ทีมงาน

ผู้เขียน : ทีมงาน

อัพเดท: 22 ธ.ค. 2015 03.58 น. บทความนี้มีผู้ชม: 63884 ครั้ง

Union of Japanese Scientists and Engineers (JUSE) ได้ทำการรวบรวมชีวประวัติของท่าน ศาสตราจารย์ ดร.คาโอรุ อิชิกาว่า เป็นบทความภาษาญี่ปุ่นและภาษาอังกฤษ ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดเอกสารได้ฟรีทาง http://www.juse.or.jp และทางสมาคมฯ ได้คัดบทความบางส่วนมาแปลเป็นภาษาไทยและเผยแพร่ใน Website ของสมาคมฯ ซึ่งท่านสามารถติดตามอ่านและดาวน์โหลดเอกสารฟรีได้ที่ http://www.tpa.or.th


บทที่ 9 : การควบคุมคุณภาพที่แพร่หลายไปสู่การศึกษา (Quality Control Starts and Ends with Education)

การนำเสนอ QC สู่ฝ่ายการตลาด
(Introduction of QC to the Marketing Department)

Kosuke  Kuji

ข้าพเจ้าเรียนรู้อย่างมากจากศาสตราจารย์คะโอรุ อิชิกาวา ในเรื่องต่างๆ มากมาย แต่นอกเหนือสิ่งอื่นใด  ข้าพเจ้าไม่สามารถลืมความพยายามที่มุ่งมั่นของท่านในการนำเสนอ  การควบคุมคุณภาพ สู่ฝ่ายการตลาด  ข้าพเจ้าไม่รู้ว่าท่านได้เริ่มคิดที่จะนำเสนอการควบคุมคุณภาพสู่ฝ่ายการตลาดเมื่อไร

ครั้งแรกที่ข้าพเจ้าได้มีโอกาสอย่างเป็นทางการในการทำงานร่วมกับศาสตราจารย์อิชิกาวา คือ ใน JUSE Course for Marketing (ETC) ซึ่งเริ่มขึ้นในเดือนสิงหาคม ปี 1968  การสัมมนาเป็นเวลา 16 วันนี้ ใช้เวลา 4 เดือน จัดให้แก่ทีมงานการตลาด โดยการนำเสนอเนื้อหาของการสัมมนาต่างๆ ที่ JUSE ได้จัดขึ้นในช่วงนั้น เพื่อสอนเทคนิคที่เป็นวิทยาศาสตร์ และ วิธีคิดแก่พวกเขา  ต่อมา วิทยากรของหลักสูตร ได้รับคัดเลือกมาจาก กลุ่มผู้สอนทั้งหลาย เพื่อที่จะสอนในสัมมนาที่มีอยู่ ซึ่งรวมถึง การควบคุมคุณภาพ  การวิจัยตลาด  operation research และ  design of experiments และหลักสูตรอื่นที่ได้รับการจัดขึ้นเป็นการพิเศษ  ในเวลานั้น  ข้าพเจ้าเป็นวิทยากร ในการสัมมนาการวิจัยตลาด และมีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดสัมมนา ETC  เป็นผู้รับผิดชอบในการบรรยายในการวิจัยตลาด 

ในเดือนกันยายนปีนั้น ประธานคณะกรรมการจัดสัมมนา ศาสตราจารย์อิชิกาวา ได้แต่งตำรา Quality Month Text No. 34, Quality Control in Distribution Systems, ซึ่งท่านได้อธิบายการนำเอา QC  มาใช้สำหรับการขาย  พร้อมกับ คำคมที่เกี่ยวกับ QC จำนวนหนึ่ง ที่เกี่ยวข้องกับการขาย  นอกจากนี้ ในฉบับ เดือนตุลาคม ปี 1971  ของ  Hinshitsu Kanri (Statistical Quality Control)  มี บทความพิเศษ ที่นำเสนอเรื่องที่เน้น  “ระบบการกระจายสินค้าและการควบคุมคุณภาพ”  เป็น หัวข้อสำคัญ  ซึ่ง ท่าน ได้สนับสนุนอย่างจริงจัง ในการนำเอาการควบคุมคุณภาพเข้ามาสู่การตลาด  การขาย และการกระจายสินค้า

ในเวลานั้น ข้าพเจ้าเอง เป็น คนที่ ต่อต้าน QC  ( “วิทยานิพนธ์ anti-QC” ของข้าพเจ้า ได้รับการตีพิมพ์ใน Quality Month Text No. 48,  Quality Control in the Marketing Department ซึ่งได้พิมพ์ในเดือนกันยายน ปี 1970)  และได้คัดค้าน เพื่อ การปฏิบัติที่ถูกต้องสำหรับการตลาด  แต่เมื่อคิดย้อนกลับไป  ข้าพเจ้าอายที่จะระลึกถึงมุมมองที่แคบต่อแนวคิดของคุณภาพ  แต่ศาสตราจารย์อิชิกาวา ก็ยังรับข้าพเจ้าด้วยจิตใจที่สูงส่ง และ ยังให้คำแนะนำข้าพเจ้าด้วยความอดทน

งานที่ข้าพเจ้าได้ทำในปัจจุบันนี้ เริ่มต้นมาจาก “การควบคุมคุณภาพใน ฝ่ายการตลาด” แล้วขยายตัวออกไป  ข้าพเจ้าควรจะพูดว่า นี่เป็นผลลัพธ์ที่ข้าพเจ้าได้รับจากการสอนของศาสตราจารย์อิชิกาวา

ETC ต่อมาได้มีการปรับรูปแบบใหม่ เป็น QC Seminar for Marketing (EQC) และจนถึงปัจจุบัน (สัมมนา 25 ครั้ง) มีผู้เข้าร่วม 2,311 คน   ทุกคนต้องกล่าวว่า ความพยายามของศาสตราจารย์อิชิกาวา ได้บังเกิดผลสำเร็จอย่างงดงาม

(อาจารย์  School of Pharmacy, Showa University)

 


 

(4)  การสัมมนา QC สำหรับ การจัดซื้อ  (QC Seminar for Purchasing)

สัมมนานี้ ได้เริ่มต้นขึ้นในปี 1971 ในชื่อ JUSE Course for Purchasing (KTC) เป็นหลักสูตรน้อง ของ JUSE Course for Marketing (ETC)  ศาสตราจารย์อิชิกาวา  ได้รับหน้าที่เป็นประธานของคณะกรรมการจัดสัมมนา และ  ใน “คำเชิญเข้าร่วมสัมมนา” ในการสัมมนาครั้งแรก ได้อธิบายจุดประสงค์ดังนี้

“ปัจจุบัน ปัญหาร่วมอย่างหนึ่งสำหรับบริษัทผู้ผลิตส่วนใหญ่ คือ ประเด็นปัญหาการสร้างความแข็งแกร่งให้กับสมรรถนะของฝ่ายจัดซื้อ  ข้อเท็จจริงก็คือ ทั่วทั้งญี่ปุ่น ในค่าเฉลี่ย 70% ของต้นทุนการผลิตของผลิตภัณฑ์ที่ได้คำนวณมานั้น มาจากรายการที่จัดซื้อจากบริษัทอื่น  ดังนั้น ฝ่ายจัดซื้อจึง มีบทบาทในตำแหน่งที่สำคัญอย่างสูงสุด ทั้งในด้านคุณภาพและต้นทุน   มาจนบัดนี้ ฝ่ายที่รับผิดชอบนั้น กลับได้รับความสำคัญที่ต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับฝ่ายเทคโนโลยี และผลิต   อย่างไรก็ตามการรับรู้ถึงบทบาทที่มีอยู่ และความสำคัญนั้น ได้เพิ่มสูงขึ้น ตามการบริหารองค์การโดยรวม ได้มีการพัฒนาปรับปรุงขึ้น  สิ่งที่โดดเด่นที่สุด นั้น   การพัฒนาปรับปรุงคุณภาพ  การลดต้นทุนในระหว่างผู้ผลิต  การรวมศูนย์กลไกการบริหาร  นวัตกรรมในเรื่องวัตถุดิบ และนโยบายราคา ได้ถูกนำมาใช้ ภายใต้ มุมมองประเด็นใหม่ที่จะมองข้ามไม่ได้ 

จากมุมมองนี้ QC, OR, IE, design of experiments คอมพิวเตอร์ และ เทคนิคหรือเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์อื่นๆ ซึ่ง JUSE ได้พัฒนาขึ้น และเผยแพร่ มาตลอด 20 ปี หรือมากกว่านั้น เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิผล ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการบริหาร ที่จะนำมาใช้โดยฝ่ายจัดซื้อ  ต่อจากนั้น เราได้วางแผน JUSE Course for Purchasing (KTC)  เพื่อที่จะสนับสนุนมุมมองทางวิทยาศาสตร์ โดยการใช้ เทคนิคเหล่านี้ เพื่อการนำเสนอ “ภาษา” ที่ใช้ร่วมกัน ระหว่างฝ่ายเทคโนโลยี และฝ่ายจัดซื้อ...”

หลังจากนั้น 4 ปี  ในปี 1975  หลักสูตรได้มีการปรับใหม่ โดยใช้ชื่อว่า QC Seminar for Purchasing เพื่อ ทำให้เกิดความโดดเด่นใน บทบาทที่สำคัญของการสัมมนา ใน กิจกรรมการควบคุมคุณภาพทั่วทั้งองค์กร  ข้าพเจ้าประทับใจอีกครั้ง กับวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลของ ศาสตราจารย์อิชิกาวา  ซึ่ง ได้มีการนำเสนออย่างจริงจัง ในจังหวะของการเปลี่ยนชื่อนี้    ต่อมาการปรากฏขึ้นของ TQC บูม  ฝ่ายจัดซื้อเพิ่มความสำคัญขึ้นอย่างสูง และในปัจจุบัน วัตถุดิบก็ยังเป็นการสั่งซื้อจากต่างประเทส ความคาดหวังในเรื่องหลักสูตรนี้ ก็เติบโตขึ้นอย่างมาก  ภายใต้การนำของศาสตราจารย์อิชิกาวา การสัมมนานี้ ได้มีการเปลี่ยนรูปแบบหลายครั้ง เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการในเวลานั้นๆ  และในปัจจุบันนี้ ยังคงจัดอยู่ เป็นหลักสูตรที่ดำเนินไปพร้อมกัน ของการสอนความรู้และทักษะการปฏิบัติ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ปฏิบัติการจัดซื้อ ต้องการที่จะเรียนรู้

นอกจากหลักสูตรนี้แล้ว ศาสตราจารย์อิชิกาวา ยังได้ช่วยเหลือ ในฐานะผู้สอนหลักสำหรับหลักสูตรต่างๆ รวมถึง QC Seminar for Executives,  QC Seminar for Senior Management,  และ QC Seminar for Managers  และสิ่งหนึ่งที่เรามักจะนำเสนอเสมอในการบรรยายของท่านในหลักสูตรเหล่านี้ ก็คือ “Ten QC Principles for Vendee-Vender Relation ( 10 หลักการ QC สำหรับความสัมพันธ์ของผู้ซื้อและผู้ขาย)”   ซึ่ง ท่านได้นำเสนอพร้อมกัน ใน panel discussion ใน การประชุมวิชาการ QC ในปี 1960  และ จากนั้น ได้ มีการตัดสินใจใหม่ และปรับใหม่เมื่อ  Quality Control Symposium ครั้งที่ 4 ในปี 1966    ในการบรรยายทั้งหลายครั้งนี้ ท่านได้พูดอย่างให้กำลังใจเกี่ยวกับ 10 หลักการ สำหรับความสัมพันธ์ ให้กับความสำคัญของฝ่ายจัดซื้อ ในกิจกรรม TQC  เนื้อหาของการบรรยาย ดูเหมือนจะบอกว่า ท่านมีความชัดเจนมาก ในการที่จะสร้างความโดดเด่นความสำคัญของสาขานี้ ซึ่งแม้แต่บัดนี้ ก็ยังได้รับการมองว่า มีบทบาทที่ด้อยกว่า   ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น  จึงได้ “เชื้อเชิญเข้าสู่การมีส่วนร่วม”

แต่ละครั้ง ในช่วงเริ่มต้นของสัมมนา เป็นประเพณีที่ศาสตราจารย์อิชิกาวา ในฐานะประธานคณะกรรมการจัดสัมมนา ที่จะต้องบรรยาย ในหัวข้อ การจัดซื้อ กับ TQC   เมื่อข้าพเจ้าได้ขอร้องให้ท่านบรรยาย ในการสัมมนาครั้งที่ 18 ซึ่งจัดขึ้นในเดือนสิงหาคม ปี 1988 ท่านเป็นหวัดเล็กน้อย และ มีเสียงที่แหบ  ดังนั้นในฐานะกองเลขานุการ  ข้าพเจ้าได้กล่าวว่า “ทำไมเราไม่เลื่อนบรรยายของท่านไปวันอื่น?”  แต่ศาสตรจารย์กลับคำรามว่า “ฉันรู้จักตัวฉันดี!  ไม่จำเป็นต้องเป็นห่วง ฉันจะทำตามแผนที่วางไว้!”   ในวันที่ทำการบรรยาย เราดูแลสุขภาพของท่านเป็นอย่างดี และฟังศาสตราจารย์อิชิกาวา อย่างตั้งใจ ผ่านมอนิเตอร์  ถึงแม้ว่า เสียงของท่านจะอ่อนเล็กน้อย มีร่องรอยเสียงแหบอยู่ แต่ดูเหมือนจะชัดกว่าเมื่อเราได้ยินท่านครั้งก่อน   ท่านดูเหมือนจะเหนื่อยเล็กน้อยหลังบรรยาย แต่ข้าพเจ้าไม่เคยลืมภาพที่ท่านสนุกกับบุหรี่ เหมือนท่านกำลังบอกว่า “ฉันบอกเธอแล้วว่าใช่ไหม ไม่มีอะไรต้องเป็นห่วง?”   การบรรยายของท่านในการสัมมนาระหว่างประเทศ เกี่ยวกับ TQC ในเดือนต่อมา เป็นที่น่าเสียใจอย่างยิ่งว่า นี่เป็นการบรรยายครั้งสุดท้ายของท่านใน JUSE seminar (อ่าน การทำคุณประโยชน์ของท่าน โดย Mr. Koji Morooka ใน Section 10.3)

(Katsuhiko  Okada, Deputy General Manager, First Operations Division,  Union Of Japanese Scientists and Engineers)

 


 

(5) หลักสูตรเบื้องต้น สำหรับ Design of Experiments  (Introductory Course for Design of Experiments)

หลักสูตรเบื้องต้นสำหรับ Design of Experiments (หลักสูตร 6 วัน) ได้เริ่มขึ้นในโตเกียว ในเดือน เมษายน ปี 1961 โดย ศาสตราจารย์อิชิกาวา พร้อมกับกลุ่มเพื่อนนักวิชาการได้แก่ Hiroshi Matsumoto,  Shizuo Ito และ  Hiroaki Nakazato

ในช่วงหลายปี ก่อนที่หลักสูตรที่ 2 จะได้เปิดขึ้น  ได้มีการปรับปรุงหลักสูตร และแต่งตำราที่จะใช้ในหลักสูตร พร้อมกับ จัดกำหนดการขึ้นใหม่ เป็น หลักสูตร 8 วัน แบ่งออกเป็น 2 ภาค  ภาคละ 4 วัน  ตำราที่ใช้นั้นพิมพ์ในชื่อ  The Elementary Design  of Experiment Textbook (JUSE Press, พิมพ์ครั้งแรก ในปี 1963   และพิมพ์ จำนวน 88,500 เล่ม ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 1992)

ผู้แต่งของตำราเล่มนี้ (นักวิชาการ 4 ท่านที่ได้เอ่ยนามข้างต้น) ได้แสดงให้เห็น ทีมเวอร์คที่สมบูรณ์ ในการนำเสนอการบรรยาย ตั้งแต่ครั้งที่ 2 ถึง ครั้งที่ 8  หลักสูตรได้มีกำหนดการแน่นอน เพื่อยืนยันว่า ผู้เข้าร่วมจะได้รับความเข้าใจที่ลึกขึ้น  มีการทำสร้างแบบฝึกหัดที่เหมาะสม ตามความก้าวหน้าของการบรรยาย  ซึ่ง มีบางอย่างที่ เป็นคุณลักษณะที่โดดเด่นของ การสัมมนาของ JUSE ในปัจจุบัน   นอกจากนี้นี่ก็คือ ไอเดียของศาสตราจารย์อิชิกาวา  ท่านได้ส่งเสริมอย่างจริงจัง ให้วิทยากรที่มีอายุน้อย จาก หลักสูตรพื้นฐาน ให้ทำการสอน ระหว่าง การปฏิบัติดังกล่าว  ซึ่งจะช่วยให้เสริมสร้างทักษะของเขาทั้งหลาย ในการสอนเชิงปฏิบัติ   วิทยากรใหม่ๆ จะร่วมเป็นทีม จากหลักสูตรครั้งที่ 9  และ เนื้อหาของหลักสูตรก็ได้มีการปรับปรุง เพื่อสะท้อนถึงความต้องการในแต่ละช่วงเวลา   ในปัจจุบัน หลักสูตรนี้ยังคงอยู่ เป็นหลักสูตรเบื้องต้น ที่ได้รับความนิยม ในการฝึกอบรม นักวิจัย และ วิศวกร ซึ่ง เรียนรู้ experimental design เป็นครั้งแรก

(Takamichi  Endo, Manager, Second Operations Division,  Union of Japanese Scientists and Engineers)

 


 

9.2 บรรยายทุกหลักสูตร QC จัดโดย Chemical Society of Japan (Lecturing All the QC Courses Organized by the Chemical Society of Japan)

ในบทที่เกี่ยวกับการประชุมโต๊ะกลม (Section 3.3)  คุณ Koichi Ohba คุณ Tatsuo Ikezawa และคุณ Yoji Akao ได้ช่วยกันอธิบายถึง ผลกระทบมหาศาลของ หลักสูตร ที่จัดขึ้นโดย Chemical Society of Japan (CSJ)   แต่โชคดีที่ว่า บทความที่เกี่ยวกับหลักสูตรเหล่านี้ ได้รับการตีพิมพ์ ใน Kagaku to Kogyo (Chemistry and Chemical Industry)  ซึ่งเป็นวารสารวิชาการของ CSJ ในขณะนั้น ดังนั้น สรุปบทความต่างๆ ได้เป็นเอกสารสำหรับประชุมวิชาการ ในช่วงท้ายของ chapter นี้ และ  ในวรรคต่อๆ ไปจะนำเสนอ ภาพกว้างของหลักสูตรดังกล่าว

หลักสูตรแรก เป็นหลักสูตร 3 วัน จัดขึ้นในปี  1950 ซึ่ง เป็นการจัดร่วมโดย CSJ สาขา Kansai และ National Museum of Nature and Science  มีผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 345 คน  มันดูเหมือนจะเป็น “ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่”  ดังนั้นในปีต่อมา ช่วงเวลาของหลักสูตร จึงเพิ่มขึ้นเป็น 6 วัน และ เป็นหลักสูตรที่ร่วมจัดโดย  CSJ สาขา Kansai และ  Union of Japanese Scientists and Engineers (JUSE)  มีผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 750 คน  และวารสารวิชาการได้อธิบายว่า นี่เป็น “ตัวอย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อนของความสำเร็จที่ท่วมท้น ถึงกับมีการขยายที่นั่งด้วยเก้าอี้พับ แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะรองรับความต้องการของผู้ที่อยากเข้ามาร่วม”    คำกล่าวขวัญของความสำเร็จนี้ ได้แพร่ขยายไปในพื้นทีเขต  Kansai (ภาคตะวันตกของญี่ปุ่น)  และในปี 1952 CSJ สาขา Kinki  และ JUSE ได้ร่วมกันจัดหลักสูตรชื่อ วิธีการทางสถิต และ การควบคุมคุณภาพ (Statistical Methods and Quality Control)  หลังจากนั้น บทความของหลักสูตร ที่จัดที่โตเกียว (ร่วมจัดโดย สาขา Kanto (ภาคตะวันออก) และ JUSE  จัดโดยสาขา Kanto  จัดโดย JUSE  จัดโดย Association of Chemistry-Related Academic Societies  หรือจัดโดย สำนักงานใหญ่ CSJ และ JUSE)  นั้น ได้จัดจนถึงปี 1958    ในขณะ ที่ บทความของหลักสูตร ในพื้นที่เขต Kinki มีการนำเสนอทุกๆ ปี จนถึงปี 1954   ชื่อของหลักสูตรนั้น ได้เปลี่ยนไปทุกๆ ปี ซึ่งมีชื่อทั้ง  “The Course on Statistical Methods and Design of Experiments (หลักสูตร วิธีการทางสถิติ และ Design of Experiments)  “The course on Experimental Design (หลักสูตร Experimental Design)”  ‘ The course on Quality Control and Design of Experiments (หลักสูตร การควบคุมคุณภาพ และ Design of Experiments)”  เป็นต้น   ผู้บรรยายหลักคือ ศาสตราจารย์ Shigeru Mizuno  ศาสตราจารย์ Tetsuichi Asaka  ศาสตราจารย์ คะโอรุ อิชิกาวา และ ศาสตราจารย์  Segeiti  Moriguti    ในจำนวนนั้น ศาสตราจารย์อิจิกาวา ได้บรรยาย ทุกๆ หลักสูตร  ประมาณ ปี 1955 จำนวนผู้เข้าร่วม อย่างน้อยที่สุด 300 คน  หลายๆ ครั้ง 400 คน หรือ 500 คน

จากคำบอกเล่าของท่าน  ศาสตราจารย์ Ikuro Kusuba ได้เป็นวิทยากร ที่หลักสูตรสาขา Kinki จากคำเชิญของ ศาสตราจารย์อิชิกาวา ซึ่ง ได้ร่วมบรรยายกับศาสตราจารย์ Shigeru Mizino (ซึ่งมีความเชี่ยวชาญทางเคมี)  ไม่ต้องสงสัยเลยว่า หลักสูตรนี้วางแผนและจัดขึ้นได้ ไม่ยากนัก    และเป็นที่ทราบดีว่า ศาสตราจารย์  Yoshitaka Ogiwara ได้เป็นกำลังสำคัญทุ่มเทให้กับหลักสูตรที่ จังหวัด Gunma  อาจจะกล่าวได้ว่า ความสำเร็จอย่างต่อเนื่องของหลักสูตรดังกล่าว ที่โตเกียวและโอซากา ได้ทำให้เกิดการจัดหลักสูตร เดียวกัน ในทุกๆ ที่

 


 

“อย่าตกรถเมล์”  “Don’t Miss the Bus!”

Yoshitaka Ogiwara

ครั้งแรกที่ข้าพเจ้าได้พบศาสตราจารย์คะโอรุ อิชิกาวา คือการประชุมภูมิภาคของ Chemical Society of Japan ซึ่งจัดขึ้นที่ Kiryu ราวๆ ปี 1950   ในช่วงนั้น สิ่งที่ข้าพเจ้ารู้จักเกี่ยวกับท่านนั้นก็คือ ความชำนาญของท่านนั้นเหมือนกับข้าพเจ้า คือ เคมี  ในปี 1953 ผู้บังคับบัญชาของข้าพเจ้าที่ Gunma University  ศาสตราจารย์ Isao Shimoda ซึ่งมีทัศนะว่า วิศวกรของอนาคตนั้น จะต้องเรียนรู้ทางสถิติ เพื่อ วิจัยข้อเท็จริงของ ความก้าวหน้าที่รวดเร็ว ที่เกิดขึ้นในเทคโนโลยีอุตสาหกรรมของสหรัฐอเมริกา   จึงได้ตัดสินใจเชิญศาสตราจารย์อิชิกาวา (ในขณะนั้นเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ของ University of Tokyo และเป็นผู้ที่มีผลงานโดดเด่นในสาขาของท่านอยู่แล้ว)  มาทำการบรรยายที่ Kiryu  เพื่อนสนิทของ ศาสตราจารย์ Shimoda คือ ผู้บังคับบัญชาโดยตรงของ ศาสตราจารย์อิชิกาวา  ดังนั้น เราจึงดำเนินการได้อย่างน่าอัศจรรย์ในการจัดหลักสูตร Kiryu Quality Control Class โดยมีศาสตราจารย์อิชิกาว เป็นวิทยากร

หลักสูตรเหล่านี้ ดำเนินมาต่อเนื่อง หลายปี   จำนวนสานุศิษย์ของ QC ที่ Kiryu นี้ มากกว่า 100 คน  ศาสตาจารย์ได้เริ่มต้นหลักสูตรด้วยเรื่อง design of experiments ในปี 1963 และศิษย์เก่าหลายๆ คนซึ่งได้เข้าศึกษาในหลักสูตรนี้ ก็มีบทบาทที่สำคัญในอุตสาหกรรมในปัจจุบัน

มิอาจจะลืมกล่าวว่า ทุกๆ คนที่เข้าร่วมในการเรียนหลักสูตรของท่าน นั้น มีความตรึงใจอย่างถึงที่สุด จาก การบรรยายที่มีพลังของศาสตราจารย์ และ เนื้อหาที่ใหม่สด และน่าตื่นเต้นของท่าน  “ถ้าคุณไม่ศึกษาการควบคุมคุณภาพเดี๋ยวนี้ คุณจะตกรถเมล์!” คำกล่าวของศาสตราจารย์ ยังคงดังก้องอยู่ในหูของทุกๆ คน ข้าพเจ้ามั่นใจว่า ทิศทางที่ข้าพเจ้าได้เดินมาจนถึงปัจจุบันนี้ ล้วนเป็นการแนะนำจาก คำพูดของท่านล้วนๆ

ศิษย์เก่าที่เข้าเรียนในหลักสูตรของท่าน ซึ่งปัจจุบันได้ถึงจุดวัยที่เกษียณจากบริษัท  กล่าวเสมอๆ ว่า “ผมจำไม่ได้ทั้งหมดในสิ่งที่ท่านสอน  แต่ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา ผมมีความภูมิใจที่ได้มีโอกาสเรียน กับศาสตราจารย์ผู้มีชื่อเสียงอย่างยิ่ง”

ข้าพเจ้าได้มีโอกาสพบครั้งสำคัญกับท่านอีกครั้งหนึ่ง ในปี 1972  ข้าพเจ้าวิ่งไปพบศาสตราจารย์ที่ห้องโถงของ JUSE  “คุณเคยได้ยิน QC Circle มั้ย   มันไม่ใช่เรื่องที่ดีที่เพียงนั่งอยู่ที่ต่างจังหวัด  ด้วยจมูกที่ติดอยู่กับหนังสือ!  นี่เป็นโอกาสสุดท้ายของคุณที่จะขึ้นรถเมล์!” และนี่คือสิ่งที่ข้าพเจ้าได้ยินเกี่ยวกับ QC Circle เป็นครั้งแรก  ซึ่งท่านพยายามส่งเสริม เร่งเร้าให้ข้าพเจ้าเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรม QC Circle

จากนั้น ข้าพเจ้า มีความรู้สึกว่า แนวคิดโดยรวมของข้าพเจ้าเกี่ยวกับการผลิต ซึ่งประเด็นส่วนใหญ่ถูกผูกมัดกับทฤษฎี รอบๆ หอคอยงาช้างของข้าพเจ้า ได้เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง  ข้าพเจ้าได้ค้นพบว่า การควบคุมคุณภาพไม่ได้เป็นเพียงบางอย่างที่บรรลุได้เพียงแค่ทฤษฎีที่แม่นำเท่านั้น  แต่ความสมบูรณ์ของจิตวิญญาณ นั้น เป็นแก่นสารที่สำคัญ  สิ่งนี้ เป็นสัจจธรรมที่สู่ตัวข้าพเจ้า ที่ทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกว่า คราบต่างๆ ที่ครอบตาอยู่นั้น ได้หล่นไปจนหมดสิ้น

มันดูเหมือนว่า ศาสตราจารย์พยายามที่จะอธิบายสิ่งที่สำคัญที่สุดให้แก่ข้าพเจ้าด้วยคำพูดที่ง่ายที่สุด  ข้าพเจ้าเชื่อว่า ความเชื่อที่เข้าใจง่ายที่สุด และมีพลังที่สุด ที่ว่า “ถ้าคุณก้าวต่อไปด้วยความก้าวหน้า พร้อมกับ การพัฒนาปรับปรุง โดยใช้เทคนิคทางสถิติ  คุณภาพจะพัฒนาปรับปรุงขึ้นโดยปราศจากความล้มเหลว และ บริษัทจะเจริญรุ่งเรือง”  และ  “ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับทฤษฎี มันจะไม่มีประโยชน์เลยถ้าคุณไม่นำมันไปสู่การปฏิบัติ!”   นำมาสู่ผลลัพธ์ที่งดงาม  สร้างสรรค์  “Worldwide QC”(QC ทั่วโลก)ที่วิเศษ ซึ่งเราได้เห็นในปัจจุบัน

ข้าพเจ้ามีความภูมิใจอย่างที่สุดในข้อเท็จจริงที่ว่า ข้าพเจ้าโชคดีมากที่ได้มีโอกาสพบศาสตราจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ และข้าพเจ้ารู้สึกอย่างชัดเจนว่า น้ำหนักของ ความรับผิดชอบที่ข้าพเจ้าสามารถทำได้ นั้น เป็นเพียงสิ่งเล็กน้อย เมื่อเทียบกับ วิสัยทัศน์ที่มีค่ามหาศาลของท่านสำหรับคนรุ่นต่อๆ ไป

(ศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์   Gunma  University)

 


 

ข้อมูลอ้างอิง- รายละเอียดข้างล่างนี้ เป็นหลักสูตรที่จัดโดย Chemical Society of Japan(CSJ) เกี่ยวกับ วิธีการทางสถิติ   Design of Experiments และ การควบคุมคุณภาพ

“A Simple Course on Statistical Methods and Design of Experiments”

จัดโดย  CSJ สาขา Kanto/ National Museum of Nature and Science

วันที่  7-9 ธันวาคม 1950 (3วัน)

สถานที่ หอประชุม National Museum of Nature and Science

หัวข้อ และ วิทยากร

จำนวนผู้เข้าร่วม  345 คน


ที่มา-  บทความปี 1951 หน้า 121  Vol. 4, No. 3  “Kagaku to Kogyo” (Chemistry and Industry), the Journal of the Chemical Society of Japan


“Second Course on Statistical Methods and Design of Experiments”

ผู้จัดร่วม  CSJ สาขา Kanto/JUSE

วันที่  3-8 ธันวาคม 1951 (6วัน)

สถานที่  หอประชุมใหญ่  อาคาร 2 คณะวิทยาศาสตร์  University of Tokyo

หัวข้อและวิทยากร  หลักสูตรนี้ แบ่งออกเป็น ขั้นต้น และขั้นกลาง

หลักสูตรขั้นต้น

Basic Distribution in Mathematical Statistics (พื้นฐานของสถิติคณิศาสตร์)
    Tetsuichi  Asaka,  คณะวิศวกรรมศาสตร์  University of Tokyo

Statistical Thinking  (วิธีคิดเชิงสถิติ)
    Shigeru Mizuno, Tokyo Institute of Technology
 


ส.ส.ท. ได้รับอนุญาตจาก JUSE ในการแปลและเผยแพร่บทความเรื่อง  “Kaoru Ishikawa, The Man and Quality Control”



บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที