คุณจะมีวิธีการวัดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางรูที่มีขนาดเท่ากับ 1 ใน 10 ของขนาดเส้นผมมนุษย์ ได้ด้วยวิธีการอย่างไร หรือ การวัดค่าความร้อนจากการจับชิ้นส่วนในมือของคุณ เหล่านี้เป็นปัญหาที่ต้องพบเจอเมื่อต้องทำการวัดในระดับไมครอน ในฐานะผู้เชี่ยวชาญของ Six Sigma ใน Tenneco งานที่ได้รับมอบหมายให้ทำเพื่อให้ธุรกิจเดินเข้าสู่การผลิตที่มี ความแม่นยำสูง ในโครงงานของนี้คือ การศึกษาเครื่องมือวัด (gage studies) และการวิเคราะห์ระบบการวัด MSA ซึ่งเป็นการทวนสอบ ระบบการวัดว่ามีความเชื่อถือได้และแม่นยำหรือไม่ ซึ่งถ้าไม่มีโปรแกรมทางสถิติแบบ Minitab การทำงานนี้อาจก็อาจทำให้ เป็นเรื่องยากมาก Tenneco เป็นบริษัท ที่ผลิตระบบเกี่ยวกับอากาศในเครื่องยนต์ ระบบเสริมสมรรถภาพการขับขี่ของรถยนต์ และยานยนต์ ประเภทอื่นๆ Tenneco มีรายได้ต่อปี 7.4 พันล้าน USD และบริษัทมีแผนที่จะเติบโต และ เป็นผู้ผลิตระบบขับเคลื่อน ที่มีผลกระทบต่อตลาดโลกอย่างมากที่สุดภายใน 5 ปีข้างหน้า ในบริษัทได้มีการพัฒนากลุ่มด้าน Six Sigma ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “Tenneco Global Process Excellence” และ Minitab ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการฝึกอบรมและทำโครงงานต่างๆในบริษัทด้วย การทวนสอบระบบการวัด การทวนสอบระบบการวัดในกระบวนการผลิตและงานประกอบชิ้นส่วนที่มีความแม่นยำสูง เราใช้ Minitab ในการเก็บข้อมูลเพื่อนำมาประกอบการตัดสินใจและการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง แม้ส่วนที่เล็กที่สุดก็ต้องให้ได้ตรงตามข้อกำหนดเฉพาะ การผลิตที่มีการกำหนดค่าความเผื่อ (Tolerance) ในช่วง 10-20 ไมครอน จะต้องอาศัยกระบวนการพิเศษในการผลิตรวมทั้งในกระบวนการวัดด้วย รวมทั้งความซับซ้อนที่เพิ่มมากขึ้น เมื่อต้องทำงานที่มาจากแหล่งผู้ผลิต (suppliers) หลายๆเจ้า จากหลายๆประเทศและ มาประกอบกันหลายๆชิ้นส่วน เพื่อให้เป็นไปตามข้อตกลงระหว่างผู้ผลิต (Suppliers) กับ Tennecoในการวัดชิ้นส่วนต่างๆ เราจึงมีการพัฒนา กระบวนการทำงานที่มีการทวนสอบด้วยความแม่นยำและความถูกต้องสูง เช่น ระบบการวัด CMM และระบบการวัด ด้วยการประมวลภาพ (vision)
จากแผนภาพกระบวนการ SIPOC (supplier, Input, Process, Output, Customer) แสดงถึงความสัมพันธ์ของ เครื่องมือวัดและกระบวนการผลิตตามรูปแบบใหม่ดังนี้ |
ถ้าเครื่องมือวัดบกพร่องอะไรจะเกิดขึ้น ในการศึกษาเครื่องมือวัดใดใด ที่ได้ผลว่าเครื่องมือนั้นไม่มีคุณภาพ เราจะทำการแก้ไข้เครื่องมือวัดนั้นด้วยวิธีการดังนี้ สมมติว่า ผลจากการทำ type 1 gage study ให้ผลว่าผลการวัดจากทั้ง 2 ตำแหน่งไม่เป็นไปในทางเดียวกัน แต่ยังอยู่ในช่วงของค่าเผื่อที่มีขนาดเล็กมาก แต่ค่าความแตกต่างที่มีขนาดเล็กนี้อาจส่งผลที่มีความสำคัญอย่างมากต่อ ระบบการวัด เช่น ความแตกต่างของค่าวัดหนึ่งที่เป็นผลมาจากอุณหภูมิภายในห้องทดลองของ CMM ที่ไม่อยู่ภายใต้ ค่าที่กำหนด และ อีกสาเหตุหนึ่งคือชนิดของเลนส์ที่แตกต่างกันของกล้องที่ใช้วัดด้วยการระบบการประมวลด้วยภาพ
ตัวอย่างด้านล่างนี้ คือ ขั้นตอนของการศึกษาและวิเคราะห์ระบบการวัดด้วยการประมวลภาพจาก Minitab ในหัวข้อ Type 1 เพื่อทำการหาความสามารถในการทำซ้ำ (Repeatability) ของระบบการวัดด้วยการประมวลภาพ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการวางชิ้นงานลงในเครื่องมือวัดใหม่ แล้วทำการปรับตั้งค่าอีกครั้งหนึ่ง ก่อนทำการวัดทำให้เกิด การเบี่ยงเบนได้ ซึ่งอาจเกิดจากการจับวางชิ้นงาน ในการศึกษา ใช้ชิ้นงานเพื่อทำการทดสอบการวัดจำนวน 25 ชิ้น โดยให้ใช้วิธีการนำชิ้นงาน วางในเครื่องมือวัด แล้วทำการวัด 25 ครั้ง กับอีกหนึ่งวิธีการ คือ นำชิ้นงานวางลงในเครื่องใหม่ก่อนทำการวัดทุกครั้งแล้ว อ่านค่าวัดอีก 25 ครั้ง จากการวิเคราะห์พบว่าการหยิบวางชิ้นงานทำให้ค่าวัดเปลี่ยนแปลง ซึ่งค่าความต่างนี้ถือเป็นความต่างอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติแต่ไม่มีความต่างอย่างมีนัยสำคัญในทางปฏิบัติ ซึ่งผลจากการศึกษาในครั้งนี้ทำให้วิศวกรที่ทำงานในการผลิตและการออกแบบได้เข้าใจและแปลผลค่าวัดต่างๆ ที่ได้ใน ห้องทดลองได้ดีขึ้น กราฟด้านล่างนี้แสดงให้เห็นถึงผลจากการวิเคราะห์ Type 1 ของ Minitab ของการทดลองทำการวัดชิ้นงานแบบ มีการวางชิ้นงานใหม่ก่อนการวัดทุกครั้งและไม่มีการวางชิ้นงานใหม่ก่อนการวัด การทดลองทั้งสองแบบมีค่าวัด ที่แตกต่างกัน และเมื่อทำการทดสอบค่าความแปรปรวนจากทั้งวัดทั้ง 2 วิธี พบว่า ความแปรปรวนที่ได้จากการวัด ทั้ง 2 วิธีนี้มีค่าแตกต่างกัน |
จากแผนภาพ scatter พบว่าการวัดแบบที่มีการวางชิ้นงานใหม่ทุกครั้ง ทำให้มีค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) สูงกว่าอีกวิธี ซึ่งถือว่ามีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ในทางปฏิบัติยังเป็นค่าที่ยอมรับได้ |
การศึกษาเครื่องมือวัดด้วย Minitab ถือเป็นหนึ่งหัวข้อสำคัญที่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับกระบวนการผลิต ซึ่งทาง Minitab ได้มีโอกาสเข้าร่วมกับโครงการ Six Sigma ของ Tenneco ตั้งแต่ปี 2000 การใช้กราฟเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ที่สะดวกและใช้ได้ผลเป็นอย่างดี ซึ่งในสายงาน Six Sigma มีการนำมาใช้อยู่เป็นประจำ ซึ่งใน Tenneco จะมีการนำมาใช้ในเรื่อง Gage study , การแก้ปัญหา (Problem Solving) โปรแกรมด้านคุณภาพ ที่มีอยู่หลายโครงงานใน Tenneco |
ประวัติผู้เขียนรับเชิญ Dan Wlofe เป็น Certified Lean Six Sigma Master Belt ที่ Tenneco เขาทำงานเป็นหัวหน้า โครงงานในวิศวกรรม, Supply Chain และ Manufacturing and Business Process. ในปี 2006 เขาได้รับรางวัล Tenneco CEO for Six Sigma ในฐานะ Master Belt เขาได้มีการฝึกอบรม และได้มีการพัฒนา เครื่องมือในการออกแบบการผลิตต่างๆ ตั้งแต่ปี 2007 Dan จบทางด้าน BSME จาก Ohio State University และ MSME จาก Oakland University และจาก The Chrysler Institute of Engineering for Automotive Engineering |
|
บทความต้นฉบับ : http://blog.minitab.com/blog/statistics-in-the-field/doing-gage-randr- แปลและเรียบเรียงดยสุวดี นำพาเจริญ และ ชลทิชา จำรัสพร, บริษัท โซลูชั่น เซ็นเตอร์ จำกัด email : webadmin@solutioncenterminitab.com www.SolutionCenterMinitab.Com |
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที