Solution Center Minitab

ผู้เขียน : Solution Center Minitab

อัพเดท: 28 ส.ค. 2014 12.19 น. บทความนี้มีผู้ชม: 5910 ครั้ง

ในปัจจุบันนี้ชีวิตเรามีการพึ่งพาเทคโนโลยีมากขึ้น ตั้งแต่อุปกรณ์การควบคุมการเต้นของหัวใจ สมาร์ทโฟน และรถยนต์ เพื่อช่วยทำให้ชีวิตเราสะดวกสบายมากขึ้น และผลกระทบที่เราจะได้รับจะยิ่งมากขึ้นเมื่อผลตภัณฑ์หรือชิ้นส่วน นั้นๆของเรา มีโอกาสที่จะทำงานผิดพลาดได้ตลอดเวลา (โดยเฉพาะคนที่มีระบบประสาทซิมพาเทติกไวกว่าคนอื่น – ตื่นตระหนกง่าย)

โดยปกติแล้ว ความเชื่อถือของผลิตภัณฑ์และชิ้นส่วนต่างๆจะเป็นหน้าที่รับผิดชอบของวิศวกรด้านคุณภาพ

ในการทำให้ลูกค้ามีความมั่นใจในคุณภาพและความปลอดภัย ต้องทำความเข้าใจและรู้ถึงโอกาสและความสี่ยงที่ ผลิตภัณฑ์จะเสียหายและไม่สามารถใช้งานได้ในระยะเวลาเท่าไหร่ การวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือ และ/หรือ การปลอดความ เสียหาย (Survival) ใน Minitab มีเครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์ความเสี่ยงดังนี้


ความเชื่อถือได้และความอยู่รอด: หลักสำคัญของสมรรถภาพของผลิตภัณฑ์ (Reliability and Survival: High Stakes of Product Performance)

   ถึงแม้ว่าจะมีสถิติด้านการเดินทางทางอากาศว่ามีความปลอดภัยอย่างมาก แต่ผมเป็นนักเดินทางที่มีความกลัว

เป็นอย่างมาก ในกรณีที่เครื่องบินเจอกับกระแสอากาศปั่นป่วน  ผมจะมีอาการหน้าถอดสีและหายใจแรง

เหมือนสุนัขป่วย เมื่อมองไปรอบๆในห้องผู้โดยสาร ทุกคนดูเหมือนไม่ได้ใส่ใจอะไรและเบื่อหน่ายกับสิ่งที่

เกิดขึ้น

   แต่สำหรับตัวผมถึงกับจับที่พักแขนเก้าอี้อย่างแน่น ในท้องปั่นป่วนเหมือนมีนักบัลเลต์เป็นหมื่นคนกำลังเต้นหมุนตัว

อยู่ในท้อง แต่มันยิ่งเพิ่มความกลัวมากขึ้นเมื่อผมได้สัญญาณเตือนรายงานเมื่ออาทิตย์ก่อนนั้น ว่ามีเครื่องบินเจท 2 ลำ

ได้ถูกเรียกให้นำเครื่องลงจอดใกล้กันที่สนามบินดีทรอยด์ (Detroit Metro Airport) 

FAA รายงานว่าความวุ่นวายที่เกิดขึ้นนี้ มาจากชุดอุปกรณ์หูฟังสื่อสาร (Headset) เพื่อใช้ในการควบคุม

การจราจร ทางอากาศเกิดไม่ทำงาน นักบินไม่สามารถได้ยินคำแนะนำเส้นทาง และทันใดนั้นเครื่องบินเกิด

กระแทกในบริเวณพื้นที่ปลอดภัย (safety zone) เป็นบริเวณยาวเกือบ 3 ไมล์ เพราะว่าเครื่องบินทั้งสอง

นำเครื่องลงในทางลงคนละทิศทางกัน

 

   แต่ยังโชคดีที่นักบินเห็นเครื่องบินของแต่ละฝั่งตรงข้ามกันเสียก่อน จึงทำให้พยายามหลบการชนกัน

ผู้โดยสารในเครื่องบินลำ 737 บอกว่าเขาสามารถมองเห็นเครื่องบินอีกลำบินอยู่ใต้เครื่องของตน

และท้ายสุดแล้วไม่มีใครได้รับบาดเจ็บ แต่ประการใด

 

   คุณจะเห็นได้ว่าเพียงแค่ ชุดอุปกรณ์หูฟังทำงานบกพร่อง สามารถทำให้ชีวิตคนเป็นร้อยเกือบจะต้องเป็นอะไรไป

เสียแล้ว การหาค่าความเสี่ยง หัวใจหลักของการกำหนดความเชื่อถือได้ของผลิตภัณฑ์

(Quantifying Risk: The Key to Product Reliability) 

 

   ในปัจจุบันนี้ชีวิตเรามีการพึ่งพาเทคโนโลยีมากขึ้น ตั้งแต่อุปกรณ์การควบคุมการเต้นของหัวใจ สมาร์ทโฟน

และรถยนต์ เพื่อช่วยทำให้ชีวิตเราสะดวกสบายมากขึ้น และผลกระทบที่เราจะได้รับจะยิ่งมากขึ้นเมื่อผลตภัณฑ์

หรือชิ้นส่วน นั้นๆของเรา มีโอกาสที่จะทำงานผิดพลาดได้ตลอดเวลา (โดยเฉพาะคนที่มีระบบประสาท

ซิมพาเทติกไวกว่าคนอื่น – ตื่นตระหนกง่าย)

 

   โดยปกติแล้ว ความเชื่อถือของผลิตภัณฑ์และชิ้นส่วนต่างๆจะเป็นหน้าที่รับผิดชอบของวิศวกรด้านคุณภาพ 

 

   ในการทำให้ลูกค้ามีความมั่นใจในคุณภาพและความปลอดภัย ต้องทำความเข้าใจและรู้ถึงโอกาสและความสี่ยงที่

ผลิตภัณฑ์จะเสียหายและไม่สามารถใช้งานได้ในระยะเวลาเท่าไหร่ การวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือ และ/หรือ

การปลอดความเสียหาย (Survival) ใน Minitab มีเครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์ความเสี่ยงดังนี้

 

Probability Plots

   แผนภาพความน่าจะเป็น (Probability Plots) แผนภาพนี้ใช้ช่วยประเมินเปอร์เซนต์ที่ชิ้นส่วนจะเสียหาย

เมื่อมีการใช้ งานตามจำนวนรอบและยังสามารถช่วยในการตรวจสอบการแจกแจงเบื้องต้นของข้อมูลเพื่อ

นำไปเลือกใช้เครื่องมือในการ วิเคราะห์ความน่าเชื่อถือได้

- จากแผนภาพเส้นกลางจะแสดงถึงค่าเปอร์เซนต์ไทล์ (percentile) ซึ่งเป็นค่าที่แสดงค่าเวลาที่คาดหมาย

เปอร์เซนต์ที่ผลิตภัณฑ์จะเกิดความเสียหายเมื่อเทียบกับเวลา ซึ่งแสดงทีค่าสังเกตข้อมูล (จุดบนแผนภาพ)

และเส้นการแจกแจงข้อมูล (เส้นกลาง)

- ในการหาค่าสังเกตของความเสียหายและค่าความน่าจะเป็นสะสมของความเสียหายที่แต่ละจุดข้อมูล

ให้เลื่อนลูกศรไปยังจุดที่ต้องการ เช่น จากตัวอย่าง จะเห็นว่า 22% ของชิ้นส่วนที่จะเสียหายจะเกิดเมื่อ

เวลาผ่านไปแล้ว 86 เดือน

- ในการใช้แผนภาพเพื่อประเมินการแจกแจงความน่าจะเป็นของข้อมูล ถ้าข้อมูลวางตัวอยู่บนเส้นกลาง

จะถือว่ามีการแจกแจงที่เหมาะสม และจะได้ค่า AD และค่า correlation น้อยกว่า 1

 

   เมื่อเลื่อนลูกศรไปที่เส้นกราฟในแผนภาพ Minitab แสดงตารางค่าเปอร์เซ็นต์ไทล์และค่าพิกัดความเชื่อมั่นของ

ค่าเปอร์เซนต์ความเสียหายต่างๆที่ในแต่ละจุด

จากตาราง แสดงความคาดหมายไว้ว่า 10% ผลิตภัณฑ์ จะเกิดความเสียหายที่เมื่อใช้งานไปได้ 61.5 เดือน

และ จาก 95% ช่วงความเชื่อมั่นของเวลาที่ผลิตภัณฑ์จะเสียหาย คือ ระหว่าง 45 และ 84 เดือน

 

Survival Plot

   จาก Survival Plot จะแสดงถึงรูปแบบความเสียหายของผลิตภัณฑ์หรือชิ้นส่วน ซึ่งจะแสดงค่า

ความน่าจะเป็นที่  ชิ้นส่วนจะยังทำงานได้ดีตามระยะเวลาและรอบการใช้ ซึ่งจะเห็นได้ว่าเส้นกราฟจะมีลักษณะ

โค้งลง เมื่อเวลาผ่านไปซึ่งเท่ากับว่า ความน่าเชือถือได้ของผลิตภัณฑ์จะลดลงตามอายุการใช้งาน

- เส้นกลางเป็นค่าประมาณของความน่าเชื่อถือตามระยะเวลา จากตัวอย่าง คือ โอกาส 80% ที่ผลิตภัณฑ์

จะใช้งานได้ถึง 78 เดือน

- ค่าทางด้านซ้ายและขวาของเส้นกราฟ เป็นค่าพิกัดบนและล่าง 95% ความเชื่อมั่นของค่าความน่าเชื่อถือ

เมื่อเลื่อนลูกศรไปตามเส้นกราฟ Minitab จะแสดงตารางค่าความน่าเชื่อถือ และค่าพิกัดความน่าเชื่อถือ

ตามระยะเวลา (หรือรอบการใช้งาน) ต่างๆที่จะมีความเสียหายเกิดขึ้น

   จากตัวอย่าง ที่การใช้งานผ่านไป 90 เดือน ค่าคาดหมายของค่าความน่าเชื่อถือ คือ 73% และค่า 95%

ความเชื่อมั่นของค่าเปอร์เซนต์ของผลิตภัณฑ์ที่จะใช้งานได้ถึง 90 เดือน คืออยู่ระหว่าง 56.9% และ 83.9%

 

Reliability and Survival of the Fittest

   การวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือ ที่ Minitab มีเครื่องมือให้นำมาใช้ได้แก่ Hazard Plots,

Cumulative Failure Plots, Distribution ID overview, estimation test plans,

Demonstration test plans, warranty analyses และอื่นๆ ซึ่งสำหรับ คนที่ยังไม่คุ้นเคยกับ

การวิเคราะห์ทางสถิติกับเรื่องเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ควรค้นหาศึกษาเพิ่มเติม

 

   แม้ว่าผลิตภัณฑ์เกิดการเสียหายไม่ได้หมายความว่าผลิตภัณฑ์นั้นหมดอายุการใช้งานแล้วหรือไม่ แต่หัวใจสำคัญ

คือเรื่องความน่าเชื่อถือได้ของผลิตภัณฑ์ต้องมีมาก ใน Engineering Statistics Handbook

ของ National Institute of Standards and Technology (NIST) บอกไว้ดังนี้

“เราสามารถคาดหวังไว้ว่า รถ คอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า หลอดไฟ โทรทัศน์ และอีกหลากหลายอย่าง

จะสามารถ ทำงานได้ดี ตราบเท่าที่เรายังต้องใช้มัน ไม่ว่าจะกี่วัน หรือ กี่ปี และเมื่อมันเกิดเสียหาย

ผลลัพธ์ของมันอาจก่อให้เกิดอันตราย เกิดการบาดเจ็บ เสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน และเมื่อความเสียหาย

ที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก ก่อให้เกิดความรำคาญใจและ ความลำบาก ต่อลูกค้าจนทำให้เกิดความไม่พึงพอใจในที่สุด

และส่งผลให้บริษัทอาจเสียส่วนแบ่งในตลาดได้”

 

บทที่ 8 Assessing Product Reliability, NIST Engineering Statistical Handbook หรือ

ที่ Warren Buffett กล่าวไว้ว่า “ต้องใช้เวลากว่า 20 ปี ในการสร้างชื่อเสียงและ ใช้เวลาเพียง 5 นาที

ในการทำลายมัน ถ้าคุณคิดถึงเรื่องนี้ คุณจะทำอะไรที่แตกต่างไป”

   ในสายงานการปรับปรุงคุณภาพ ความสำคัญอย่างที่สุดของความน่าเชื่อถือของผลิตภัณฑ์ คือ สารที่ส่งถึงทุกคน

นั้นมีความชัดเจนและเสียงดังพอที่จะให้ทุกคนได้รับรู้

บทความต้นฉบับ : http://blog.minitab.com/blog/statistics-and-quality-data-analysis/

reliability-and-survival-the-high-stakes-of-product-performance

แปลและเรียบเรียงโดย สุวดี นำพาเจริญ และ ชลทิชา จำรัสพร, บริษัท โซลูชั่น เซ็นเตอร์ จำกัด 

E-mail : webadmin@solutioncenterminitab.com   www.SolutionCenterMinitab.Com

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที