khwanjai

ผู้เขียน : khwanjai

อัพเดท: 22 ม.ค. 2017 06.32 น. บทความนี้มีผู้ชม: 54859 ครั้ง

จุดเริ่มต้นของความสำเร็จอยู่ที่ไหน ค้นหาคำตอบดีๆได้ที่นี่

Website เจ้าของผลงาน www.2b2train.com
Facebook: https://www.facebook.com/ebook4ookbee/
Storylog: https://storylog.co/khwanjai/book/581a5bfd9d526ab1781f27ba


สร้างระบบ เพื่อสร้างระเบียบให้กับการพัฒนา

       บางองค์กรเน้นการจัดสรรงบประมาณส่วนใหญ่ให้กับการบริหารทรัพยากรมนุษย์หรือการพัฒนาบุคคลากร เช่น ในอุตสาหกรรมด้านการแพทย์ของประเทศไทยที่แนวโน้มผู้ป่วยชาวต่างชาติเข้ามารับการรักษาในประเทศไทยมากขึ้นเนื่องจากค่าใช้จ่ายที่ต่ำ แต่มาตรฐานการรักษาเทียบเท่าได้ในระดับโลก ดังนั้นบางโรงพยาบาลจึงเน้นการพัฒนาศักยภาพของผู้ให้บริการด้านการสื่อสารโดยใช้ภาษาอังกฤษ, ภาษาญี่ปุ่น, ภาษาจีน เป็นต้น

        บางองค์กรเน้นการให้ความสำคัญการให้คุณค่าด้านการบริการ โดยมุ่งเน้นการให้บริการที่สะดวกสบายขึ้นกับลูกค้า อาทิเช่น การบริการเรียกรถแทกซี่ โดยใช้แอพพิเคชั่นของ อูเบอร์ (Uber) ที่แต่เดิมต้องไปยืนรอเรียกรถแท็กซี่ข้างถนน ก็เปลี่ยนเป็นเรียกรถแท็กซี่ผ่านโทรศัพท์สมาร์ทโฟน บนมือถือปลายนิ้วสัมผัสของเรา

        มีบางองค์กรที่เน้นการพัฒนาสินค้าใหม่ๆเพื่อตอบโจทย์ปัญหาทางด้านสุขภาพของผู้ซื้อสินค้า เช่น รองเท้าไนกี้ ซ็อค (Nike Shox) ที่เพิ่มระบบการป้องกันการสั่นสะเทือน ที่รองเท้า สามารถรองรับแรงกระแทกได้เป็นอย่างดี และช่วยเพิ่มแรงดีดกลับ ทำให้มีพลังขับเคลื่อนเพิ่มมากขึ้น และตัวรองเท้าใช้วัสดุที่ทนทานและน้ำหนักเบา ซึ่งเมื่อมีการพัฒนาเพื่อเพิ่มคุณค่ามากขึ้น สิ่งทีตามมาแน่นอนคือ ราคาที่เพิ่มขึ้น จากรองเท้า ไนกี้ธรรมดา คู่ละ 2,000 -3,000 บาท กระโดดขึ้นไปที่ราคา 6,000 – 8,000 บาท

มีบางองค์ที่เน้นการจัดสรรงบประมาณเพื่อการวิจัยและพัฒนาหรือที่เราเรียกว่า R&D ซึ่งย่อมาจาก Research and Development ซึ่งองค์กรที่ให้ความสำคัญกับด้านนี้ มักจะเป็นองค์กรที่มองการณ์ไกล เพราะเป็นองค์กรที่มีการพัฒนาไม่หยุดยั้ง กรณีศึกษาในองค์กร 2 แห่ง คือ ซัมซุง (samsung) และโตโยต้า (Toyota)

             

            โตโยต้า เป็นอีกบริษัทหนึ่งที่ให้ความสำคัญของ R&D ยกตัวอย่างการพัฒนารถโตโยต้า ระดับหรูรุ่น Prius ด้วยวิสัยทัศน์ของ ประธานบริษัทคือ Eiji Toyoda ที่กล่าวว่า “…องค์กรของเราจะดำรงอยู่ในศตวรรษที่ 21 ด้วย R&D…” ซึ่ง Risuke Hubochi ซึ่งเป็นผู้จัดการฝ่ายวิศวกรรมได้เป็นผู้นำในการดำเนินการโครงการผลิตยานยนต์ลูกผสม (Hybrid Vehicle Project) รุ่น  Prius โดยมีเป้าหมายในการดำเนินการ 2 ข้อหลัก ได้แก่

1)      พัฒนาวิธีการใหม่ๆในการผลิตรถยนต์เพื่อศตวรรษที่21

2)      พัฒนาวิธีการใหม่ๆในการพัฒนารถยนต์เพื่อศตวรรษที่21

            จากการตั้งเป้าหมายในการผลิตรถยนต์ Prius ในปี 1990 ในที่สุดในปี 1997 ได้ถือกำเนิดรถยนต์prius เป็นรถยนต์ลูกผสม (hybrid technology)  ซึ่งสามารถประหยัดน้ำมันเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าของรถยนต์แบบดั้งเดิมในระดับเดียวกัน และสามารถลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 50%  โดยพัฒนากระบวนการในการผลิตรถยนต์ คือ เครื่องยนต์สามารถขับเคลื่อนได้ด้วยการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงและมอเตอร์ไฟฟ้า ที่ขับเคลื่อนด้วยแบตเตอรี่ โดยหัวใจสำคัญคือการสร้างแบตเตอรี่ให้มีขนาดเล็กที่สุด มีขนาดแค่ 1 ใน 10 เท่าของแบตเตอรี่รถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า มีชื่อว่า Panasonic EV Energy จากการเปิดตัวของ Prius ทำให้ได้รับรางวัลชนะเลิศ “รถยนต์ญี่ปุ่นแห่งปี” และต่อมายังมีการทำ R&D ในรถรุ่นนี้อย่างต่อเนื่องจนในปี 2003 รุ่นที่ 2 ได้เปิดตัวออกสู่ตลาดด้วยนวัตกรรมการประหยัดน้ำมันเพิ่มขึ้น 48 ไมล์ต่อแกลลอน ไปเป็น 55 ไมล์ต่อแกลลอน และในรุ่นต่อมาก็ยังมีการพัฒนาไม่หยุดยั้งและต่อเนื่อง อาทิเช่น เพิ่มความปลอดภัยตลอดการเดินทางด้วยล้ออัลลอย ขนาด 15 นิ้ว น้ำหนักเบา ลดแรงเสียดทาน พร้อมการออกแบบที่คำนึงถึงการหมุนวนของอากาศบริเวณซุ้มล้อ ซึ่งมีส่วนช่วยให้มีอัตราความสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงลดลง


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที