khwanjai

ผู้เขียน : khwanjai

อัพเดท: 10 ม.ค. 2017 22.34 น. บทความนี้มีผู้ชม: 97086 ครั้ง

ในบรรดาหนังสือประเภท How to ที่ฉันได้อ่านมา ไม่สามารถเปรียบเทียบกับคุณค่าที่ได้รับจากอ่านหนังสือ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เลย ที่ผ่านมาฉันอยู่ในภาวะใกล้เกลือกินด่าง ไม่รู้จักคุณค่าของสิ่งที่ตัวเองมี จนกระทั่งวันที่ 13 ตุลาคม 2559 เป็นวันที่ปวงชนชาวไทยได้สูญเสีย กษัตริย์ผู้ที่เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวไทยทั้งประเทศ
การเริ่มต้นศึกษาถึงเรื่องราว ชีวประวัติ และคำสั่งสอนของพระองค์ท่านอย่างจริงจัง ทำให้ฉันค้นพบว่า เราไม่จำเป็นต้องหา How to ที่ไหนเลย เพราะ How to ที่แท้จริงอยู่ในจิตใจของคนไทยทั้งประเทศอยู่แล้ว พระองค์ทรงเป็นแบบอย่างให้กับคนไทยทุกด้านทั้งการ คิด พูด ทำ ....แต่ทำไมตัวฉันถึงไม่ทำ
คนโง่ คือ คนที่ไม่รู้ว่าตัวเองบกพร่องตรงไหน เพราะถ้าไม่รู้ว่าเราบกพร่องตรงไหน เราก็ไม่คิดที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเอง
คนฉลาด คือ คนที่รู้ว่าตัวเองบกพร่องตรงไหน และพยายามแก้ไขข้อบกพร่องหรือพัฒนาปรับเปลี่ยนตัวเองให้ดีขึ้น
คนทุกคนเคยผ่านความโง่มาก่อนที่จะเป็นคนฉลาด ที่ผ่านมาฉันเคยโง่มาก่อน ไม่รู้ว่าคุณค่าที่แท้จริงที่พระมหากษัตริย์ไทยทรงให้กับประชาชนมีคุณค่ามหาศาลมากมายขนาดไหน ศาสนาพุทธสอนไว้ว่า “ธรรมใดก็ไร้ค่า ถ้าไม่ลงมือทำ”
การเริ่มต้นเดินทางของฉันนับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ใคร่ขออุทิศตนในการศึกษาเรื่องราว วิธีคิด การดำเนินชีวิตของพระองค์ท่าน ผ่านการจัดทำหนังสือส่วนตัวภายใต้ชื่อ “เรียงร้อยพันเรื่องราวรอยพระบาท” โดยมีเป้าหมายทำ ‘10 เล่ม เล่มละ 100 เรื่องราวรอยพระบาทที่พระองค์ทรงทำ’ โดยใช้ความเพียรที่พระองค์ท่านสอน และเป็นแบบอย่างให้ดูตลอดระยะเวลา 70 ปีที่ผ่านมา อาจจะไม่รู้จุดจบที่แน่นอน แต่มีจุดเริ่มต้นที่ชัดเจน และทำทุกวันเพื่อถวายแด่องค์ราชันย์มหาราชของคนไทยทุกคน

Website เจ้าของผลงาน www.2b2train.com
Facebook: https://www.facebook.com/ebook4ookbee/
Storylog: https://storylog.co/khwanjai/book/581a5bfd9d526ab1781f27ba

ท่านใดต้องการติดต่อให้เป็นนักเขียนประจำคอลัมภ์ หรือลงวารสาร
ติดต่อได้ที่ email: linpootsm3@gmail.com หรือ Tel 0897333790 (หลิน)


แหวกว่ายอยู่ในน่านน้ำ: การสร้างนวัตกรรมการบริการข้ามสายพันธ์

         การสร้างนวัตกรรมการบริการ ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์หนึ่งในน่านน้ำสีคราม จะว่าง่ายก็ง่าย จะว่ายากก็ยากขึ้นอยู่กับมุมที่มอง และการสร้างสรรค์โดยการใช้จินตนาการที่เสริมเพิ่มเติมลงไป พูดอย่างนี้หลายท่านอาจจะงง.....ในฐานะที่ฉันทำงานในโรงพยาบาล วันนี้เราจะมาสร้างนวัตกรรมการบริการในโรงพยาบาลกันค่ะ เพื่อเป็นแนวทางการสร้างนวัตกรรมการบริการด้านอื่นๆตามมา

นวัตกรรมการบริการจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยถ้าเรามีมุมมองอยู่ด้านเดียว เพราะฉะนั้นสิ่งสำคัญอันดับแรกที่ต้องมี คือ การเปลี่ยนมุมมองการบริการของหน่วยงานงานเราเอง โดยคิดเชื่อมโยงกับหน่วยงานอื่นๆ หรือกิจกรรมต่างๆ  หลังจากนั้นเราก็มาสร้างนวัตกรรมการบริการใหม่ให้เกิดขึ้น ซึ่งวิธีการนี้เรียกว่า การสร้างนวัตกรรมการบริการข้ามสายพันธ์ ตัวอย่าง ดังตาราง

 

หน่วยงานที่ให้บริการ /กิจกรรมต่างๆ

มุมมองที่เห็น

สร้างนวัตกรรมการบริการในโรงพยาบาลตามมุมมองที่เห็น

โรงแรม

รูปแบบการบริการแบบโรงแรม

สร้างรูปแบบการบริการในโรงพยาบาลเหมือนกับอยู่ในโรงแรม

การจำหน่ายตั๋วเครื่องบิน

การซื้อตัวผ่านระบบ Online

การซื้อโปรแกรมตรวจสุขภาพผ่านระบบ Online

การบริการของไปรษณีย์

การส่งจดหมาย

การประชาสัมพันธ์ event หรือการแจ้งข่าวสารของโรงพยาบาลผ่านบริการของไปรษณีย์

การบริการรถโดยสารประจำทาง

การประชาสัมพันธ์ผ่านระบบขนส่งมวลชน

การติดป้ายโฆษณา โดยใช้การประชาสัมพันธ์ผ่านรถโดยสารประจำทาง

การจำหน่ายสินค้า เช่น ยาสีฟัน

การดูแลสุขภาพฟัน

การร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลสุขภาพฟัน โดยร่วมกับบริษัทที่จัดจำหน่าย ยาสีฟัน ในการบริการตรวจสุขภาพฟันฟรี เป็นต้น

การเล่นกีฬา

การเกิดปัญหาสุขภาพกับนักกีฬา

การจัดตั้ง ศูนย์บริการสุขภาพ หรือตรวจสมรรถภาพ สำหรับนักกีฬาในโรงพยาบาล

การนั่งทำงานใน ออฟฟิต นานๆ

อาการ Office Syndrome

การจัดกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมป้องกันภาวะ Office Syndrome ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ

 

            เราลองมาเปลี่ยนมุมมองในการให้บริการด้านสุขภาพ เป็นไปได้มั้ย ที่เราจะให้การดูแลคนในหมู่บ้านของเราโดยไม่ใช่แพทย์ พยาบาล.......จำเป็นมั้ย เวลาไม่สบายต้องไปโรงพยาบาล

            ใต้ผืนแผ่นฟ้าของพระมหากษัตริย์ไทยสมัยรัชกาลที่ 9 ได้สร้างสิ่งที่หลายคนคิดว่าเป็นไปไม่ได้ ให้เป็นไปได้มากมายจากวิสัยทัศน์ที่มองไกลของพระองค์ท่าน...

‘โครงการอบรมหมอชาวบ้าน’ จึงถือกำเนิดขึ้นที่แม่ฮ่องสอนเป็นที่แรก และมีการกระจายไปยังหมู่บ้านต่างๆทั่วประเทศไทย

‘เรือเวชพาหน์’ เป็นเรือยนต์ 2 ชั้น ที่ใช้เป็นหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ บนเรือมีอุปกรณ์การแพทย์ ห้องผ่าตัด ห้องทำฟัน และห้องตรวจโรค พร้อมให้บริการโดยไม่ต้องไปโรงพยาบาล

‘ตำรวจจราจรโครงการพระราชดำริ’ เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินบนท้องถนน

 

ดังนั้น นวัตกรรมการบริการสามารถเกิดขึ้นได้ทุกรูปแบบแค่เปลี่ยนมุมมองที่คิด และเชื่อมโยงมุมมองที่แตกต่างจากรูปแบบการบริการที่มีอยู่ เพื่อมาสร้างเป็นนวัตกรรมสายพันธ์ใหม่ที่ใครๆก็คิดไม่ถึง

 

“..ปัญหาทุกอย่างมีทางแก้ไขได้ ถ้าแก้คนเดียว ไม่ได้ก็ช่วยกันคิดกัน แก้หลายๆ คน หลายๆ ทาง ด้วยความร่วมมือปรองดองกัน ปัญหาที่เกิดขึ้น นั้นจักได้ไม่กลายเป็น อุปสรรคขัดขวาง และบ่อนทำลาย ความเจริญและความสำเร็จ” - พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช- 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที