคลต่อองค์การ เพื่อที่จะให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ ทั้งยังจะต้องทำให้บรรลุเป้าหมายในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งด้านการผลิต การตลาด การเงิน และการบริหารทั่วไป การบริหารงานทรัพยากรบุคคล อาจพิจารณาแบ่งเป็น 3 ยุค ได้แก่ ยุคคลาสสิค (Classic Theory) วัตถุประสงค์ขององค์การเน้นประสิทธิภาพ และประหยัด ยุคนิโอคลาสสิค (Neo Classic Theory) วัตถุประสงค์ขององค์การเน้นพฤติกรรมของมนุษย์เป็นสำคัญ ยุคสมัยใหม่ ( Modem Theory) วัตถุประสงค์ขององค์การเน้นความต้องการกว้างขวางหลายด้านดังนี้ การปรับตัวและการอยู่รอด การพัฒนาศักยภาพของบุคคล การประเมินผลการปฏิบัติงาน การวางแผนพัฒนาความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน การบริหารค่าตอบแทนและผลประโยชน์ เมื่อองค์การเน้นความต้องการหลายด้านดังกล่าวข้างต้น การบริหารทรัพยากรบุคคลในปัจจุบันจึงต้องคำนึงถึงเป้าหมายขององค์การควบคู่เป้าหมายของบุคคล โดยพิจารณาถึงค่านิยม ความคาดหวัง ความต้องการของบุคคล และจัดการให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านคนและเทคโนโลยี ในยุคที่การบริหารงานทุกด้านต้องเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนเป็นความจำเป็นที่วชาชีพ HR ต้องเพิ่มคุณค่าในงานของตน มีความจำเป็นต้องรื้อปรับระบบ เช่น เดียวกับการบริหารจัดการทั่วไปให้มากเท่าที่จะมากได้ เทคโนโลยีช่วยให้เราก้าวออกมาจากระบบประเพณีปฏิบัติ (Tradition) ในฐานะ ผู้สนับสนุน มาเป็นบทบาทเชิงรุกมากขึ้นในฐานะผู้วางแผนรวม (Corporate plowmen) และนักกลยุทธ์ ( Strategist) |
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที