1. ลดข้อผิดพลาดในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการหยิบสินค้าผิด ทำให้ต้องไปหยิบใหม่ การเก็บสินค้าผิดที่ ทำให้นับสินค้าไม่ตรงกับในระบบ ต้องเสียเวลานับใหม่ การไม่ยิงบาร์โค้ดเมื่อมีสินค้าเข้าหรือออกจากคลัง คุณลองเก็บข้อมูลดูสิ แล้วจะรู้ว่า สิ่งเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่ทำให้เกิดต้นทุนที่อาจมองว่าเล็กน้อยในเรื่องของเวลา แต่หากไม่แก้ไข อาจจะกลายเป็นเรื่องใหญ่ได้
2. ควบคุมอุณหภูมิในคลังสินค้าให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม อากาศทุกวันนี้มีการเปลี่ยนแปลง จากที่เคยร้อนธรรมดา กลายเป็นร้อนมาก ซึ่งส่งผลกับสภาพของสินค้าในคลัง ไม่ว่าจะกับตัวสินค้าเอง หรือวัสดุที่หุ้มห่อสินค้าอย่างกระดาษหรือพลาสติก จากสินค้าที่ขายได้ จะกลายเป็น dead stock ไป
3. ลดการเก็บสินค้าในคลัง ด้วยวิธีการส่งผ่านสินค้าที่เรียกว่า Cross Docking ซึ่งเป็นการรับสินค้าเข้าเพื่อกระจายออกไปยังลูกค้าทันที ไม่มีการนำสินค้าเก็บในคลัง การทำ Cross Docking จะช่วยลดต้นทุนได้มากเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนการจัดการสินค้าที่อยู่ในคลัง หรือต้นทุนค่าแรงในการเคลื่อนย้ายสินค้าในคลัง
4. ลดการใช้แรงงานสิ้นเปลือง ใช้ทรัพยากรบุคคลที่มีให้คุ้มค่าที่สุด ในบางจุด หากสามารถเปลี่ยนไปใช้ระบบอัตโนมัติได้ จะเป็นการลดต้นทุนที่ดีเยี่ยม อาทิเช่น การใช้รางเลื่อนหรือสายพาน ในการช่วยเคลื่อนย้ายสินค้า เพื่อประหยัดเวลาและแรงงาน
5. ใช้พื่นที่ให้คุ้มค่า สำรวจภายในคลังสินค้าของคุณดูสิว่า บางพื้นที่ คุณจัดเรียงสินค้าอย่างเปลืองพื้นที่มากไปหรือไม่ โดยอาจไม่มีการใช้พื้นที่ในแนวดิ่ง มีเพียงการใช้พื้นที่ในแนวราบ ทำให้พื้นที่ใช้งานไม่พอ หรือสินค้าที่เป็นประเภท Dead stockไม่ได้กำจัดทิ้งไปทั้ง ๆ ที่เกินกำหนดแล้ว หรือพาลเลทที่ใช้บางอันก็ใหญ่เกินไป ทำให้เปลืองพื้นที่ใช้สอย ควรจะเปลี่ยนเป็นพาลเลทที่มีขนาดเหมาะสม
6. เจรจากับผู้ขายวัตถุดิบ ทุกวันนี้ Supplier อาจส่งสินค้าล็อตใหญ่ให้คุณครั้งเดียว และเป็นภาระคุณในการเก็บวัตถุดิบไว้ในคลัง เกิดต้นทุนการบริการสินค้าคงคลัง ลองเจรจากับ Supplier ให้ทยอยส่งวัตถุดิบให้ อาจนำระบบ MRP หรือ Kanban มาใช้
7. ใช้เทคโนโลยีที่ช่วยให้งานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ลดอุปกรณ์รุ่นเก่า ที่ไม่เพียงแต่เปลืองค่าบำรุงรักษา ยังอาจเป็นอันตรายกับผู้ใช้งานด้วย นำโปรแกรมการควบคุมสินค้าคงคลังเข้ามาใช้ เปลี่ยนจากการใช้ระบบคนทำงานเป็นระบบคอมพิวเตอร์ทำงาน
8. ประหยัดพลังงาน ใช้ระบบไฟฟ้าแบบออโตเมติก กำกับควบคุมการใช้ไฟและน้ำจากพนักงาน เปลี่ยนการใช้น้ำมันกับรถโฟล์คลิฟต์ เป็นแก๊ส เปลี่ยนหลอดไฟนีออนเป็นหลอดประหยัดพลังงาน เปลี่ยนกระเบื้องบางแผ่น ให้เป็นแผ่นโปร่งแสง ลงทุนครั้งเดียว แต่ประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว
9. กระตุ้นให้พนักงานมีส่วนร่วมในการช่วยกันลดต้นทุน คนทำงานหน้างานทุกวัน จะสังเกตได้อย่างชัดแจ้งมากกว่าว่า ตรงจุดไหน มีการทำงานที่เผาผลาญพลังงานอย่างไร้ค่า ตรงจุดใด ที่สามารถทำงานให้มีประสิทธิภาพด้วยการปรับปรุงงานให้ลดระยะเวลาและลดค่าใช้จ่ายได้
10. ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ลดการเคลื่อนย้ายที่ไม่เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ลดการเสียเสลา ลดสินค้าคงคลังที่ไม่ก่อนประโยชน์ ลดการเก็บสินค้าคงคลังให้น้อยลง แต่ยังคงระดับการบริการลูกค้าที่เท่าเดิมหรือมากขึ้น จัดทำเป็นโครงการปรับปรุงประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่เพียงแค่ต้นปี หรือเมื่อผู้บริหารสั่งเท่านั้น
ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.aalhysterforklifts.com.au/
แปลโดย อ.อินทิรา สิทธิเวช
กับ กูรู้ กูรู ลอจิสติกส์
https://www.facebook.com/LogisticsGooRoo
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที