สุวรรณี

ผู้เขียน : สุวรรณี

อัพเดท: 30 พ.ย. 2014 02.14 น. บทความนี้มีผู้ชม: 3912 ครั้ง

งานเสวนา “มากกว่างานวิจัยแต่ใช้ได้จริง: Research Success Stories” จัดโดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. ร่วมกับ TCDC ห้องสมุดวัสดุเพื่อการออกแบบ (Material ConneXion Bangkok) วันที่ 30 ตุลาคม 2557 ห้องออดิทอเรียม TCDC


นวัตกรรมยาง เพื่อลดของเสียในการผลิต

ดร. สุรพิชญ ลอยกุลนันท์ นักวิจัยอาวุโส หน่วยเฉพาะทางด้านยางธรรมชาติ ผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสด­ุแห่งชาติ หรือ เอ็มเทค ให้มุมมองเกี่ยวกับยางพาราว่าเป็นวัสดุอุต­สาหกรรมสีเขียวที่มีสมบัติดีมาก มีความแข็งแรง ทนทาน ระบายความร้อน สามารถรับน้ำหนักได้ดีมาก โดยส่วนใหญ่มักจะนึกถึงผลิตภัณฑ์ยางล้อเป็­นหลัก แต่จริงๆ แล้วยังนำมาผลิตในรูปแบบอื่นๆ เช่น กาว ถุงมือที่ใช้ในห้องแลป หรือใช้ทางการแพทย์ เส้นด้ายยางยืดที่ใช้ในถุงเท้า ชุดชั้นใน โฟมยางที่นอนและหมอน

จากงานวิจัยที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว คือ ระบบ Glass โดยการดึงเนื้อยางออกจากน้ำและของเสีย จนไม่เกิดของเสียในกระบวนการผลิต สำหรับโครงการในอนาคตที่กำลังพัฒนาคือ E-Latex คาดว่าจะพัฒนาเสร็จภายใน 3-5 ปีนี้ โดยพัฒนาผลิตภัณฑ์จากน้ำยางที่มีความปลอดภ­ัยสูง และลดความเป็นพิษของสารเคมีในการผลิต ซึ่งเป็นประเด็นการค้าที่โจมตียางธรรมชาติ 

งานเสวนา “มากกว่างานวิจัยแต่ใช้ได้จริง: Research Success Stories” จัดโดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. ร่วมกับ TCDC ห้องสมุดวัสดุเพื่อการออกแบบ (Material ConneXion® Bangkok) วันที่ 30 ตุลาคม 2557 ห้องออดิทอเรียม TCDC

คลิก ชมวิดีโอ นวัตกรรมยางเพื่อลดของเสียในการผลิต


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที