ทีมงาน

ผู้เขียน : ทีมงาน

อัพเดท: 22 ธ.ค. 2015 03.58 น. บทความนี้มีผู้ชม: 63663 ครั้ง

Union of Japanese Scientists and Engineers (JUSE) ได้ทำการรวบรวมชีวประวัติของท่าน ศาสตราจารย์ ดร.คาโอรุ อิชิกาว่า เป็นบทความภาษาญี่ปุ่นและภาษาอังกฤษ ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดเอกสารได้ฟรีทาง http://www.juse.or.jp และทางสมาคมฯ ได้คัดบทความบางส่วนมาแปลเป็นภาษาไทยและเผยแพร่ใน Website ของสมาคมฯ ซึ่งท่านสามารถติดตามอ่านและดาวน์โหลดเอกสารฟรีได้ที่ http://www.tpa.or.th


บทที่ 15 : งานวิจัยของ ดร.อิชิกาวา (The Research of Dr. Ishikawa) - 15.4 แนวคิดการบริหาร (Management Concept)

 

(1) การควบคุมกระบวนการด้วย control chart:  การสร้างคุณภาพภายในกระบวนการ (Process control with control chart: Build quality into the process)

เราสามารถกล่าวได้ว่า control chart ได้รับการยอมรับอย่างมาก ในช่วงที่ มีการนำเอา QC เข้ามาใช้ เพราะโปรแกรม 8 วัน ที่บรรยายโดย Dr.Deming  ซึ่งมาญี่ปุ่นในปี 1950  จากรายงานการบรรยาย (Lectures on Statistical Control of Quality,  JUSE, 1950)   7 ใน 8 วัน เป็นเรื่องเกี่ยวกับ control chart ในขณะที่อีก 1 วัน ใช้ในเรื่อง  sampling inspection   ดร.อิชิกาวา ได้เป็นหนึ่งในบรรณาธิการ และ ผู้วิจารณ์ในการจัดพิมพ์รายงานการบรรยาย  ท่านต้องได้รับอิทธิพลที่ใหญ่หลวงจาก Dr.Deming

Mr. H.F.Dodge เป็นเพื่อนของ Dr. Deming    รายงานการบรรยาย ได้แนะนำคำกล่าวของเขาดังนี้  “คุณภาพของผลิตภัณฑ์นั้น ไม่สามารถสร้างขึ้นโดยการตรวจสอบเท่านั้น”  “คุณภาพ เป็นบางอย่างที่จะต้องสร้างสรรค์ขึ้นมา”  คำกล่าวนี้ได้เน้นประเด็นดังต่อไปนี้

“การควบคุมทางสถิติ ไม่ใช่เป็นการยกเอาสิ่งที่ไม่ดีออกไป โดยการตรวจสอบ”

“การควบคุมทางสถิติ หมายถึง การสร้างคุณภาพภายในกระบวนการ  โดยบรรลุ ระดับที่สูงสุดของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในกระบวนการผลิต”

ดร.อิชิกาวากล่าวเสมอว่า  “สร้างคุณภาพในกระบวนการ”   สิ่งนี้น่าจะมีอิทธิพล จากไอเดียของ Dr. Deming ดังได้กล่าวข้างต้น

คำพูดที่มีชื่อเสียงอีกหนึ่งคำพูดคือ  “การควบคุมคุณภาพ เริ่มต้นด้วย control chart และจบลงด้วย control chart”  ในรายการของหนังสือของท่าน จะมีผลงานของท่าน 2 เรื่อง เกี่ยวกับ control chart

  1. Control Charts in Factory Management (Control Charts ในการบริหารโรงงาน ฉบับแปล)  (1953, [B21])
  2. The Control chart Method (วิธีการ Control Chart –เขียน และบรรณาธิการ)  (1955, [B23];  (ฉบับปรับปรุง) (1962,  [B23])

นอกจากนี้  control chart ได้รับการอธิบายหลายๆ ครั้งในผลงานดังต่อไปนี้

ดร.อิชิกาวา เป็นหัวหน้าทีม Control Chart Research Group  ของ  การสัมมนาการควบคุมคุณภาพของ JUSE (หลักสูตรพื้นฐาน)   ดังนั้น เราสามารถเห็นได้ว่า ท่านได้อุทิศพลังงานของท่านอย่างไรต่อ  control chart


 

(2) ผังเหตุและผล /ผังก้างปลา   ผังกระดูกก๊อดซิลลา  อิชิกาวา ไดอะแกรม (Cause and Effect Diagram/ Fishbone Chart,  Godzilla Bone Chart, Ishikawa Diagram )

ดร.อิชิกาวาได้เขียน 3 ผลงาน เกี่ยวกับการเกิดขึ้นมาของ ผังเหตุและผล (cause and effect diagram)    (1965, [421]; 1968, [197];  1969, [424])   ลองดูที่ผลงานของท่านเพื่อค้นหาว่า มันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร และ ชื่อเรียกนั้น มาจากที่ไหน

“ประการแรก เราต้องการแยกแยะระหว่าง จุดมุ่งหมาย (goal) หรือ เป้าหมาย (target)  (  ที่เป็น ผลลัพธ์  Effect)  กับ สาเหตุ (cause)   ดังนั้น ข้าพเจ้าจึง มีไอเดียในการทำให้เห็นจริง ใน diagram ถึง ความสัมพันธ์ระหว่าง จุดมุ่งหมาย หรือ เป้าหมาย ซึ่งเป็นผลลัพธ์  และ เหตุผล กระบวนการ  ข้าพเจ้าได้ตั้งชื่อว่า cause and effect diagram  ซึ่งเป็นช่วงประมาณ ปี 1950 หรือ 1951  ในช่วงเริ่มต้น ข้าพเจ้าเพียงแต่ใช้ในห้องเรียนเท่านั้น  หลังจากนั้น ในปี 1952 เมื่อข้าพเจ้าแนะนำ เรื่องนี้ ที่ Fukiai Plant  ของ Kawasaki Steel Corporation (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น JFE Steel Corporation)  ข้าพเจ้าพบว่า มันเป็น diagram ที่เป็นประโยชน์มาก เช่นการเป็น เครื่องมือ สำหรับ การสร้างมาตรฐาน  ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงได้เริ่มแนะนำอย่างจริง”  (1968, [197])

“หลังจากนั้น 1 หรือ 2 ปี เมื่อข้าพเจ้าไปเยี่ยม โรงงานของ Nippon Soda ที่ Aizu-Wakamatsu  จังหวัด Fukushima  คนที่โรงงานเรียก diagram นี้ว่า  “ก้างปลา”  ข้าพเจ้าคิดว่า มันดีมาก และเป็นชื่อที่ง่ายที่จะเข้าใจ  อย่างไรก็ตาม เมื่อข้าพเจ้ามองไปที่ diagram ที่พวกเข้าทำ  มันมีรูปร่างเป็นก้างของตัวปลา  แต่ มันมีแต่เพียงก้างใหญ่เท่านั้น  จึงไม่ค่อยดี  ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงอธิบายว่า ผังก้างปลาจะต้องประกอบด้วยก้างขนาดกลางและก้างขนาดเล็ก พร้อมกับ ก้างขนาดใหญ่  ข้าพเจ้าใช้ตัวอย่างคำว่า ก๊อดซิลล่า ซึ่งมีความนิยมอย่างมากในขณะนั้น และแนะให้เขียนว่า diagram กระดูก “ก๊อดซิลล่า”  เพราะว่า สัตว์ประหลาดขนาดยักษ์นี้มีกระดูกจำนวนมาก รวมทั้งกระดูกเล็กๆ ด้วย  อย่างไรก็ตาม ข้าพเจ้าก็ยังคงใช้ชื่อว่า “ก้างปลา”  เพราะ มันดูง่ายที่จะเข้าใจ สำหรับคนที่ทำงานในโรงงาน”  (1968, [197])

“เมื่อ  Dr. Juran เดินทางมาญีปุ่นเป็นครั้งที่ 2 ในปี 1960  เขาได้ให้ความสนใจอย่างมากในคำอธิบายของข้าพเจ้าเกี่ยวกับ cause and effect diagram  ที่เขาได้ใส่ไว้ใน คุ่มือการควบคุมคุณภาพ ในชื่อว่า  “ผังเหตุและผล “  “ผังก้างปลา”  และ “อิชิกาวา ไดอะแกรม” “   (1968, [197])


 

(3) ขั้นตอนการควบคุม (Control Step)

เมื่อพูดถึง “ควบคุม(Control) ”  ในปัจจุบันนี้ มันหมายถึง “การหมุนวง PDCA”  ขั้นแรกของมันก็คือ การรับรู้ของเราเกี่ยวกับ ทั้ง ความต้องการของการสร้างมาตรฐานในการควบคุม และ ขั้นตอนทั่วไปในการควบคุม  ท่านได้อธิบายประเด็นนี้ในหนังสือของท่าน คือ Introduction to Quality Control (1954, [B1] p. 10)  พิมพ์ในเดือนเมษายน ปี 1954 ดังต่อไปนี้

ในความหมายของ การควบคุมคุณภาพ  ขั้นตอนมีดังต่อไปนี้

  1. กำหนดมาตรฐานคุณภาพ
  2. กำหนดมาตรฐานทางเทคนิค และ มาตรฐานการทำงาน
  3. สอนและฝึกคนด้วยมาตรฐานการทำงาน
  4. ทำงาน
  5. ตรวจสอบงานว่า มีการตอบสนองต่อมาตรฐานหรือไม่
  6. ทำใหม่(re-work)อีกครั้ง ถ้าไม่ตอบสนองต่อมาตรฐาน
  7. ตรวจดสอบถ้าหากว่า การทำใหม่นั้นได้ทำอย่างถูกต้องหรือไม่

Dr.Juran ซึ่งมาญี่ป่นในเดือนกรกฎาคม ปี 1954  ได้ให้คำจำกัดความ คำว่าควบคุมว่า “เป็นระบบของทุกๆ ขั้นตอน เพื่อ ไปให้ถึงมาฐานที่เราเตรียมไว้”

Dr.Juran ยังได้อธิบาย  “7 ขั้นตอนของการควบคุม” (Dr. Juran’s lecture report, JUSE, 1954)

  1. การเลือกของจุดควบคุม (Control point) =ค้นหาว่าอะไรที่จำเป้น
  2. หน่วยตรวจวัด
  3. เครื่องมือเชิงระบบ(Systematic means) สำหรับตรวจวัดผลลัพธ์จริง
  4. มาตรฐานของผลลัพธ์จริง
  5. การตีความความแตกต่างระหว่าง ผลลัพธ์จริง กับผลลัพธ์ตามมาตรฐาน
  6. ตัดสินใจว่าควรมี actionอะไรต่อไป
  7. Action เพื่อการดำเนินการสิ่งที่ตัดสินใจ

เมื่อเปรียบเทียบกับสิ่งที่ดร.อิชิกาวานำเสนอข้างต้น  จำนวนขั้นตอนนั้นมีเท่ากัน ในขณะที่เนื้อหานั้นต่างกัน   เราสามารถพูดได้ว่า ทั้ง สอง แนวคิด ได้สร้างขึ้นแล้ว เป็นเอกเทศ

ในขั้นตอนที่ 2   มันคือคำถามที่ว่าจะสรุปรวบรวม ขั้นตอนเหล่านี้ ไว้ใน วงจร PDCA ได้อย่างไร  เกี่ยวกับเรื่องนี้  “8 ส่วนของวงล้อ (8 sectors of the wheel)” ของ Dr.Deming และ หมายเหตุต่อไปในรายงานการบรรยายของ Dr.Juran  คือจุดเริ่มต้น

“ขั้นตอนพื้นฐานสำหรับการทำอะไรบางอย่าง มี 3 ขั้นตอนด้วยกัน ได้แก่ การวางแผน การปฏิบัติ  และการดู  ในความเป็นจริง สิ่งเหล่านี้สามารถปรับเปลี่ยนไปเป็น การวางแผน การปฏิบัติ และ การควบคุม   ขั้นตอนเหล่านี้ สร้าง ก้นหอยขึ้นข้างบน พัฒนาปรับปรุง หรือ ก้าวขึ้นไปสู่ขั้นตอนต่อไปด้วยการหมุนเกลียว มันเป็นจุดเริ่มต้น และ แนวคิดก็ได้รับการพัฒนา โดย Dr.Shigeru Mizuno ในช่วงท้ายทศวรรษ 1950 และ 1960   ซึ่งได้เรียบเรียงไว้ในรายงานประจำเดือน ในการสัมมนาพื้นบานการควบคุมคุณภาพ  จากนั้น รายงานการบรรยายประจำวัน ที่เขียนโดย Dr.Mizuno  สำหรับหลักสูตรพื้นฐานครั้งที่ 21 ในสิงหาคม 1961  ได้แสดง ขั้นตอนของ “plan, do, check, act”  ในสไตล์เดียวกัน ที่เราใช้อยู่ปัจจุบัน ในชื่อที่ว่า “วงจรการควบคุม (control circle)”

กฎพื้นฐานของการควบคุมคุณภาพ

ภาพ 15.2 กฎพื้นฐานของการควบคุมคุณภาพ (1961, [B5], p. 7)

 

ภาพ 15.2 ใน Hinshitsu Kanri (Statistical Quality Control) (1961, [B5]),  ได้แนะนำ ไอเดียของDr.Deming ในชื่อที่ว่า  “กฏพื้นฐานของการควบคุมคุณภาพ”  ภาพนี้ ยังได้รับการแนะนำในรูปของ หลักคิดของการควบคุม  หรือ the Deming’s cycle  ใน  “The Control Chart Method) (1962, [B23], p. 13)  ในอีกด้านหนึ่ง  ในบทความที่เขียนโดยดร.อิชิกาวา   7 ขั้นตอนที่ได้กล่าวถึงข้างต้น ได้รับการตีพิมพ์ เพื่อเชื่อมโยงถึง วงจร PDCA  พร้อมกับ มีความคิดเห็นต่อไปใน Introduction to Quality Control  (1964, [B1])

“สิ่งเหล่านี้ มีความเป็นจริงมากกว่า และเป็น QC –style มากกว่า การควบคุมเชิงวิทยาศาสตร์ ที่เรียกว่า plan, do และ see”  (1964, [B1], p. 30)

(Noriaki  Kano)


ส.ส.ท. ได้รับอนุญาตจาก JUSE ในการแปลและเผยแพร่บทความเรื่อง  “Kaoru Ishikawa, The Man and Quality Control”



บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที