ทีมงาน

ผู้เขียน : ทีมงาน

อัพเดท: 22 ธ.ค. 2015 03.58 น. บทความนี้มีผู้ชม: 63882 ครั้ง

Union of Japanese Scientists and Engineers (JUSE) ได้ทำการรวบรวมชีวประวัติของท่าน ศาสตราจารย์ ดร.คาโอรุ อิชิกาว่า เป็นบทความภาษาญี่ปุ่นและภาษาอังกฤษ ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดเอกสารได้ฟรีทาง http://www.juse.or.jp และทางสมาคมฯ ได้คัดบทความบางส่วนมาแปลเป็นภาษาไทยและเผยแพร่ใน Website ของสมาคมฯ ซึ่งท่านสามารถติดตามอ่านและดาวน์โหลดเอกสารฟรีได้ที่ http://www.tpa.or.th


บทที่ 15 : งานวิจัยของ ดร.อิชิกาวา (The Research of Dr. Ishikawa) - 15.1 ลักษณะพิเศษของการเขียนของ ดร. อิชิกาวา (Special Features of Dr. Ishikawa’s Writing)

ดร.อิชิกาวา ได้สร้างสรรค์แนวคิดใหม่ๆ จำนวนมาก รวมทั้งข้อเสนอที่หลากหลาย  ท่านได้ทำงานอย่างหนักพร้อมกับเพื่อนศาสตราจารย์ เพื่อทำให้ข้อเสนอเหล่านั้น เป็นจริงขึ้น  มันคงต้องใช้เวลาหลายปี ในการวิจัยจากจุดยืนอย่างมืออาชีพ เพื่อที่จะแสดงให้เห็นงานทั้งหมดของท่าน  ดังนั้นคงเป็นไปไม่ได้ที่จะอธิบายสิ่งทั้งหมด ภายในหนังสือเล่มนี้   งานวิจัยบางอย่างของท่านได้รับการแนะนำในรายการสิ่งพิมพ์ที่ท้ายหนังสือเล่มนี้  ในส่วนที่เกี่ยวกับ QC circle   การสร้างความเป็นสากล  Sampling และการสร้างมาตรฐานของอุตสาหกรรม  กรุณาอ่าน Chapter 10 ถึง 14   หลักฐานอ้างอิงได้แสดงไว้ใน ตารางลำดับเหตุการณ์ และจำนวนหลักฐานอ้างอิงที่อยู่ท้ายของหนังสือ  จำนวนหลักฐานอ้างอิง ที่เริ่มต้นด้วย  B หมายถึงหนังสือ และในกรณีนี้  หน้าที่ใช้อ้างอิงก็จะแสดงด้วย


15.1 ลักษณะพิเศษของการเขียนของ ดร. อิชิกาวา (Special Features of Dr. Ishikawa’s Writing)

ผลลัพธ์ของ งานวิจัยของดร.อิชิกาวา เกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพ และสาขาอื่นๆ ได้นำเสนอผ่านหนังสือ  บทความ สไลด์  วีดีโอ  มาตรฐานอุตสาหกรรมญี่ปุ่น (JIS),  มาตรฐาน ISO  และสื่ออื่นๆ  นี่คือลักษณะพิเศษบางอย่างของงานของท่าน ซึ่ง เราพบในรายการที่เป็น ภาคผนวก ที่อยู่ที่ท้ายของหนังสือเล่มนี้

  1. ผลงานปริมาณมหาศาล  (2 ผลงานต่อเดือน ตลอดเวลา 40 ปี)
  2. เนื้อหาสาระที่มีขอบข่ายที่กว้าง (ตั้งแต่หลักคิด จนถึงวิธีการของการควบคุมคุณภาพ)
  3. งานจำนวนมาก ตีพิมพ์ในภาษาต่างประเทศ (16 ภาษา  139 ผลงาน)
  4. Guideline ที่ชัดเจน สำหรับความเป็นไปได้ของแนวโน้มอนาคต

ขอให้เราดูรายละเอียดของลักษณะพิเศษดังต่อไปนี้

(1) ผลงานปริมาณมาก

จำนวนมหาศาลของผลงานของท่าน มีถึงประมาณ 800 ผลงาน  สำหรับหนังสือแล้ว เราจะนับเฉพาะที่พิมพ์ครั้งแรกส่วนบทความนั้น เรานับเฉพาะ ส่วนที่นำเสนอที่มีชื่อเรื่องเดียวกันเท่านั้น

หนังสือ 31 เล่ม (ฉบับปรับปรุงและเพิ่มเติม 11 ฉบับ แปล 32 ฉบับ)

ถ้าหากรวม ตัวเลขที่อยู่ในวงเล็บ  เป็นต้นว่า ฉบับปรุงและเพิ่มเติม  แปล และ บทความต่อเนื่อง และ   รายการปรับปรุง JIS แล้ว  จำนวนตัวเลขรวม จะมีมากกว่า 950 รายการ  ส่วนใหญ่ได้รับการตีพิมพ์ ในขณะที่บางส่วน เป็นต้นว่า รายการข้างล่างนี้ ไม่ได้มีการตีพิมพ์ ซึ่งไม่ได้นับรวมไว้

  1. บทความใน newsletters ของมหาวิทยาลัย หรือ ในบริษัทต่างๆ
  2. เอกสารนำเสนอ ซึ่งไม่ได้มีการตีพิมพ์ รวมเป็นบทความ
  3. ตำราประกอบการสัมมนา
  4. รายงาน ที่เรียบเรียงในการประชุมคณะกรรมการภาครัฐ และวิชาการ

ข้าพเจ้าเรียบเรียงผลงานเหล่านี้ ตามรายการหนังสือ และบทความที่เขียนโดยดร.อิชิกาวา ในการดำเนินการนี้นั้น ข้าพเจ้าได้พบและเพิ่มเติมผลงานอีกมากมายของท่านซึ่งยังไม่ได้รวมรวมไว้ก่อนหน้านี้  อาจจะเพราะว่า ท่านมีงานยุ่งจนไม่สามารถจัดทำรายการเหล่านั้นได้ ถึงแม้ว่าท่านจะเป็นนักเก็บข้อมูลที่มีความกระตือรือร้นก็ตาม  ระหว่างการเรียบเรียงหนังสือเล่มนั้น การจัดทำรายการ รวมทั้ง การจัดเรียงลำดับเหตุการณ์นั้นใช้เวลามากกว่างานอื่นๆ  ข้าพเจ้าพยายามที่จะจัดทำรายการที่สมบูรณ์ แต่ข้าพเจ้าเกรงว่า อาจจะยังพลาดผลงานบางส่วน   ถ้าเรานับเข้าไปด้วย จำนวนรวมอาจจะมากกว่า 1000 รายการก็ได้  ในหลักสูตรสัมมนา ตลอดเวลา 40 ปีที่ท่านได้มีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องการควบคุมคุณภาพ จนกระทั่งท่านเสียถึงแก่กรรม (1949-1989)  ท่านได้เขียนผลงานทั้งหมด ยกเว้นผลงานเดียว (เลขที่ 513 ในรายการ  ปี 1944)  นั่นหมายความว่า ท่านจะต้องเขียน อย่างน้อย 25 ผลงานต่อปี  และ 2 ผลงานต่อเดือน โดยเฉลี่ย  ตลอดเวลา 40 ปีของท่าน   ในจำนวน “2 ผลงานต่อเดือน” นั้นรวม หนังสือหนาหลายเล่มด้วย  เราเข้าใจได้ง่ายว่า ท่านได้เขียนผลงานจำนวนมหาศาลได้   ไม่จำเป็นต้องพูด  ท่านได้ใช้เวลาที่ยาวนานในการเขียนผลงานเหล่านี้  และที่สำคัญที่สุด ท่านได้ใช้เวลาที่สำคัญในการวิจัย หรือ ค้นคว้า ซึ่งที่จะต้องเขียนไว้ก่อน  ท่านดูเหมือนซูเปอร์แมนจริงๆ

(2) เนื้อหาสาระที่มีขอบข่ายที่กว้าง (A wide range of contents)

หนังสือ 31 เล่มที่ท่านเขียน สามารถแบ่งออกได้ตามเนื้อหาดังต่อไปนี้

บทความจำนวน 517 บทความ  สามารถแบ่งออกได้ตามเนื้อหาดังต่อไปนี้

จากการวิเคราะห์ข้างบน  เราสามารถเห็นเนื้อหาที่มีขอบข่ายกว้างขวางของท่าน  รวมทั้งแนวคิดและวิธีการของการควบคุมคุณภาพ  QC Circle, Sampling,  ปัญหาระหว่างประเทศ และ การนำเข้ามาใช้ของการสร้างมาตรฐานอุตสาหกรรม

(3) ผลงานจำนวนมาก ตีพิมพ์ในภาษาต่างประเทศ (Many works are published in foreign languages)

ในผลงานของท่าน มีอีกสิ่งหนึ่งคือ ท่านเขียนเป็นภาษาอังกฤษด้วยตัวของท่านเอง และมีจำนวน 32 ผลงาน ได้รับการแปลเป็น 12 ภาษา

จำนวนบทความ สาระนิพนธ์  บทนำ Essays หรือ สไลด์ ที่ตีพิมพ์ ในภาษาต่างประเทศนั้น ได้แสดงไว้ในตาราง 15.1  จำนวนทั้งหมดมี 108 ผลงาน ใน 11 ประเทศ    ถ้าหากรวมเรื่องที่แปลด้วยแล้ว จำนวนจะเพิ่มเป็น  139 ผลงาน ใน 16 ภาษา

ตาราง 15.1  บทความและผลงานอื่น ในภาษาต่างประเทศ

บทความที่ตีพิมพ์ อังกฤษ จีน เกาหลี ฝรั่งเศส อื่นๆ
บทความการวิจัย          
1. Concept of Quality Control 8 1     เยอรมัน 1 สเปน 1 โปแลนด์1 เชค2
2. Japanese Quality Control 11 5   4  
3. Management and Quality Control 2 6      
4. Organizational Management 6 1      
5. QC Circle 12 2     โปรตุเกส 1
6. International Problems 3 2 1   รัสเซีย 1
7. Quality Assurance 4 2 4    
8. Quality Control Meth 2        
9. Sampling, Analysis 10        
คำนำ  essay ต่างๆ          
1.เกี่ยวกับ Quality control 5       อิตาลี 1
สไลด์ 6        
รวม 69 23 4 5 7 (รวมทั้งสิ้น 108)

(4) Guideline ที่ชัดเจน สำหรับความเป็นไปได้ของแนวโน้มอนาคต  (Clear guidelines for the possibility of future trends)

ดร.อิชิกาวา  มีทัศนะวิสัยที่กว้างไกล  ท่านได้คิดถึงเรื่องโลกาภิวัฒน์ ตั้งแต่ในช่วงแรกหลังสงครามโลกครั้งที่ 2  นอกจากนี้ ท่านยังได้ยืนยันอยู่เสมอถึงความสำคัญของ QC ในการดีไซน์ เมื่อพวกเขาเพิ่งจะเริ่มต้นอยากจะได้ผลลัพธ์จากความพยายามในการลดความผิดพลาดของสินค้า ที่ genba (หน้างาน)  ในขณะเดียวกัน ท่านได้ยกตัวอย่างและสรุปทิศทางอนาคตที่เป็นไปได้  นอกจากนี้ ท่านยังได้เกี่ยวข้องกับคนจำนวนมาก โดยขอ หัวข้อเรื่อง ในวารสาร หรือ ที่ การประชุมสัมมนาวิชาการ QC   แน่นอน หัวข้อเรื่องทั้งหมดที่ท่านเลือกไม่ค่อยจะได้ตามที่ท่านได้วางแผนไว้  อย่างไรก็ตาม เพราะว่า ท่าน ได้ยกหัวข้อเรื่องขึ้นมาเรื่องหนึ่ง มันมักจะกลายเป็นปัญหาล่วงหน้า สำหรับคนหลายๆ คน ซึ่ง สามารถที่จะเตรียมตัวต่อสิ่งแวดล้อมใหม่ที่จะมา

ข้าพเจ้า ไม่มีโอกาสที่ได้ยินจากดร.อิชิกาวาโดยตรง ว่า ท่านมองเห็นล่วงหน้าเกี่ยวกับแนวโน้มใหม่ๆ ได้อย่างไร  แต่ระหว่างการเรียบเรียงบทนี้ ข้าพเจ้าคิดว่า ข้าพเจ้าได้พบ 3 ประเด็นด้วยกัน  ประเด็นแรก คือ ประสบการณ์และ การเฝ้าสังเกต ที่ท่านได้มาจากการไปเยี่ยมทางธุรกิจในต่างประเทศ   ได้กลายเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์มาก ในช่วงทศวรรษ 1970   แต่ท่านไม่ได้แนะนำสิ่งที่ท่านได้เห็นในต่างประเทศ เป็นข้อมูลมือสอง  ในทางตรงการข้าม ท่านได้ไตร่ตรองจนกระทั่งท่านเข้าใจอย่างเต็มที่ต่อสิ่งที่ท่านได้เห็น  แล้วจัดให้สิ่งเหล่านั้น เป็นระบบ แล้วจึงแนะนำให้กับพวกเรา   การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ และ ความรับผิดชอบของผลิตภัณฑ์ เป็นตัวอย่างที่ดี  การบริหารข้ามสายงาน เป็นอีกหนึ่งตัวอย่าง  ที่ท่านควรคิดว่า นั่นถูกกลั่นมาจากไอเดียที่ท่านได้รับระหว่างอยู่ที่สหรัฐอเมริกา   เมื่อพิจารณาจากการที่ได้ไปพบกับผู้เชี่ยวชาญชาวอเมริกัน เพื่อศึกษาการบริหารข้ามสายงาน  เป็นที่ชัดเจนว่า ดร.อิชิกาวา ไม่เพียงแต่ส่งผ่านและแนะนำให้กับพวกเราเท่านั้น   ประการที่สอง   ข้อมูลข่าวสารจำนวนมากที่ท่านได้รับมาจากความสนใจอย่างยิ่งยวดของท่าน ต่อสิ่งใหม่ๆ และ จากการสัมผัสที่ใกล้ชิด  ประการที่ สาม  เกิดจากความสนใจที่แหลมคมของท่านในสิ่งซึ่งได้ดำเนินไปในโลก  ข้าพเจ้าจะไม่ลืมว่า ท่านมักจะอ่านหนังสือพิมพ์ ตั้งแต่หน้าแรกจนถึงหน้าสุดท้าย และ จัดคลิปไว้ ตามเนื้อหา

(Noriaki  Kano)


ส.ส.ท. ได้รับอนุญาตจาก JUSE ในการแปลและเผยแพร่บทความเรื่อง  “Kaoru Ishikawa, The Man and Quality Control”



บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที