khwanjai

ผู้เขียน : khwanjai

อัพเดท: 10 ม.ค. 2017 22.34 น. บทความนี้มีผู้ชม: 90384 ครั้ง

ในบรรดาหนังสือประเภท How to ที่ฉันได้อ่านมา ไม่สามารถเปรียบเทียบกับคุณค่าที่ได้รับจากอ่านหนังสือ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เลย ที่ผ่านมาฉันอยู่ในภาวะใกล้เกลือกินด่าง ไม่รู้จักคุณค่าของสิ่งที่ตัวเองมี จนกระทั่งวันที่ 13 ตุลาคม 2559 เป็นวันที่ปวงชนชาวไทยได้สูญเสีย กษัตริย์ผู้ที่เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวไทยทั้งประเทศ
การเริ่มต้นศึกษาถึงเรื่องราว ชีวประวัติ และคำสั่งสอนของพระองค์ท่านอย่างจริงจัง ทำให้ฉันค้นพบว่า เราไม่จำเป็นต้องหา How to ที่ไหนเลย เพราะ How to ที่แท้จริงอยู่ในจิตใจของคนไทยทั้งประเทศอยู่แล้ว พระองค์ทรงเป็นแบบอย่างให้กับคนไทยทุกด้านทั้งการ คิด พูด ทำ ....แต่ทำไมตัวฉันถึงไม่ทำ
คนโง่ คือ คนที่ไม่รู้ว่าตัวเองบกพร่องตรงไหน เพราะถ้าไม่รู้ว่าเราบกพร่องตรงไหน เราก็ไม่คิดที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเอง
คนฉลาด คือ คนที่รู้ว่าตัวเองบกพร่องตรงไหน และพยายามแก้ไขข้อบกพร่องหรือพัฒนาปรับเปลี่ยนตัวเองให้ดีขึ้น
คนทุกคนเคยผ่านความโง่มาก่อนที่จะเป็นคนฉลาด ที่ผ่านมาฉันเคยโง่มาก่อน ไม่รู้ว่าคุณค่าที่แท้จริงที่พระมหากษัตริย์ไทยทรงให้กับประชาชนมีคุณค่ามหาศาลมากมายขนาดไหน ศาสนาพุทธสอนไว้ว่า “ธรรมใดก็ไร้ค่า ถ้าไม่ลงมือทำ”
การเริ่มต้นเดินทางของฉันนับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ใคร่ขออุทิศตนในการศึกษาเรื่องราว วิธีคิด การดำเนินชีวิตของพระองค์ท่าน ผ่านการจัดทำหนังสือส่วนตัวภายใต้ชื่อ “เรียงร้อยพันเรื่องราวรอยพระบาท” โดยมีเป้าหมายทำ ‘10 เล่ม เล่มละ 100 เรื่องราวรอยพระบาทที่พระองค์ทรงทำ’ โดยใช้ความเพียรที่พระองค์ท่านสอน และเป็นแบบอย่างให้ดูตลอดระยะเวลา 70 ปีที่ผ่านมา อาจจะไม่รู้จุดจบที่แน่นอน แต่มีจุดเริ่มต้นที่ชัดเจน และทำทุกวันเพื่อถวายแด่องค์ราชันย์มหาราชของคนไทยทุกคน

Website เจ้าของผลงาน www.2b2train.com
Facebook: https://www.facebook.com/ebook4ookbee/
Storylog: https://storylog.co/khwanjai/book/581a5bfd9d526ab1781f27ba

ท่านใดต้องการติดต่อให้เป็นนักเขียนประจำคอลัมภ์ หรือลงวารสาร
ติดต่อได้ที่ email: linpootsm3@gmail.com หรือ Tel 0897333790 (หลิน)


เรื่องเล่าชาว ER: ความฝันที่ยังไม่จางหายไป

         ทุกคนย่อมมีความฝันและจินตนาการ เพราะความฝันและจินตนาการจะทำให้คนมีความสุข เมื่อตอนเด็กๆเราอาจจะมีความฝันอย่างหนึ่ง แต่เมื่อโตขึ้นเราอาจจะมีความฝันอีกอย่างหนึ่งได้ คุณนิตยา ชื่อเล่นว่า ‘ฟีร์’ ซึ่งเป็นพยาบาลที่เพิ่งจบได้ประมาณ 2 ปี เคยมีความฝันในอดีตว่า ครั้งหนึ่งในชีวิตอยากจะเป็นคุณครู แต่ชีวิตพกผันไม่ได้เป็นครูอย่างที่ตั้งใจไว้ แต่ความฝันนี้ไม่เคยจางหายไปจากความรู้สึก ดังนั้นทุกครั้งที่มีโอกาสได้ไปสอนในที่ต่างๆ เธอมักจะถูกได้รับการคัดเลือกและทำหน้าที่การสอนได้อย่างดี
         ตามจริงแล้ว ความฝันที่เธอคิดไว้ยังเกาะกุมหัวใจดวงน้อยตลอดเวลา และถ้ามีโอกาสเธอก็จะขอฉกฉวยโอกาสนั้นเพื่อเดินตามความฝันของตัวเองที่เคยฝันไว้ ตามจริงความรู้สึกนี้ก็ไม่แตกต่างจากความรู้สึกของใครอีกหลายๆคนบนโลกใบนี้ แม้แต่พระราชา ก็ยังมีความฝัน โดยเฉพาะฝันว่าอยากจะให้คนไทยมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และเป็นที่มาของแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเกิดมาจากความฝันและจินตนาการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ท่านปราโมทย์ ไม้กลัด ได้เคยเขียนบันทึกในหนังสือเรื่อง การทรงงานของพ่อในความทรงจำ เกี่ยวกับการกำเนิดทฤษฏีใหม่(หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง) ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้มีพระราชดำรัสเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2537 เล่าถึงความเป็นมาของโครงการนี้ต่อผู้เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ความว่า

“…..เรื่องนี้เกิดขึ้นที่สระบุรีเมื่อหลายปีมาแล้ว ก่อนหน้านั้นได้มีจินตนาการ ความคิดความฝัน ท่านทั้งหลายคงนึกแปลก ทำไมแผนงานต้องนึกฝัน ไม่ได้ไปดูตำรา แต่ค้นในความคิดฝัน ในจินตนาการ นึกถึงว่าต้องจะต้องมีที่สักแห่งหนึ่งที่จะเข้ากับเรื่องของเรา....” 

         ดังนั้น ใครๆก็มีโอกาสคิดฝันได้ และมีโอกาสทำให้ความฝันให้สำเร็จได้ ถ้ายังไม่ทิ้งความฝันไปเสียก่อน ความฝันจะช่วยต่อเติมความสุขให้กับชีวิต และจะมีความสุขยิ่งขึ้นถ้าคนๆนั้นพบเจอคนที่มีความฝันแบบเดียวกัน คิดไปแนวทางเดียวกัน เหมือนกันพยาบาลฟีร์ สาวน้อยที่ความฝันยังไม่เคยจางหาย พร้อมที่จะทำฝันให้เป็นจริงอยู่ตลอด ไม่ว่าเธอจะอยู่ในตำแหน่งใดก็ตาม สักวันหนึ่งเธออาจจะกลายเป็นคุณครูที่สามารถเข้าไปอยู่ในความรู้สึกดีๆของใครสักคนหนึ่งหรือหลายๆคนที่เธอได้มีโอกาสสอน และดูแลเขา
         แม้ว่าเธอยังไม่มีตำแหน่งที่คนในสังคมเรียกว่า ‘คุณครู’ แต่ความฝันและจิตวิญญาณของความเป็นครูได้ถูกหล่อหลอมขึ้นมาแล้วตั้งแต่ในวัยเยาว์ โดยอาจจะมีใครสักคนเป็นแบบอย่าง และสร้างแนวทางให้เธอเกิดความรู้สึกอยากเป็นครู และพวกชาว ER สามารถรับรู้ได้ว่า เธอสามารถเป็นครูที่แสนดี สำหรับพวกเราทุกคนใน ER และสำหรับความทุกข์ยากของคนไข้ที่เข้ามารับบริการ ด้วยความรู้สึกที่รับรู้ได้ว่า จิตวิญญาณที่แท้ของเธอ คือ ‘ครูฟีร์ที่แสนดี’ ดังพระราชดำรัสของในหลวงที่ว่า

“ผู้ใดมีความรู้ใด ก็ควรจะเผยแพร่ออกไปให้คนอื่นทราบ เพราะว่าการเผยแพร่ความรู้ความสามารถไปให้ผู้อื่นนั้น ไม่ได้เสียประโยชน์ใดๆ เพราะว่าความรู้และความดีเมื่อเผยแพร่ออกไปยิ่งทวีคูณเพิ่มขึ้น ไม่ได้หมดไปจากตัว ยิ่งทำดียิ่งทำให้คนอื่นมีความรู้ ความรู้ของเราก็ไม่หมดไป ยิ่งเพิ่มพูนมากขึ้น อันนี้เรียกว่าการสร้างบารมี...” 

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที