khwanjai

ผู้เขียน : khwanjai

อัพเดท: 10 ม.ค. 2017 22.34 น. บทความนี้มีผู้ชม: 90347 ครั้ง

ในบรรดาหนังสือประเภท How to ที่ฉันได้อ่านมา ไม่สามารถเปรียบเทียบกับคุณค่าที่ได้รับจากอ่านหนังสือ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เลย ที่ผ่านมาฉันอยู่ในภาวะใกล้เกลือกินด่าง ไม่รู้จักคุณค่าของสิ่งที่ตัวเองมี จนกระทั่งวันที่ 13 ตุลาคม 2559 เป็นวันที่ปวงชนชาวไทยได้สูญเสีย กษัตริย์ผู้ที่เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวไทยทั้งประเทศ
การเริ่มต้นศึกษาถึงเรื่องราว ชีวประวัติ และคำสั่งสอนของพระองค์ท่านอย่างจริงจัง ทำให้ฉันค้นพบว่า เราไม่จำเป็นต้องหา How to ที่ไหนเลย เพราะ How to ที่แท้จริงอยู่ในจิตใจของคนไทยทั้งประเทศอยู่แล้ว พระองค์ทรงเป็นแบบอย่างให้กับคนไทยทุกด้านทั้งการ คิด พูด ทำ ....แต่ทำไมตัวฉันถึงไม่ทำ
คนโง่ คือ คนที่ไม่รู้ว่าตัวเองบกพร่องตรงไหน เพราะถ้าไม่รู้ว่าเราบกพร่องตรงไหน เราก็ไม่คิดที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเอง
คนฉลาด คือ คนที่รู้ว่าตัวเองบกพร่องตรงไหน และพยายามแก้ไขข้อบกพร่องหรือพัฒนาปรับเปลี่ยนตัวเองให้ดีขึ้น
คนทุกคนเคยผ่านความโง่มาก่อนที่จะเป็นคนฉลาด ที่ผ่านมาฉันเคยโง่มาก่อน ไม่รู้ว่าคุณค่าที่แท้จริงที่พระมหากษัตริย์ไทยทรงให้กับประชาชนมีคุณค่ามหาศาลมากมายขนาดไหน ศาสนาพุทธสอนไว้ว่า “ธรรมใดก็ไร้ค่า ถ้าไม่ลงมือทำ”
การเริ่มต้นเดินทางของฉันนับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ใคร่ขออุทิศตนในการศึกษาเรื่องราว วิธีคิด การดำเนินชีวิตของพระองค์ท่าน ผ่านการจัดทำหนังสือส่วนตัวภายใต้ชื่อ “เรียงร้อยพันเรื่องราวรอยพระบาท” โดยมีเป้าหมายทำ ‘10 เล่ม เล่มละ 100 เรื่องราวรอยพระบาทที่พระองค์ทรงทำ’ โดยใช้ความเพียรที่พระองค์ท่านสอน และเป็นแบบอย่างให้ดูตลอดระยะเวลา 70 ปีที่ผ่านมา อาจจะไม่รู้จุดจบที่แน่นอน แต่มีจุดเริ่มต้นที่ชัดเจน และทำทุกวันเพื่อถวายแด่องค์ราชันย์มหาราชของคนไทยทุกคน

Website เจ้าของผลงาน www.2b2train.com
Facebook: https://www.facebook.com/ebook4ookbee/
Storylog: https://storylog.co/khwanjai/book/581a5bfd9d526ab1781f27ba

ท่านใดต้องการติดต่อให้เป็นนักเขียนประจำคอลัมภ์ หรือลงวารสาร
ติดต่อได้ที่ email: linpootsm3@gmail.com หรือ Tel 0897333790 (หลิน)


ทำงานแบบกบ

        อ๊บ...อ๊บ....อ๊บ...อ๊บ...อ๊บ...อ๊บ เสียงกบร้องดังในช่วงเวลาใกล้รุ่งที่ฉันกำลังนั่งทำงานอยู่ในความเงียบ และไม่นานสายฝนก็เทปรายลงมาอย่างหนักเหมือนไม่สนใจใยดีกับเหล่านก กาที่กำลังโบยบินอยู่บนท้องฟ้า กบตัวหนึ่งในจินตนาการได้ตะโกนบอกว่า ‘ฉันเตือนแล้วว่าฝนกำลังจะตก ทำไมไม่รีบบินกลับรัง’ ไม่ใช่เพราะแกหรอกนะเจ้ากบ เพราะเพลงมันก็บอกอยู่แล้วว่า

‘ฝนเอยทำไมจึงตก ฝนเอยทำไมจึงตก จำเป็นต้องตกก็เพราะว่ากบมันร้อง’

            หลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมก่อนฝนตกกบจึงร้อง อธิบายได้ตามหลักวิทยาศาสตร์อย่างนี้ค่ะ ‘ ในช่วงก่อนฝนตก ในชั้นบรรยากาศจะมีความชื้นสูงกว่าปกติ ผิวหนังของกบสามารถสัมผัสได้ถึงความชื้นในอากาศที่มีสูงกว่าปกติ ซึ่งบ่งบอกว่าเป็นช่วงเวลาดีที่เหมาะสำหรับการออกหาอาหาร ดังนั้นกบจึงส่งเสียงร้องบอกพรรคพวกว่าไปหาอาหารและมาจู๋จี๋กันเถอะเรา .....

            มีอยู่วันหนึ่ง เจ้านายของเจ้ากบทั้งหลายที่มีชื่อว่านกกระสา เกิดความรำคาญกับเสียงร้องของกบ กบหลายตัวจึงถูกจับกิน........ ดังในนิทานเรื่อง ‘กบเลือกนาย’ ที่กบมักจะเลือกมาก เจ้านายคนไหนมาปกครองก็ไม่พอใจ ดังนั้นนกกระสาซึ่งเป็นเจ้านายตัวสุดท้ายของกบได้บอกว่า ’ต่อไปนี้พวกแกไม่ต้องเลือกแล้ว เพราะพวกแกจะถูกฉันจับกินทีละตัวๆๆ เพราะถ้ากินทีเดียวหลายตัวฉันอาจจะท้องแตกตายได้ ฉันจะเลือกกินกบตัวที่น่าเกลียดที่สุดก่อน เพราะฉันไม่อยากเห็นหน้ามัน ฉันจะเลือกตัวสวยๆไว้กินทีหลัง และชื่อเสียงของฉันเกี่ยวกับวิธีการเลือกกินกบจะถูกจารึกไว้ในหนังสือที่มีชื่อว่า ‘จงกินกบตัวนั้นซะ’ 5555…..

          คนที่เขียนหนังสือ ‘จงกินกบตัวนั้นซะ’ ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า   ‘Eat that frog’  เป็นหนึ่งในหนังสือหลายๆเล่มของ Brain Tracy ที่ติดอันดับหนังสือขายดีในหลายๆประเทศทั่วโลก ได้กล่าวถึงหลักการง่ายๆในการทำงานว่า

 

“ถ้าเปรียบการทำงานเหมือนกับการเลือกกิน ‘กบ’ คุณจงเลือกกินกบตัวที่หน้าเกลียดที่สุดก่อน”

 

         เทรซี่  ได้บอกว่าคนส่วนใหญ่มักจะชอบทำงานในสิ่งที่ตัวเองรักหรือชอบ และมักจะปล่อยให้งานที่‘ตัวเองไม่รักหรือไม่ชอบซึ่งเหมือนกับกบตัวที่หน้าเกลียด ไว้ก่อน! ค่อยทำก่อน! จนงานเหล่านั้นกลายเป็นดินพอกหางหมู ‘งานก็ไม่เสร็จ ผลลัพธ์ก็ไม่เกิด’ ดังนั้น ‘จงกินกบตัวนั้นซะ’ แต่โดยความเห็นส่วนตัวของฉันแล้วบอกได้เลนว่า ‘ไม่เสมอไปหรอกน่า เราอย่าตีความข้างเดียวซิ! เรายังไม่รู้จักธรรมชาติและความดีงามของกบเลย จริงๆแล้วกบสอนเรื่องการทำงานมากกว่านี้อีกนะ และเราก็ไม่จำเป็นต้องกินกบตัวที่หน้าเกลียดที่สุดก่อนหรอก เพราะยังไงบางครั้งกบตัวที่หน้าเกลียดที่สุด อาจจะไม่ใช่งานที่เกิดประโยชน์ที่สุดก็ได้ ‘ถ้าทำไปก็เสียเวลาเปล่า’

ธรรมชาติและความดีงามของกบมีมากมาย ถ้าเราได้เรียนรู้นิสัยใจคอที่แท้จริงของมัน นิสัยหลักๆของกบที่สอนการทำงานเรามี 9 ด้าน คือ

1. กบชอบอยู่ในที่ชื้นแฉะมีน้ำขัง มากกว่าอยู่ในน้ำตลอดเวลา แต่ไม่ชอบที่แห้งๆ: เปรียบเสมือนการเลือกช่วงเวลาที่มีความสุขในการทำงาน ดังเช่น กบมีความสุขในการทำงานในช่วงก่อนฝนตก เปรียบเสมือนคนแต่ละคนจะต้องมีการ จัดสรรเวลาให้กับการทำงานของตัวเอง แต่ต้องเป็นงานที่ตัวเองรักนะ และถ้าให้ดีงานนั้นต้องสามารถตอบโจทย์เป้าหมายชีวิตของเราด้วย ‘ฉันจะทำงานนี้ในช่วงเวลานี้นะ ใครอย่างบังอาจขโมยเวลาของฉันไป’ (ใครที่ยังไม่เข้าใจในความหมายนี้ให้กับไปอ่านในตอนที่ชื่อว่า ใกล้รุ่ง แล้วคุณจะรู้ความหมายของคำว่า ความสุขในการทำงาน)

2. กบชอบอากาศที่อบอุ่น มากกว่าอากาศหนาวเย็น: ดังนั้น เวลาทำงาน เราควรตรวจตราดูสภาพแวดล้อมในการทำงานด้วย เพื่อป้องกันความเครียดจากการทำงาน เช่น อากาศร้อนเกินไป หนาวเกินไป เป็นต้น เพราะถ้าสิ่งแวดล้อมเอื้ออำนวย จะทำให้การทำงานนั้นเพลิดเพลินไปด้วย ซึ่งฉันมักจะเลือกทำงานตอนใกล้รุ่ง เพราะเป็นช่วงที่อากาศไม่ร้อนเกินไป และไม่มีใครมารบกวนเวลาส่วนตัวในช่วงเวลานี้

3. กบชอบอาศัยอยู่ในที่สะอาด และไม่มีศัตรู เช่น นก หรือ งู: ในหลวงได้กล่าวว่า ความคิดที่เป็นระบบเกิดจากการทำงานที่เป็นระเบียบ เพราะฉะนั้นถ้าใครอย่างมีระบบในการทำงาน ต้องสร้างระเบียบในการทำงานก่อน ‘ความหมายในที่สะอาดของกบ ความเป็นระเบียบในการทำงานของคนนั่นเอง’

4. กบจะตกใจง่าย ขี้หวาดกลัว และกระโดดหนีอย่างรุนแรง ถ้าตกใจมากๆ: เปรียบเสมือนกับการมอบหมายงาน สมมุตว่าเราจะต้มกบกิน

  ‘ถ้าเราเอากบใส่ลงในหม้อต้มในขณะที่น้ำยังไม่เดือด อุณหภูมิของน้ำที่ค่อยๆร้อนขึ้นจะทำให้กบรู้สึกสบาย เปรียบเสมือนกับการมอบหมายงานให้ใครทำทีละนิด อย่าให้เขารู้สึกเดือนร้อนเกินไป เขาก็สามารถทำงานนั้นได้อย่างสบาย จนกระทั่งอุณหภูมิของน้ำในหม้อต้มเริ่มเดือดเราก็หยุด ไม่งั้นลูกน้องเราตาย…..แต่ถ้าเรามอบหมายงานเป็นกองให้กับลูกน้องทำทันที เปรียบเสมือนกับการโยนกบลงไปในหม้อต้มน้ำที่กำลังเดือดอยู่ กบจะไม่ตายค่ะ แต่กบจะกระโดดหนี เข้าข่ายไม่ทำแล้วโว้ย เยอะเกินไป และหนีไปเลย ไม่ยอมทำงานนั้นให้เจ้านาย’

5.กบไม่ชอบอยู่ในที่ ที่มีเสียงดังมาก หรือมีควันไฟ : เสียงที่ดังและควันไฟ เปรียบเสมือนการติฉินนินทาเกี่ยวกับงานที่ทำ ซึ่งเป็นปกติที่ใครหลายๆคนก็ไม่ชอบ ดังนั้นการป้องกันคือ อย่าสนใจคำพูดเหล่านั้น คนที่รู้ว่าทำได้หรือไม่ได้คือตัวเองเท่านั้น ยกตัวอย่างที่ บทความที่ฉันตั้งใจจะเขียนเรื่องราวของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ครบ 1,000 เรื่อง จำนวน 10 เล่ม เล่มละ 100 เรื่อง (เนื้อหาอยู่ในตอนที่ชื่อว่า เรียงร้อยพันเรื่องราวรอยพระบาท) บางคนบอกว่า จะทำได้เหรอ? ตั้งเป้าหมายน้อยๆก่อนดีมั้ย? ฉันก็เลยบอกว่า ‘คนที่รู้ว่าทำได้หรือไม่ได้คือ ตัวฉัน ไม่ใช่ ตัวเธอ’

6.กบมักจะเปลี่ยนสีผิวหนังไปตามสีของสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย: ถ้าใจรุ่มร้อนตามสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป เช่น  เพื่อนด่าเราก็โกรธ เจ้านายด่าเราก็หงุดหงิด ถ้าใจแปรเปลี่ยนตามสิ่งแวดล้อมก็จะไม่เป็นสุข หลักคิดในศาสนานิกายเซนบอกว่า ‘ความสงบ สามารถสยบได้ทุกอย่าง’ ลองทำดูนะค่ะ

7. กบจะกินอาหารน้อยลงหรือจำศีล เมื่ออาการเย็น ทำให้เลี้ยงโตช้าช่วงหน้าหนาว: เปรียบเสมือนกับการรู้จักความพอเพียง รู้จักคิด รู้จักกิน รู้จักใช้ ก็จะไม่เดือดร้อน ซึ่งจริงๆคิดการนำหลักแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ คือ มีเหตุผล รู้จักประมาณตน และมีภูมิคุ้มกัน

 

            วันนี้เรามาทำงานแบบกบกันนะค่ะ ไอเดียต่างๆในเรื่องราวการทำงานแบบกบ เกิดจากการนำแนวคิดเรื่องแก้มลิงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มาประยุกต์ใช้ซึ่งกล่าวไว้ว่า

 

“…จำได้ว่า เมื่อตอนอายุ 5 ขวบ มีลิง เอากล้วยไปให้ มันก็เคี้ยว เคี้ยว เคี้ยวแล้วใส่ไว้ในแก้มลิง ตกลง ’โครงการแก้มลิง’ นี้มีเกิดเมื่อเราอายุ 5 ขวบ ก็นี่เป็นเวลา 63 ปีแล้ว...”

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที