khwanjai

ผู้เขียน : khwanjai

อัพเดท: 10 ม.ค. 2017 22.34 น. บทความนี้มีผู้ชม: 98300 ครั้ง

ในบรรดาหนังสือประเภท How to ที่ฉันได้อ่านมา ไม่สามารถเปรียบเทียบกับคุณค่าที่ได้รับจากอ่านหนังสือ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เลย ที่ผ่านมาฉันอยู่ในภาวะใกล้เกลือกินด่าง ไม่รู้จักคุณค่าของสิ่งที่ตัวเองมี จนกระทั่งวันที่ 13 ตุลาคม 2559 เป็นวันที่ปวงชนชาวไทยได้สูญเสีย กษัตริย์ผู้ที่เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวไทยทั้งประเทศ
การเริ่มต้นศึกษาถึงเรื่องราว ชีวประวัติ และคำสั่งสอนของพระองค์ท่านอย่างจริงจัง ทำให้ฉันค้นพบว่า เราไม่จำเป็นต้องหา How to ที่ไหนเลย เพราะ How to ที่แท้จริงอยู่ในจิตใจของคนไทยทั้งประเทศอยู่แล้ว พระองค์ทรงเป็นแบบอย่างให้กับคนไทยทุกด้านทั้งการ คิด พูด ทำ ....แต่ทำไมตัวฉันถึงไม่ทำ
คนโง่ คือ คนที่ไม่รู้ว่าตัวเองบกพร่องตรงไหน เพราะถ้าไม่รู้ว่าเราบกพร่องตรงไหน เราก็ไม่คิดที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเอง
คนฉลาด คือ คนที่รู้ว่าตัวเองบกพร่องตรงไหน และพยายามแก้ไขข้อบกพร่องหรือพัฒนาปรับเปลี่ยนตัวเองให้ดีขึ้น
คนทุกคนเคยผ่านความโง่มาก่อนที่จะเป็นคนฉลาด ที่ผ่านมาฉันเคยโง่มาก่อน ไม่รู้ว่าคุณค่าที่แท้จริงที่พระมหากษัตริย์ไทยทรงให้กับประชาชนมีคุณค่ามหาศาลมากมายขนาดไหน ศาสนาพุทธสอนไว้ว่า “ธรรมใดก็ไร้ค่า ถ้าไม่ลงมือทำ”
การเริ่มต้นเดินทางของฉันนับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ใคร่ขออุทิศตนในการศึกษาเรื่องราว วิธีคิด การดำเนินชีวิตของพระองค์ท่าน ผ่านการจัดทำหนังสือส่วนตัวภายใต้ชื่อ “เรียงร้อยพันเรื่องราวรอยพระบาท” โดยมีเป้าหมายทำ ‘10 เล่ม เล่มละ 100 เรื่องราวรอยพระบาทที่พระองค์ทรงทำ’ โดยใช้ความเพียรที่พระองค์ท่านสอน และเป็นแบบอย่างให้ดูตลอดระยะเวลา 70 ปีที่ผ่านมา อาจจะไม่รู้จุดจบที่แน่นอน แต่มีจุดเริ่มต้นที่ชัดเจน และทำทุกวันเพื่อถวายแด่องค์ราชันย์มหาราชของคนไทยทุกคน

Website เจ้าของผลงาน www.2b2train.com
Facebook: https://www.facebook.com/ebook4ookbee/
Storylog: https://storylog.co/khwanjai/book/581a5bfd9d526ab1781f27ba

ท่านใดต้องการติดต่อให้เป็นนักเขียนประจำคอลัมภ์ หรือลงวารสาร
ติดต่อได้ที่ email: linpootsm3@gmail.com หรือ Tel 0897333790 (หลิน)


เมื่อบริษัทของเรายังแหวกว่ายอยู่ในน่านน้ำ

         มีแม่ค้าคนหนึ่งขายปลาทูเข่งในตลาดในราคาเข่งละ 50 บาท ขายดีมาก จนเพื่อนแม่ค้าที่อยู่ใกล้ๆกัน มีอาการอยากขายบ้างเพราะเห็นว่าเพื่อนขายดีจนเอาไม่ทัน จึงขายปลาทูเหมือนกับเพื่อน.....

         แล้วอยู่มาวันหนึ่งมีแม่ค้าจากอีกตลาดหนึ่งเดินผ่านมาเห็น และเห็นว่าปลาทูขายดีมาก จึงทำปลาทูเข่งไปขายบ้างในตลาดของตนเอง วันหนึ่งเพื่อนๆของแม่ค้าคนนี้เห็นว่าปลาทูเข่งขายดีมาก จึงไปขายบ้าง...... ในที่สุดก็มีคนขายปลาทูเข่งกันทั่วตลาด

         ผู้ซื้อปลาทูในตลาด เห็นว่าปลาทูมีหลายเจ้ามาก และไม่เห็นว่าปลาทูแต่ละเจ้าแตกต่างกันตรงไหน จึงเลือกซื้อปลาทูจากแม่ค้าที่ขายถูกที่สุด ต่อมาแม่ค้าคนอื่นเห็นว่าการลดราคาทำให้ขายดี จึงลดราคาขายลงบ้าง จนในที่สุดทั้งตลาดก็มีแต่ปลาทูราคาถูกวิธีการในการสู้รบปรบมือในการขายปลาทูของบรรดาเหล่าแม่ค้าในตลาดสดแห่งนี้ ได้ใช้ยุทธวิธีที่ชื่อว่า ‘กลยุทธ์น่านน้ำสีแดง’ หรือตรงกับภาษาอังกฤษว่า ‘Red Ocean Strategy’

         อยู่มาวันหนึ่งมีแม่ค้าคนหนึ่งเกิดความคิดที่จะขายปลาทูต่อเข่งให้ได้ในราคาที่สูงขึ้น จึงเปลี่ยนวิธีการขายใหม่ โดยเปลี่ยนวิธีการผลิตจากปลาทูนึ่งธรรมดา เป็นปลาทูนึ่งอบสมุนไพร และจัดการกับปลาทูใหม่จากที่นอนคู่กันอยู่ในเข่ง ให้มานอนกอดกันในห่อใบตองที่พับอย่างสวยงาม และเพิ่มราคาขายขึ้นจากเข่งละ 50 บาท เป็นห่อละ 70 บาทมีปลาทูอยู่ 2 ตัวเท่าเดิม ทำให้แม่ค้าคนนี้มีกำไรเพิ่มขึ้น เพราะต้นทุนจากการซื้อเข่งลดลง และนำใบตองที่อยู่หลังบ้านมาห่อปลาทูแทน รวมถึงปรับราคาขายเพิ่มขึ้น  ลูกค้าที่ซื้อรู้สึกว่าได้สินค้าที่มีคุณภาพ และมีประโยชน์จึงเต็มใจที่จะซื้อ จนในที่สุดแม่ค้าคนขายของได้เพิ่มขึ้นจากวันละ 100 เข่งก่อนปรับราคาขึ้น มาขายได้วันหนึ่ง 200 เข่ง จากต้นทุนเข่งละ 30 บาท จึงทำให้ได้กำไรเข่งละ 40 บาท กำไรต่อวัน เท่ากับ 40X200 = 8,000 บาท

       วิธีการในการสู้รบปรบมือในการขายปลาทูของบรรดาแม่ค้ารายนี้ ได้ใช้ยุทธวิธีที่ชื่อว่า ‘กลยุทธ์น่านน้ำสีคราม’ หรือตรงกับภาษาอังกฤษว่า ‘Blue Ocean Strategy’

        อยู่มาวันหนึ่งมีแม่ค้าคนหนึ่ง เกิดความคิดว่า อยากขายปลาทูในราคาที่ไม่แพงจนเกินไปให้กับเด็กๆได้มีโอกาสกินบ้าง เพราะเห็นว่าปลาทูเป็นแหล่งโปรตีนชั้นดีสำหรับเด็กๆที่ช่วยในการเจริญเติบโต จึงติดป้ายประกาศว่า ‘ขายปลาทูสดใหม่เพื่อให้เด็กไทยได้มีกิน ในราคา 45 บาท’  ชาวบ้านที่มีลูกเห็นเจตนาดีของร้านแห่งนี้ ที่อยากเห็นเด็กไทยเจริญเติบและได้กินแหล่งโปรตีนชั้นเลิศ จึงแห่กันมาซื้อปลาทูที่ร้านนี้ จากเดิมที่ร้านค้าแห่งนี้เคยขายได้วันละ 100 เข่ง ก่อนที่จะปรับราคาลดลง หลังจากปรับราคาลดลง ขายได้วันละ 1,000 เข่ง จากต้นทุนเข่งละ 35 บาท (เพราะรวมค่าเข่งด้วย) ทำให้ร้านนี้ได้กำลังเข่งละ 10 บาท กำไรต่อวัน เท่ากับ 10X1,000 = 10,000 บาท

วิธีการในการสู้รบปรบมือในการขายปลาทูของบรรดาแม่ค้ารายนี้ ได้ใช้ยุทธวิธีที่ชื่อว่า ‘กลยุทธ์น่านน้ำสีขาว’ หรือตรงกับภาษาอังกฤษว่า ‘White Ocean Strategy’

        ขอหยุดตอนนี้ไว้เพียงเท่านี้ก่อนนะค่ะ...ขอให้คุณผู้อ่านใช้เวลาในการคิดสักนิดหนึ่งว่าถ้าบริษัทของเราแหวกว่ายอยู่ในน่านน้ำ เราจะว่ายในน่านน้ำสีอะไร? แล้วเราค่อยมาคุยกันต่อกันตอนที่ 2 ค่ะ

 

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที