มาทำความรู้จัก ประกันรถยนต์ กันก่อนว่า เป็นหมวดหมู่ย่อยของประกันวินาศภัย ซึ่งเน้นไปที่การประกันความเสียหายที่เกิดจากการใช้รถยนต์ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท
1.ประกันรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.)
2.ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ
ซึ่งการทำประกันรถยนต์ออนไลน์นั้น จะหมายถึงการซื้อใหม่ หรือการต่ออายุการใช้งานรอบใหม่ของทั้ง ประกันรถยนต์ภาคบังคับ และภาคสมัครใจ โดยการเลือกซื้อผ่านทางช่องทางออนไลน์ ด้วยการเข้าถึงข้อมูลสินค้าและบริการของผ่านระบบอินเตอร์เน็ตทั้งของบริษัทประกันภัยหรือนายหน้าประกันวินาศภัยผ่านทางหน้าเว็บไซต์ ซึ่งรวมการใช้งานทั้งผ่านคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ คอมพิวเตอร์พกพา แท็ปเล็ต หรือโทรศัพท์มือถือด้วย อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.frank.co.th/ประกันภัยรถยนต์ ข้อมูลอ้างอิง http://www.thaire.co.th/thaire_backend/upload/ourservices/publice_20151215102409.pdf
1.ประกันรถยนต์ภาคบังคับ
ที่เราเรียกกันย่อๆ ว่า พ.ร.บ. ย่อมาจาก พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เริ่มมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่ 5 เมษายน พ.ศ. 2536 ซึ่งให้ความคุ้มครองเฉพาะความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัยเท่านั้น แต่ไม่รวมถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สิน ถือเป็นกฎหมายที่ต้องปฏิบัติตามก่อนที่เราจะต่อทะเบียนรถยนต์กับกรมการขนส่งทางบก ซึ่งในปัจจุบันเราสามารถต่อภาษีรถยนต์และต่อประกันรถยนต์ภาคบังคับต่อแบบออนไลน์ได้แล้วด้วยนะครับ อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่ https://www.dlte-serv.in.th/dltWeb/ และเราสามารถต่อภาษีรถยนต์หรือประกันรถยนต์ได้ด้วยตัวเองแบบง่ายๆ ได้โดยไม่ต้องรอสถาบันการเงินไปติดต่อให้เพียงอย่างเดียวที่กรมการขนส่งทางบกได้ด้วย อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ต่อประกันรถภาษีรถได้ดวยตัวเอง
ความคุ้มครองเบื้องต้น ตาม พ.ร.บ.
ความคุ้มครองตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ไม่เกิน 50,000 บาท/คน ไม่เกิน 5,000,000 หรือ 10,000,000 บาท/ครั้ง แล้วแต่กรณี แบ่งได้ 2 ส่วน
1.ค่าเสียหายเบื้องต้น
คือ ค่ารักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บและเป็นค่าทำศพกรณีเสียชีวิต โดยไม่ต้องรอพิสูุจน์ความผิด โดยบริษัทประกันจะทำการชดใช้ให้แก่ผู้ประสบภัย หรือทายาทของผู้ประสบภัย ภายใน 7 วัน นับจากทางบริษัทประกันได้รับคำร้องขอค่าเสียหายดังกล่าวเรียกว่า ค่าเสียหายเบื้องต้น ล่าสุดได้มีการปรับเพิ่มความคุ้มครองของ พ.ร.บ.เริ่มใช้งานตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2559 ที่ผ่านมาโดยที่
-ค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายที่จำเป้นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท
-ค่าทุพพลภาพ/พิการ/ค่าปลงศพ และค่าใช้จ่ายที่จำเป็นเกี่ยวกับการจัดการศพ จำนวน 35,000 บาท
-กรณีเสียชีวิตภายหลังการรักษาพยาบาล จะได้รับค่ารักษาพยาบาลและค่าปลงศพ รวมแล้วไม่เกิน 65,000 บาท
2.ค่าเสียหายส่วนที่เกินจากค่าเสียหายเบื้องต้น (ค่าสินไหมทดแทน)
คือ ค่าเสียหายที่บริษัทประกันภัยที่เป็นฝ่ายผิด จะชดใช้ค่าเสียหายให้กับผู้ประสบภัยจากรถหรือทายาทที่เป็นบุคคลภายนอก ภายหลังจากที่มีการพิสูจน์ความรับผิดตามกฎหมายแล้ว โดยที่
-กรณีบาดเจ็บ ส่วนเกินจากค่าเสียหายเบื้องต้น ค่ารักษาพยาบาลและค่าเสียหายอื่นๆ ที่ผู้ประสบภัยสามารถเรียกร้องได้ตามมูลค่าที่เสียหายจริงแต่ไม่เกิน 80,000 บาท
-กรณีสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวร พิการสูญเสียอวัยวะ 2 ส่วน ชดเชยเต็มตามจำนวนเงินคุ้มครองสูงสุด 300,000 บาท
-กรณีพิการสูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน ชดเชยเต็มตามจำนวนเงินคุ้มครองสูงสุด 250,000 บาท
-ค่าชดเชยรายวันกรณีรักษาตัวในสถานพยาบาลในสถานพยาบาลในฐานะคนไข้ใน วันละ 200 บาท จำนวนรวมไม่เกิน 20 วัน สูงสุด 4,000 บาท
Credit:http://www.fourinsured.com
บทลงโทษตามกฎหมาย ถ้ารถไม่มี พ.ร.บ.
-เจ้าของรถหรือผู้เช่าซื้อรถ ต้องมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
-ผู้ที่นำรถที่ไม่มี พ.ร.บ. มาขับ ต้องมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
2.ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ
คือ การประกันภัยรถยนต์ซึ่งเป็นการตกลงกันระหว่างผู้ซื้อ (ผู้เอาประกันภัย) และผู้ขาย (บริษัทประกันภัย) โดยเป็นการเลือกซื้อความคุ้มครองประกันภัยตามความต้องการที่เหมาะสมของผู้ซื้อ (ผู้เอาประกันภัย)
การประกันภัยรถยนต์
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
-ไม่ระบุชื่อผู้ขับขี่ ผู้ขับขี่หรือใช้งานได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัย โดยจะคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์
-ระบุชื่อผู้ขับขี่ กรณีผู้ขับขี่ไม่ใช่ผู้เอาประกันภัย ต้องร่วมรับผิดชอบความเสียหายส่วนแรกเพิ่มด้วย
ประเภทของกรมธรรม์ภาคสมัครใจ
แบ่งได้ 5 ประเภท
1.ประเภท 1 หรือ ประกันรถชั้น 1
เป็นประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองมากที่สุด ครอบคลุมความเสียหายทุกชนิดที่เกิดขึ้นกับรถยนต์คันที่เอาประกันภัย คุ้มครองรถยนต์สูญหาย ถูกโจรกรรม และไฟไหม้ ความเสียหายต่อตัวรถจะคุ้มครองตามทุนประกันที่ทำไว้ โดยที่ทุนประกันจะคำควณจากราคารถยนต์ป้ายแดง ในปีที่ 1 ลบด้วย 20% แล้วหลังจากนั้นจะถูกลบออกด้วยค่าเสื่อมราคา 10% ทุกปี สามารถเคลมได้ทั้วแบบมีคู่กรณีและแบบไม่มีคู่กรณี
โดยลูกค้าหรือผู้เอาประกันจะเสียค่าเสียหายส่วนแรก (Excess) ในการเคลมแห้ง แผลละ 1,000 บาท แต่สามารถขออนุโลมกับบริษัทประกันได้ตามสมควร
การแจ้งเคลม
โดยปกติแล้วทุกบริษัทประกันภัย จะมีฝ่ายรับแจ้งเคลมดำเนินงานตลอด 24 ชั่วโมงอยู่แล้ว เราจึงสามารถโทรติดต่อได้จากทุกจังหวัดทั่วปรเทศไทยผ่านเบอร์โทรศัพท์ Hotline ได้ทันที รูปแบบของการแจ้งอยู่มี 2 แบบ
1.แจ้งเคลมแบบมีคู่กรณี (เคลมสด)
เช่น ในกรณีเกิตอุบัติเหตุตามท้องถนน มีคู่กรณี และต้องเรียกให้ Surveyor มาที่เกิดเหตุ
2.แจ้งเคลมแบบไม่มีคู่กรณี (เคลมแห้ง)
เช่น ในกรณี ขับรถไปตามทางแล้วโดนหินกระเด็นใส่ เป็นรอยสีถลอกที่ตัวถัง
2.ประเภท 2 หรือ ประกันรถชั้น 2
เป็นประกันที่คุ้มครองแบบเฉพาะภัย หรือระบุภัย คุ้มครองรถยนต์เฉพาะสูญหาย และไฟไหม้เท่านั้น ส่วนความเสียหายต่อตัวรถไม่คุ้มครอง แต่ยังให้ความรคุ้มครองการเสียชีวิต ทุพพลภาพ และทรัพย์สินบุคลลภายนอก ส่วนผู้ขับขี่และผู้โดยสารในรถคันที่เอาประกันจะมีความคุ้มครองเรื่องอุบัติเหตุ ค่ารักษาพยาบาล และมีวงเงินการประกันตัวผู้ขับขี่ในคดีอาญา (กรณีขับชนผู้อื่นเสียชีวิต) ประกันประเภทนี้ส่นใหญ่บริษัทลีสซิ่งเช่าซื้อรถยนต์ และบริษัทไฟแนนซ์ เต็นท์รถมือสองนิยมทำเป็นของแถมให้ลูกค้า
3.ประเภท 3 หรือ ประกันรถชั้น 3
เป็นประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองเฉพาะความเสียหายของทรัพย์สินบุคคลภายนอกเท่านั้น ส่วนความเสียหายต่อตัวรถคันที่เอาประกันไม่คุ้มครองหากขับไปชนรถคันอื่นและเป็นฝ่ายผิด บริษัทประกันจะรับผิดชอบค่าเสียหายของรถคู่กรณีให้นตามจำนวนเงินที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ และคุ้มครองการเสียชีวิต ทุพพลภาพ ของบุคคลภายนอกด้วย ส่วนผู้ขับขี่และผู้โดยสารในรถคันที่เอาประกันจะมีความคุ้มครอง อุบัติเหตุ ค่ารักษาพยาบาล และมีวงเงินการประกันตัวผู้ขับขี่ในคดีอาญา (กรณีขับชนผู้อื่นเสียชีวิต)
4.ประเภท 4 หรือ ประกันรถชั้น 4
เป็นประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองเฉพาะความเสียหายของทรัพย์สินบุคคลภายนอกเท่านั้น (ปัจจุบันไม่มีจำหน่ายแล้ว)
5.1ประเภท 5 หรือประกันรถชั้น 2+
เป็นประกันที่คุ้มครองแบบเฉพาะภัย หรือระบุภัย ซึ่งจะมีความคุ้มครองคล้ายกับประกันภัยชั้น 1 คือคุ้มครองรถยนต์สูญหาย ไฟไหม้ ภัยธรรมชาติ (คุ้มครองภัยก่อการร้ายในบางบริษัทประกัน) ส่วนความเสียหายต่อตัวรถคุ้มครองเฉพาะการชนกับยานพาหนะทางบก (รถชนรถ) เท่านั้น มีความคุ้มครองการเสียชีวิต ทุพพลภาพ และทรัพย์สินของบุคคลภายนอกด้วย ส่วนผู้ขับขี่และผู้โดยสารในรถคันที่เอาประกันจะมีความคุ้มครอง อุบัติเหตุ ค่ารักษาพยาบาล และมีวงเงินการประกันตัวผู้ขับขี่ในคดีอาญา (กรณีขับชนผู้อื่นเสียชีวิต)
5.2ประเภท 5 หรือประกันรถชั้น 3+
เป็นประกันที่คุ้มครองแบบเฉพาะภัย หรือระบุภัย ซึ่งจะมีความคุ้มครองคล้ายกับประกันแบบ 2+ แต่ไม่คุ้มครอง รถยนต์สูญหาย ไฟไหม้ (หรือสามารถซื้อความคุ้มครองภัยธรรมชาติ หรือภัยก่อการร้ายเพิ่มเติมได้จากบริษัทประกันภัย) ให้ความคุ้มครองการเสียชีวิต ทุพพลภาพ และทรัพย์สินของบุคคลภายนอกด้วย ส่วนผู้ขับขี่และผู้โดยสารในรถคันที่เอาประกันจะมีความคุ้มครอง อุบัติเหตุ ค่ารักษาพยาบาล และมีวงเงินการประกันตัวผู้ขับขี่ในคดีอาญา (กรณีขับชนผู้อื่นเสียชีวิต)
ช่องทางการชำระเงิน
จุดเด่นของการทำประกันรถยนต์ออนไลน์ คือ ความสะดวก รวดเร็ว และเป็นทางเลือกเพิ่มเติมให้ผู้บริโภคโดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคการทำ e-commerce หรือการตลาดออนไลน์เพื่อความง่าย ครบถ้วน และทั่วถึงในการเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ในโลกยุค Social Media ดังนั้นช่องทางการชำระเงินจึงสามารถทำได้อย่างครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
-ช่องทางปกติ ชำระเงินด้วยบัตรเครดิต การเก็บเงินปลายทาง การชำระเงินที่เค้าท์เตอร์ธนาคาร โอนเงินจากเครื่อง ATM ชำระเงินที่เค้าเตอร์เซอร์วิส
-ช่องทางออนไลน์ โอนเงินจาก internet banking หรือ mobile banking ชำระเงินผ่าน payment gateway หรือ Paypal
ข้อมูลอ้างอิง https://www.1213.or.th/th/serviceunderbot/payment/Pages/internet-payment.aspx
การดำเนินงานอื่นๆ และจัดส่งกรมธรรม์
หลังจากที่ทำการชำระเงินแล้ว สามารถนัดภ่ายรูปรถได้ตามปกติ และยังสามารถเลือกช่องทางการจัดส่งกรมธรรม์ตามวันที่เราต้องการได้อีกด้วย เช่น ต้องการเอกสารเป็นอีเมลล์ ต้องการส่งทางการจัดส่งโดยพนักงาน หรือสะดวกการจัดส่งทางไปรษณีย์ทั้งแบบด่วนพิเศษและแบบลงทะเบียน
โดยสรุปแล้ว ประกันรถยนต์ออนไลน์ จึงเป็นทางเลือกใหม่ที่น่าสนใจและเน้นที่ความสะดวก ความรวดเร็วของการให้และรับบริการ ตามความต้องการของยุคดิจิตอลที่เวลาถือเป็นสิ่งที่มีค่าอย่างมาก
ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.frank.co.th/
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที