คำว่า ‘ภาระหน้าที่’ เป็นสิ่งที่บอกถึง ’ภาระ’ ที่มาพร้อมกับ ‘หน้าที่’ ที่คนนั้นทำงานอยู่ บางคนทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวันอย่างเต็มที่ บางคน 8 ชั่วโมงที่ใช้ในการทำงานในที่ทำงาน มีไม่พอต้องขอนำกลับไปทำที่บ้าน เป็น ‘ภาระ’ กับคนที่บ้านอีก เช่น ลูกต้องรับภาระในการทำการบ้านคนเดียวโดยปราศจากการให้คำแนะนำจากพ่อหรือแม่ เพราะทั้งสองคนแบกภาระจากที่ทำงานมาทำต่อที่บ้าน
ชาวเยอรมันให้ความสำคัญกับเวลาในการทำงานอย่างมากโดยเฉพาะเวลาที่ทำงาน คนเยอรมันจะทำงานให้กับบริษัทหรือหน่วยงานที่ทำอย่างเต็มร้อยตลอดช่วงเวลาที่ปฏิบัติงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน คนเยอรมันได้ชื่อว่าเป็นคนที่ตรงต่อเวลามากที่สุด มาทำงานก่อนเวลา เลิกงานก็ตรงต่อเวลา เพราะคนเยอรมันเชื่อว่าเขาได้ทุ่มเทแรงกายแรงใจให้กับที่ทำงานอย่างเต็มที่แล้วในชั่วโมงการทำงานที่มีอยู่ นอกเวลาหลังจากนี้เขาถือว่าเป็นเวลาส่วนตังที่เขาจะทำอะไรก็ได้ คนเยอรมันไม่ชอบสุงสิงกับคนภายนอกพวกเขาจะให้ความสำคัญกับเวลามา ถ้ามีใครจะไปหาที่บ้านต้องมีการนัดเวลาล่วงหน้าก่อน ถ้าไปโดยที่ไม่ได้นัดหมายคนๆนั้นถือว่าเป็นคนไม่มีมารยาทอย่างมาก
คนไทยเรามีสไตล์การทำงานที่แตกต่างจากคนเยอรมันโดยสิ้นเชิง ยกตัวอย่างง่ายๆแค่เรื่องเดินทางไปที่ทำงาน คนไทยจะแวะทักทายคนรอบข้างอย่างน้อย ก็ 3-5 คน ก่อนจะถึงที่ทำงาน แต่คนเยอรมันจะเดินเร็ว และตรงไปยังที่ทำงานโดยน้อยครั้งที่จะแวะทักทายกับคนรอบข้างเพราะเขาถือว่า การกระทำดังกล่าวจะทำให้เสียเวลาในการเดินทางไปทำงาน อาจจะทำให้ไปทำงานสายได้
เมื่อพูดถึงผลลัพธ์ของการทำงานแน่นอนว่า เยอรมัน ได้สร้างผลงานระดับโลกมาแล้วมากมาย เช่น รถเบนซ์ บีเอ็มดับลิว รถโฟลก์สวาเกนซ์ รองเท้า adidas โทรศัพท์ Semens มอเตอร์ไซด์ Ducati เป็นต้น พร้อมทั้งมีนักวิทยาศาสตร์เก่งๆระดับโลกหลายคนก็เป็นชาวเยอรมัน ที่รู้จักกันเป็นอย่างดีคือ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
ถ้าจะคิดตามหลักสมการทางคณิตศาสตร์ง่ายๆเพื่อเปรียบเทียบให้เห็นภาพ ว่าการทำงาน 8 ชั่วโมงเท่ากับปริมาณงาน 8 งาน สมการนี้อาจจะจริงหรือไม่จริงสำหรับใครบางคนก็ได้ บางคนทำงาน 8 ชั่วโมงเท่ากับปริมาณงาน 2 งาน บางคนทำงาน 8 ชั่วโมงเท่ากับปริมาณงาน 10 งาน หรือ 12 หรือ 14 งานขึ้นอยู่กับแต่ละคน การวัดประสิทธิภาพการทำงาน มีอยู่ 4 แบบคือ
1. ถ้าปริมาณที่บริษัทให้คุณทำ 8 ชั่วโมงเท่ากับปริมาณงาน 8 งาน ถ้าคนไหนทำได้
มากกว่านี้ภายใน 8 ชั่วโมงที่มี ก็ถือว่าทำงานเร็ว มีผลงานออกมาเร็ว = ทำงานมีประสิทธิภาพ แต่ไม่มีผลลัพธ์ที่ดี เข้าข่ายทำงานให้เสร็จ
2. ถ้าปริมาณที่บริษัทให้คุณทำ 8 ชั่วโมงเท่ากับปริมาณงาน 8 งาน ถ้าคนไหนทำได้
มากกว่า นี้ภายใน 8 ชั่วโมงที่มี และผลงานมีคุณภาพ ก็ถือว่าทำงานเร็วและดี = ทำงานมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล เข้าข่ายทำงานจนสำเร็จ
3. ถ้าปริมาณที่บริษัทให้คุณทำ 8 ชั่วโมงเท่ากับปริมาณงาน 8 งาน ถ้าคนไหนทำได้น้อย
กว่า นี้ภายใน 8 ชั่วโมงที่มี ก็ถือว่าทำงานช้า = ทำงานไม่มีประสิทธิภาพ
4. ถ้าปริมาณที่บริษัทให้คุณทำ 8 ชั่วโมงเท่ากับปริมาณงาน 8 งาน ถ้าคนไหนทำได้น้อย
กว่า นี้ภายใน 8 ชั่วโมงที่มี และผลงานก็ออกมาไม่ดี ถือว่าทำงานช้าและห่วย = ทำงานไม่มีประสิทธิภาพและไม่มีประสิทธิผล
สาเหตุหนึ่งที่คนไทยบางคนไม่ค่อยมีผลงาน เพราะว่า ‘ทำงานไม่เป็น ไม่รู้จักวิธีการบริหารจัดการเวลาที่มีให้เกิดประโยชน์คุ้มค่าที่สุด’ หลายคนที่มีเวลาทำงาน 8 ชั่วโมงในที่ทำงานเท่ากัน แต่ปริมาณงานที่ได้เท่ากับงาน ไม่ถึง 4 งาน ต้องหอบนำกลับไปทำที่บ้าน และที่ร้ายกว่านั้น คือ มองคนที่ไม่เอางานกลับไปทำที่บ้านว่า เป็นคนที่ไม่ทุ่มเท ทั้งๆที่ความเป็นจริงแล้ว ‘เขานั่นแหละคือคนที่บริหารจัดการงานและเวลาไม่เป็น’
บางครั้งปริมาณงานที่ออกมาอาจไม่ได้บ่งบอกถึง ”ผลลัพธ์ของงานที่ดีเลิศ” เพราะหวังแต่เพียงว่างานทุกงานต้องเสร็จและมีคุณภาพ แต่คำว่า “ผลลัพธ์ของงานที่ดีเลิศ” หมายถึง งานนั้นต้องมีผลกระทบหรือสร้างสิ่งใหม่เพื่อนำไปสู่สิ่งที่ดีกว่าของคนที่ทำงานร่วมกัน ดังนั้น การหวังผลลัพธ์ของการทำงานจนเสร็จหรือสำเร็จ แตกต่างอย่างสิ้นเชิง จากการทำงานจนมีผลลัพธ์ที่ดีเลิศ
ยกตัวอย่างการทำงานจนมีผลลัพธ์ที่ดีเลิศ ได้แก่ การทำงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หวังที่สามารถพลิกฟื้นชีวิตของชาวเขาให้เลิกปลูกฝิ่น การแก้ปัญหาน้ำท่วมโดยใช้กังหันน้ำชัยพัฒนา และอื่นๆอีกมากมายที่พระองค์ท่านทรงทำ
การทำงานจนมีผลลัพธ์ที่ดีเลิศ อาจจะอยู่หรือไม่อยู่ใน 8 ชั่วโมงที่ทำงาน แต่เป็นการทำงานที่เกิดความเพียรและแรงปรารถนาที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีขึ้นในองค์กร
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ท่านไม่เคยปล่อยเวลาให้ไร้ค่าแม้แต่วินาทีเดียว ท่านยังคงทรงงานแม้กระทั่งประชวรหนัก และมีพระราชดำรัสว่า
“งานใดที่ทำเพื่อประชาชน ถือว่าได้ทำงานถวายพระองค์ท่านเรียบร้อยแล้ว”
“ข้าพเจ้าเป็นกษัตริย์ แต่หน้าที่ของข้าพเจ้ามิใช่หน้าที่ของกษัตริย์ เป็นสิ่งที่ยากจะอธิบาย ข้าพเจ้าเพียงแค่ทำสิ่งต่างๆ ที่คิดว่าเป็นประโยชน์ต่อราษฏร ข้าพเจ้าแค่รู้ว่าต้องทำอะไรแล้วลงมือทำ ข้าพเจ้าไม่รู้หรอกว่ามันคืออะไรบ้าง แต่สิ่งที่ทำมันต้องมีประโยชน์ต่อประเทศชาติ” -พระราชดำรัส ร.9-
‘แม้ว่าใครหลายคนที่ทำงานอยู่ในขณะนี้มีงานที่ทำอยู่มากมาย แต่ขอให้ท่านพึงระลึกไว้ว่า งานที่ท่านทำได้ส่งผลประโยชน์ช่วยเหลือหรือส่งเสริมให้คนที่อยู่รอบข้างท่าน ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นมีชีวิตที่ดีขึ้น หรือทำให้องค์กรเจริญงอกงามขึ้นหรือยัง’ –khwanjai -
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที