khwanjai

ผู้เขียน : khwanjai

อัพเดท: 22 ม.ค. 2017 06.32 น. บทความนี้มีผู้ชม: 54856 ครั้ง

จุดเริ่มต้นของความสำเร็จอยู่ที่ไหน ค้นหาคำตอบดีๆได้ที่นี่

Website เจ้าของผลงาน www.2b2train.com
Facebook: https://www.facebook.com/ebook4ookbee/
Storylog: https://storylog.co/khwanjai/book/581a5bfd9d526ab1781f27ba


การพัฒนาองค์กรให้เป็นเลิศด้วย R&D

       ชาลส์ โรเบิร์ต ดาร์วิน  ผู้คิดค้นทฤษฏี วิวัฒนาการ ได้กล่าวไว้ว่าสิ่งมีชีวิตที่อยู่รอดคือสิ่งมีชีวิตที่สามารถปรับตัวและปรับเปลี่ยนตัวเองให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลง องค์กรต่างๆก็เช่นกันถ้าสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงก็จะสามารถอยู่รอดได้ มีบทเรียนให้กับองค์กรหลายองค์กรที่ไม่สามารถปรับตัวให้เขากับการเปลี่ยนแปลงได้ จนในที่สุดก็ก็ถึงคราวล่มสลายหรือไม่สามารถแข่งขันในตลาดได้

        Nokia ก็เป็นอีกบริษัทหนึ่งที่เคยมีความโดดเด่นในตลาดโทรศัพท์มือมาช้านาน จนกระทั่งในปี 2007 ความเป็นที่ 1 ของ  Nokia เริ่มสั่นคลอนจากการเปิดตัวของ iPhone รุ่นแรกของค่าย Apple ซึ่งใครที่เห็นก็อยากได้ มาพร้อมแบบจอแบบจอสัมผัส (Touch Screen) ซึ่งความเป็นจริงแล้วหน้าจอแบบ Touch screen ทีมงานโนเกียคิดค้นได้ก่อน Apple แต่บริษัทมองว่าเงินที่ใช้ในการพัฒนาถูกจัดอยู่ในส่วนของ Expense หรือแปลเป็นไทยว่าค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดซื้อวัสดุขององค์กร ไม่ได้ถูกจัดอยู่ในส่วนงบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R&D)

        องค์กรที่ให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนามากที่สุด และสามารถแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาดโทรศัพท์มือถือในปัจจุบันได้มากที่สุด คือ แอปเปิ้ลและซัมซุง

แอปเปิ้ลเป็นบริษัทขนาดใหญ่และมีพนักงานทำงานมากกว่า 4,000 คน มีอยู่ครั้งหนึ่งบริษัทเกือบล้มละลาย และในช่วงวิกฤตนั้น ได้มีการเชิญสตีฟ จ๊อป เข้ามามีบทบาทเป็น CEO ในการกอบกู้วิกฤตการณ์ดังกล่าว ซึ่งในการประชุมผู้บริหารครั้งหนึ่ง สตีป จ๊อปได้กล่าวถึงแนวทางในการกอบกู้วิกฤตว่า

       “เป้าหมายของการแก้วิกฤตครั้งนี้ ไม่ใช่อยู่ที่การลดต้นทุน หรือค่าใช้จ่าย แต่ต้องทุ่มเงินให้กับการคิดค้นและพัฒนานวัตกรรม เพื่อสร้างความต้องการใหม่ของลูกค้าขึ้นมา และนั่นคือสิ่งที่ทำให้บริษัทของเราออกจากสถานการณ์ที่คับขันนี้ได้” และแนวคิดนี้เองที่ทำให้บริษัทกลับมาผงาดในตลาดมือถืออีกครั้ง แม้ว่าค่าเครื่องมือถือจะแพงมากเท่าไหร่ก็ตาม แต่คนก็เต็มใจที่จะจ่ายให้กับนวัตกรรมชิ้นนี้

       ซัมซุงเป็นอีกบริษัทหนึ่งที่ให้ความสำคัญด้านการลงทุนใน R&D เป็นอย่างมาก บริษัทซัมซุงเป็นของประเทศเกาหลี แต่เดิมเป็นเพียงบริษัทธรรมดาบริษัทหนึ่งที่ไม่มีอะไรโดดเด่น เริ่มผลิตโทรศัพท์มือถือเป็นครั้งแรกในปี 1988 ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ผลิตไม่มีอะไรโดดเด่นและไม่ได้รับการตอบรับจากตลาดเลย ต่อมาในปี 1993  ผู้บริหารของบริษัทชื่อว่า ลุกุนฮี (Lee Kun Hee) ต้องการยกระดับจากบริษัทธรรมดาให้กลายเป็นองค์กรชั้นนำระดับโลก โดยใช้กลยุทธ์  R&D โดยมีการจัดสรรงบประมาณของบริษัทให้กับส่วนนี้ประมาณ เกือบ 10% จากรายได้ทั้งหมดของบริษัท และจัดสรรพนักงาน จำนวน 25 % จากพนักงานทั้งหมดให้อยู่ในส่วนงานของ R&D บริษัทเริ่มต้นแผนงานด้วยการวิจัย (research) เพื่อค้นหาความต้องการของคนทั่วโลก โดยการส่งคนไปอยู่ที่ประเทศต่างๆ 80 ประเทศทั่วโลก เป็นระยะเวลา 1 ปี และส่งข้อมูลกลับมายังประเทศเกาหลีเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่โดนใจคนทั้งโลก จากกระบวนการดังกล่าวทำให้ซัมซุง กลายเป็นบริษัทที่มีการรับรู้ผ่านคนทั่วโลกจากการสร้างแบรนด์ซัมซุง ซึ่งในปี 2011 ซัมซุงเป็น    แบรนด์ที่ถูกจัดอันดับให้มีมูลค่าสูงสุดอันดับที่ 17 ของโลก จากการจัดอันดับของ Interband  และในปี 2014 มีส่วนแบ่งทางการตลาดโทรศัพท์มือถือสูงที่สุดในโลก จากการสำรวจของ TrendForce  ด้วยส่วนแบ่งทางการตลาด 25.20 %

       ดังนั้นองค์กรในยุคปัจจุบัน ถ้าต้องการอยู่รอดในยุคปัจจุบัน และก้าวข้ามการเปลี่ยนแปลงของยุดสมัยต่างๆ จำเป็นต้องมีการปรับตัวอยู่ตลอดเวลา โดยเครื่องมือที่สำคัญในกระบวนการพัฒนา คือ การทำ R&D ซึ่งหลักสำคัญในการทำ R&D คือ การหาหนทางที่จะแก้ปัญหาที่สำคัญขององค์กร หรือการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า หรือสร้างความต้องการใหม่ๆให้ลูกค้าเกิดขึ้นมา...

 

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที