ขนิษฐา

ผู้เขียน : ขนิษฐา

อัพเดท: 30 พ.ย. 2006 16.24 น. บทความนี้มีผู้ชม: 9953 ครั้ง

พลังงานที่อาจต้องนำมาใช้ในอนาคต "พลังงานทดแทน"


พลังงานทดแทน

พ ลั ง ง า น ท ด แ ท น

นักศึกษา  นายอัษฎาวุธ   ภูคงน้ำ 

ก๊าซธรรมชาติ(NGV)

ก๊าซธรรมชาติเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนชนิดหนึ่งประกอบด้วยไฮโดรเจนและคาร์บอนที่เกิดจากการทับถมของซากพืชและ สัตว์จำพวกจุลินทรีย์ที่อาศัยในโลกมานานนับหลายร้อยล้านปี โดยทั่วไปก๊าซธรรมชาติจากแหล่งผลิตจะประกอบด้วยสารไฮโดรคาร์บอนหลายชนิด ได้แก่ มีเทน โปรเพน บิวเทน เฮกเซน และก๊าซอื่นๆ อาทิ คาร์บอนไดออกไซด์ ไฮโดรเจนซัลไฟด์

ก๊าซธรรมชาติไม่มีสี ไม่มีกลิ่นและพิษ จัดได้ว่าเป็นพลังงานที่ปลอดภัยสูงสุดผลิตภัณฑ์หนึ่ง  ในปัจจุบัน เมื่อเผาไหม้จะเป็นเชื้อเพลิงสะอาดและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้เชื้อเพลิงประเภทน้ำมันและถ่านหิน ด้วยเหตุนี้นานาอารยะประเทศจึงนิยมใช้ก๊าซธรรมชาติกันอย่างแพร่หลายมาเป็นเวลานานหลายศตวรรษ

ปตท.และบริษัทในกลุ่มธุรกิจก๊าซธรรมชาติ โดยเป็นผู้จัดหาก๊าซธรรมชาติจากผู้ผลิตทั้งในและต่างประเทศตอบสนองความต้องการในประเทศมากว่า 20 ปี ปริมาณก๊าซฯ ที่จัดหาจากทุกสัญญาซึ่งเป็นสัญญาระยะยาว โดยปัจจุบันมีปริมาณที่จัดส่งให้ลูกค้าทุกประเภทรวม 2,300 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน นอกจากนี้ ประเทศมีปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติ (Proved Reserves) ถึง 12.7 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต

Gasohol

เกิดขึ้นจากแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2528 ที่ทรงเล็งเห็นว่าประเทศไทยอาจประสบกับปัญหาการขาดแคลนน้ำมันและปัญหาพืชผลทาง

การเกษตรมีราคาตกต่ำ จึงทรงมีพระราชดำริให้โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา ศึกษาถึงการนำอ้อยมาแปรรูปเป็นแอลกอฮอล์ โดยการนำแอลกอฮอล์ที่ผลิตได้นี้มาผสมกับน้ำมันเบนซินผลิตเป็นน้ำมัน     "แก๊สโซฮอล์" (Gasohol) เพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน

ปี พ.ศ. 2529 ทางโครงการส่วนพระองค์ได้เริ่มผลิตแอลกอฮอล์จากอ้อย หลังจากนั้นได้มีหน่วยงานรัฐและเอกชนให้ความร่วมมือในการพัฒนาแอลกอฮอล์ที่ใช้เติมรถยนต์อย่างต่อเนื่อง จนเมื่อปี พ.ศ. 2539 การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ร่วมกับ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วท.) และโครงการส่วนพระองค์ ได้ร่วมกันปรับปรุงคุณภาพแอลกอฮอล์ที่ใช้เติมรถยนต์ โดยการนำแอลกอฮอล์ที่โครงการส่วนพระองค์ผลิตได้ที่มีความบริสุทธิ์จากเดิม 95% ไปกลั่นซ้ำเป็นแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ 99.5% แล้วจึงนำมาผสมกับน้ำมันเบนซิน ออกเทน  91 ในอัตราแอลกอฮอล์ 1 ส่วน กับเบนซิน 9 ส่วน เป็นน้ำมัน "แก๊สโซฮอล์" ทดลองเติมให้กับรถเครื่องยนต์เบนซินของโครงการส่วนพระองค์

ปัจจุบัน รถเครื่องยนต์เบนซินของโครงการส่วนพระองค์ ได้เติมแก๊สโซฮอล์เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงจากสถานีบริการน้ำมัน ปตท. ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณโครงการส่วนพระองค์      สวนจิตรลดา รวมทั้ง ปตท. เริ่มเปิดจำหน่ายอย่างเป็นทางการให้กับประชาชนทั่วไป เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2544 ณ สถานีบริการ ปตท. บริเวณที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของ ปตท.

              "แก๊สโซฮอล์" ที่ ปตท. ออกจำหน่ายเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้ จากการผสมระหว่าง เอทานอล หรือที่เรียกว่า เอทิลแอลกอฮอล์ (Ethyl Alcohol) ซึ่งเป็น แอลกอฮอล์ บริสุทธิ์ 99.5% โดยปริมาตร ผสมกับน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วออกเทน 91 (ชนิดที่มีคุณสมบัติบางตัวต่างจากเบนซิน 91 ที่จำหน่ายอยู่ในปัจจุบัน) ในอัตราส่วนเบนซิน 9 ส่วน เอทานอล 1 ส่วน จึงได้เป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ออกเทน 95 ที่มีคุณสมบัติเป็นไปตามข้อกำหนดของกรมธุรกิจพลังงานกระทรวงพลังงาน

การผสมแอลกอฮอล์ลงในน้ำมันเบนซินในข้างต้น เป็นในลักษณะของสารเติมแต่งปรับปรุงค่า Oxygenates และออกเทน (Octane) ของน้ำมันเบนซิน ซึ่งสามารถใช้ทดแทนสารเติมแต่งชนิดอื่นที่นิยมใช้ในปัจจุบัน คือ Methyl-Tertiary-Butyl-Ether (MTBE)

อนึ่ง เอทานอล หรือ เอทิลแอลกอฮอล์ เป็น แอลกอฮอล์ ที่ได้จากการแปรรูปจากพืชจำพวกแป้งและน้ำตาล เช่น อ้อย ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง ฯลฯ

หากมองเรื่องพลังงานทดแทนแล้ว แก๊สโซฮอล์ และ ไบโอดีเซล ถือว่าเป็นพลังงานทางเลือกที่คนไทยคุ้นหูและมีใช้ๆ กันอยู่บ้างแล้ว และแม้พลังงานทดแทนทั้ง 2 ชนิดจะมีการวิจัยกันมาเนิ่นนาน ก็คงต้องยอมรับสภาพความเป็นจริงว่า คงต้องใช้เวลา และจำเป็นต้องเร่งเป็นนโยบายให้ ออกไปสู่ภาคปฏิบัติให้เร็วที่สุด ซึ่ง เจ้ากระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เล่าว่า “กระทรวงวิทยาศาสตร์ ร่วมกับกระทรวงพลังงานและกระทรวงเกษตรฯ คิดค้นเรื่องเครื่องทำไบโอดีเซล แต่ก็ต้องใช้เวลาพอสมควร เช่น กว่าต้นปาล์มจะโต ต้องใช้เวลา 4 ปี รวมถึงการเดินหน้าเรื่องมันสำปะหลังในการทำแก๊สโซฮอล์ อีกส่วนหนึ่งก็คือ เรากำลังเตรียมและเชิญชวนให้บริษัทต่างประเทศมาตั้งศูนย์พลังงานทดแทนทุกรูปแบบ ให้เป็นศูนย์ที่สามารถผลิตได้แล้วให้ความรู้แก่ประชาชนได้ ซึ่งจะแสดงให้เห็นว่าไบโอดีเซลควรทำอย่างไร โซล่าเซลใช้พลังงานแสงอาทิตย์ทำอย่างไร กังหันลมทำอย่างไร ทั้งหมดนี้เราให้สถานที่ แล้วให้เขาลงทุนก่อสร้าง คนไทยจะได้เรียนรู้ถึงพลังงานทดแทนในโลกเป็นแบบนี้”

เมื่อเอ่ยถึงเรื่องพลังงานทดแทนในโลก ยังมีพลังงานอีกประเภทหนึ่ง ที่กำลังเป็นประเด็นร้อนของโลก นั่นคือ “พลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ”


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที