GIT Information Center

ผู้เขียน : GIT Information Center

อัพเดท: 10 ก.พ. 2015 11.01 น. บทความนี้มีผู้ชม: 2329 ครั้ง

ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประัดับ สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดัีบ (องค์การมหาชน) ขอนำเสนอบทความเรื่อง "บุกตลาดเมียนมาร์ก่อนการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน" สนใจบทความอื่นๆ อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.git.or.th/Gem


บุกตลาดเมียนมาร์ก่อนการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

เมียนมาร์เป็นตลาดขนาดใหญ่ที่มีประชากรประมาณ 62 ล้านคน เป็นอีกหนึ่งประเทศที่นักลงทุนทั่วโลกต่างให้ความสนใจอยู่ในขณะนี้ โดยมีปัจจัยสนับสนุนได้แก่ 1) ปัจจัยด้านทรัพยากรทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ เหมาะสมกับการเป็นฐานการผลิตด้านอุตสาหกรรม 2) ปัจจัยด้านที่ตั้ง เมียนมาร์เป็นประเทศที่มีอาณาเขตติดต่อกับจีน อินเดีย บังคลาเทศ ลาว และไทย โดยเมียนมาร์นั้นมีความสัมพันธ์อันดีกับประเทศยักษ์ใหญ่อย่างจีนและอินเดีย ซึ่งเป็นสองประเทศที่มีพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกในอนาคต ทำให้สามารถเข้าถึงประชากรกว่า 2.6 พันล้านคน (ร้อยละ 40 ของจำนวนประชากรโลก) จึงเสริมให้มีความได้เปรียบในการติดต่อทำการค้า การส่งออกและนำเข้า รวมถึงการส่งสินค้าผ่านแดนไปยังประเทศต่างๆ 3) ปัจจัยด้านสภาพภูมิอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเกษตร ซึ่งหากได้รับการพัฒนาที่ดีจะสามารถให้ผลผลิตต่อพื้นที่ในปริมาณที่สูง 4) ปัจจัยด้านแรงงาน เมียนมาร์เป็นประเทศที่มีแรงงานจำนวนมาก ขยัน และมีอัตราค่าจ้างแรงงานอยู่ในระดับต่ำ เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมที่เน้นการใช้แรงงานเข้มข้น (Labor Intensive) และ 5) ปัจจัยด้านสังคม เมียนมาร์ให้ความสำคัญต่อการยกระดับจิตใจและศีลธรรมของประชาชน รวมถึงการมีบทลงโทษการกระทำผิดกฎหมายที่รุนแรง ส่งผลให้อาชญากรรมเกิดขึ้นน้อย

ปัจจัยดังกล่าวข้างต้นบวกกับความพยายามที่จะปฏิรูปเศรษฐกิจ และเปิดประเทศของเมียนมาร์ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาประเทศและยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม ทำให้เมียนมาร์ค่อนข้างเปิดกว้างสำหรับนักลงทุนจากต่างประเทศ จะเห็นได้จากการผ่อนคลายกฎระเบียบต่างๆ รวมทั้ง การเร่งพัฒนาสาธารณูปโภคเพื่อรองรับการลงทุนขนาดใหญ่ การจัดตั้งตลาดหลักทรัพย์แห่งแรกของประเทศ การตอบรับความร่วมมือระหว่างประเทศต่างๆ ทำให้มีการหลั่งไหลเข้ามาของเงินทุนต่างชาติ โดยหน่วยงาน Directorate of Investment and Company Administration ได้คาดการณ์เกี่ยวกับการลงทุนจากต่างประเทศในเมียนมาร์ว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วยตัวเลข 4.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2557 คิดเป็นสองเท่าของปี 2556

นอกเหนือจากมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น แนวโน้วการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น อาทิ รายได้จากการท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง สืบเนื่องมาจากการได้รับรางวัล “World Tourist Destination Award 2014” จากสหภาพยุโรปเพื่อการท่องเที่ยวและการค้า และการปรับปรุงนโยบายด้านการอำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในเมียนมาร์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการมีรายได้จากการส่งออกสินค้าที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากอานิสงส์ที่นานาชาติยกเลิกการคว่ำบาตรเมียนมาร์ และสภาวะเศรษฐกิจที่เติบโตสูงเกินร้อยละ 7 ติดต่อกันเป็นเวลา 2 ปี ส่งผลให้ประชาชนในเมียนมาร์มีรายได้และกำลังซื้อเพิ่มขึ้นตามไปด้วย นับเป็นอีกหนึ่งตลาดที่น่าจับตามองในขณะนี้

ถือเป็นโอกาสอันดีของไทย ในฐานะที่เป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีพื้นที่ติดต่อกันทั้งทางน้ำและทางบก รวมถึงมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกันจากการติดต่อค้าขายกันมานาน จนทำให้ผู้ประกอบการไทยมีข้อได้เปรียบในการเข้าไปลงทุนและดำเนินธุรกิจในเมียนมาร์หลายประการ อาทิ

ในส่วนที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับนั้น ถึงแม้ว่าเมียนมาร์จะอุดมสมบูรณ์ไปด้วยวัตถุดิบอัญมณีในประเทศ แต่เนื่องจากกฎข้อบังคับของเมียนมาร์ที่ไม่อนุญาตให้ชาวต่างชาติลงทุนในธุรกิจเหมืองอัญมณี (Law of Gem and Jewelry 1995) จึงเป็นข้อจำกัดให้ผู้ประกอบการไทยไม่สามารถดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการสำรวจอัญมณีได้ แต่อย่างไรก็ตามในส่วนของการตั้งโรงงานเจียระไนพลอยสีและการผลิตเครื่องประดับนั้น ผู้ประกอบการต่างชาติรวมถึงชาวไทยสามารถทำได้โดยมีเงื่อนไขต้องร่วมทุนกับชาวเมียนมาร์ในการจัดตั้งธุรกิจ โดยประโยชน์เบื้องต้นที่ไทยจะได้รับจากการเข้าไปลงทุนตั้งโรงงานผลิตอัญมณีและเครื่องประดับในเมียนมาร์ประกอบด้วย

  1. ต้นทุนการผลิตที่ถูกลงเนื่องจากค่าแรงที่ต่างกัน จึงเหมาะสำหรับการผลิตสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับประเภทที่ไม่ต้องใช้ฝีมือแรงงานที่สูงมากนัก
  2. เมียนมาร์ยังคงได้รับสิทธิ GSP จากสหภาพยุโรป ซึ่งเมียนมาร์ถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่ได้รับสิทธิ “Everything but Arm Scheme” หรือ การยกเว้นภาษีนำเข้าสินค้าทั้งหมด ยกเว้นสินค้าด้านอาวุธ
  3. เมียนมาร์ได้รับสิทธิประโยชน์ทางการค้ากับประเทศญี่ปุ่นในฐานะที่อยู่ในกลุ่มประเทศพัฒนาน้อยที่สุด (LDCs) ซึ่งสำหรับอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับได้รับการยกเว้นภาษีและโควต้าการนำเข้า กล่าวคือไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าและไม่จำกัดจำนวน
  4. เมียนมาร์มีการจัดตั้งเขตปลอดอากร (Tax Free Zone) และศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ (One Stop Services) สำหรับอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ซึ่งกระบวนการทุกขั้นตอนตั้งแต่การนำวัตถุดิบอัญมณีมาผลิตเรื่อยไปจนถึงการผลิตออกมาเป็นสินค้าเครื่องประดับสำเร็จรูปส่งออกได้รับการยกเว้นภาษี 

นอกจากนี้ ยังมีสิทธิประโยชน์อื่นๆ ที่นักลงทุนต่างชาติได้รับจากรัฐบาลเมียนมาร์เพื่อดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ อาทิ

ข้อมูลอ้างอิง:      

1. http://aec.ditp.go.th/attachments/article/318/Burma%20Trade%20and%20Investment %20Handbook.pdf

2. http://www.bangkokbank.com/BangkokBankThai/Documents/Site%20Documents/AEC/MyanmarThaiBorderTrade.pdf

 

 

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที