GIT Information Center

ผู้เขียน : GIT Information Center

อัพเดท: 22 มี.ค. 2016 02.28 น. บทความนี้มีผู้ชม: 1700 ครั้ง

ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับขอนำเสนอบทความเรื่อง "สำรวจโอกาสในธุรกิจเครื่องประดับจีน" สนใจบทความอื่นๆ อ่านเพิ่มเติมที่ http://www.git.or.th/Gem สอบถาม พูดคุย หรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้ที่ https://www.facebook.com/GITInfoCenter


สำรวจโอกาสในธุรกิจเครื่องประดับจีน

ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมเครื่องประดับจีน Barry Lau เริ่มต้นจากการเป็นนักขายเครื่องประดับตามพื้นที่ท่องเที่ยวและไต่เต้าจนกลายมาเป็นนักออกแบบและที่ปรึกษาด้านเครื่องประดับที่มีชื่อเสียงในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา Lau จะมานำเสนอมุมมองจากคนวงในเกี่ยวกับความท้าทายและโอกาสในธุรกิจเครื่องประดับของจีน

ในยุคทศวรรษ 1990 ผู้ประกอบการด้านเครื่องประดับในฮ่องกงพากันยกขบวนย้ายฐานการผลิตไปยังเซินเจิ้น (Shenzhen) และปันหยู (Panyu) ในจีนแผ่นดินใหญ่ ที่โรงงานของผู้ประกอบการฮ่องกงเหล่านี้ พนักงานฝึกงานจำนวนมากจากจีนแผ่นดินใหญ่ได้เรียนรู้วิธีการทำธุรกิจ แล้วเมื่อมีความรู้ความสามารถก็ได้ตั้งกิจการของตนเองขึ้นมา

ในช่วงเริ่มแรกคนกลุ่มนี้พอใจกับการผลิต การรับคำสั่งซื้อ และการผลิตสินค้าตามคำสั่งผ่านคนกลางจากฮ่องกง แต่ในไม่ช้าผู้ประกอบการเหล่านี้ก็เข้าร่วมงานแสดงสินค้านานาชาติและสานสัมพันธ์ทางธุรกิจกับลูกค้าต่างประเทศ

ในยุคทศวรรษ 1990 ผู้ประกอบการด้านเครื่องประดับในฮ่องกงพากันยกขบวนย้ายฐานการผลิตไปยังเซินเจิ้น (Shenzhen) และปันหยู (Panyu) ในจีนแผ่นดินใหญ่ ที่โรงงานของผู้ประกอบการฮ่องกงเหล่านี้ พนักงานฝึกงานจำนวนมากจากจีนแผ่นดินใหญ่ได้เรียนรู้วิธีการทำธุรกิจ แล้วเมื่อมีความรู้ความสามารถก็ได้ตั้งกิจการของตนเองขึ้นมา

ในช่วงเริ่มแรกคนกลุ่มนี้พอใจกับการผลิต การรับคำสั่งซื้อ และการผลิตสินค้าตามคำสั่งผ่านคนกลางจากฮ่องกง แต่ในไม่ช้าผู้ประกอบการเหล่านี้ก็เข้าร่วมงานแสดงสินค้านานาชาติและสานสัมพันธ์ทางธุรกิจกับลูกค้าต่างประเทศ

การเติบโตของอุตสาหกรรม

ในเวลานั้นความต้องการเครื่องประดับในจีนพุ่งสูงขึ้นสอดคล้องกับการเติบโตอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจจีนในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ด้วยเหตุนี้ผู้ประกอบการในจีนแผ่นดินใหญ่จึงเริ่มมีอาคารแสดงสินค้าเป็นของตนเองในชุยเป่ย (Shuibei) และเทียนเป่ย (Tianbei) ในเซินเจิ้น เพื่อสนองความต้องการของร้านค้าเครือข่ายขนาดใหญ่และผู้ค้าปลีก

แบรนด์จากฮ่องกงที่ตั้งอยู่ในจีนไม่เพียงสนับสนุนช่างฝีมือขั้นสูงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงผู้บริหารชั้นนำด้วย นักลงทุนในจีนแผ่นดินใหญ่เริ่มสร้างแบรนด์ของตัวเอง โดยรายที่ประสบความสำเร็จก็หันมาทำกิจการในลักษณะแฟรนไชส์ โดยแต่ละรายมีผู้ร่วมธุรกิจมากถึง 200 ถึง 300 ราย

ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมามีการปฏิวัติด้านอีคอมเมิร์ซในจีน ผู้ขายเครื่องประดับหลายรายใช้แนวทาง “bricks-and-clicks” ช่วยให้ลูกค้าสามารถเลือกเครื่องประดับที่ตนเองต้องการซื้อ นัดหมายทางออนไลน์ จากนั้นก็ตรวจสอบสินค้าด้วยตนเองที่ “Experience Store” ซึ่งเป็นร้านที่มักตั้งอยู่บนชั้นสอง

แนวทางการดำเนินงานดังกล่าวช่วยประหยัดต้นทุนด้านคลังสินค้าให้ผู้ขาย รวมถึงค่าเช่าที่สูงลิบลิ่วจากการเช่าพื้นที่หน้าร้านตามรูปแบบปกติ นอกจากนี้ ร้านเครื่องประดับชั้นสองที่นำเสนอสินค้าเครื่องประดับสั่งทำตามความต้องการของลูกค้าก็ได้รับความนิยมเช่นเดียวกัน

ร้านค้าปลีกเครื่องประดับชั้นนำของจีน

 

หนทางข้างหน้า

แม้เริ่มต้นอย่างสวยงาม แต่อุตสาหกรรมเครื่องประดับจีนก็ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ หลังจากการรณรงค์ต่อต้านการทุจริต การปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ และความผันผวนอย่างต่อเนื่องในตลาดหุ้น อนาคตของอุตสาหกรรมเครื่องประดับจีนดูเหมือนจะไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ

อย่างไรก็ดี หากสิ่งที่ผมได้สัมผัสด้วยตนเองในจีนจะช่วยบ่งบอกอะไรได้บ้าง ผมก็คงพูดได้ว่าอุตสาหกรรมนี้ไม่ถึงกับอับจนหนทาง ตราบใดที่ผู้ประกอบการยังคงทุ่มเทเต็มร้อยให้เครื่องประดับ

ที่แน่ๆ ก็คือผู้คนยังคงจับจ่ายซื้อของ แม้ว่าจะซื้อผ่านสื่อสังคมออนไลน์กันมากขึ้น อย่างเช่น WeChat ซึ่งมีผู้ใช้งาน 650 ล้านคน ด้วยการสนับสนุนจากผู้ค้าส่ง ผู้ขายปลีกเครื่องประดับราคาย่อมเยาตั้งแต่ราว 152 เหรียญสหรัฐไปจนถึง 300 เหรียญสหรัฐสามารถตั้งร้าน “WeStore” ทาง WeChat และนำเสนอสินค้าของตนทาง Moments ซึ่งเป็นฟังก์ชั่นของ WeChat ที่มีลักษณะคล้าย Facebook โดยอาจมีบรรดาครอบครัวและเพื่อนฝูงทำหน้าที่เป็นนายแบบนางแบบ

อย่างไรก็ดี ไม่มีอะไรมารับประกันได้ว่า “ยอดแชร์” และ “ยอดไลค์” ที่สินค้าได้รับจากพื้นที่ออนไลน์จะกลายมาเป็นผลกำไรที่แท้จริง แต่ผมก็รู้จักนักขายที่ทำงานเต็มเวลาใน WeChat และทำเงินกว่า 1,300 เหรียญสหรัฐต่อเดือน

ด้วยการตั้งราคาที่เหมาะสมและสินค้าที่มีคุณภาพ ผู้ค้าส่งที่ทำงานร่วมกับผู้ขาย 20 ถึง 30 รายอาจได้เห็นสินค้าของตนเป็นที่รู้จักในชั่วข้ามคืน และได้เข้าถึงว่าที่ลูกค้าจำนวนมากอย่างคาดไม่ถึงมาก่อน

รูปแบบเครื่องประดับจีนแบรนด์ (ช้าย) Lao Feng Xiang Jewelry (ขวา) MinGR Jewelry

 

ทั้งหมดนี้นำมาสู่คำถามเรื่องการอยู่รอดของผู้ขายตามร้านค้าแบบดั้งเดิม เช่น ร้านค้าอิสระ ร้านแฟรนไชส์ และร้านในห้างสรรพสินค้า

กว่าปีมาแล้วผมเคยทำงานให้ร้านเครื่องประดับระดับสูงในปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้ซึ่งสินค้ามีราคาราว 15,000 เหรียญสหรัฐขึ้นไป แต่เดี๋ยวนี้คุณจะพบผมได้ที่จังหวัดเฮย์หลงเจียง (Heilongjiang) หรือเหลียวหนิง (Liaoning) เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในจีนทำให้นักลงทุนต่างประเทศและแบรนด์ระดับสากลหลายรายถอนตัวออกจากจีน โดยเมืองอย่างปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้ต้องมารับผลกระทบอย่างหนักจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำดังกล่าว

ในขณะที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีนซึ่งมีทรัพยากรทางธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ยังคงพึ่งพาตนเองได้ค่อนข้างดีแม้ว่าเศรษฐกิจทั่วประเทศจะชะลอตัวลงก็ตาม ในเมืองทางตะวันออกเฉียงเหนือ สินค้าเครื่องประดับระดับสูงยังคงเป็นที่ต้องการ และห้างสรรพสินค้าก็ยังคงคลาคล่ำไปด้วยลูกค้า ซึ่งกลายเป็นภาพที่ไม่ค่อยเห็นได้บ่อยนักตามเมืองใหญ่ๆ

------------------------------------------

ที่มา: “Exploring opportunities in China’s jewellery sector.” by Barry Lau. JNA. (February 2016: pp. 20, 22).


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที