อั้ม

ผู้เขียน : อั้ม

อัพเดท: 01 มิ.ย. 2014 00.27 น. บทความนี้มีผู้ชม: 5340 ครั้ง

เมื่อทำเสร็จหมดแล้วในขั้นตอนการแพ็คเก็บเพื่อรอจำหน่าย เราจะใช้ เครื่องซีลสูญญากาศ ในการบรรจุแพ็คใหญ่ในการส่งขาย เพื่อให้กลิ่นของสบู่ไม่ระเหยหายไป


ทำสบู่สมุนไพรขายส่ง บรรจุ ด้วย เครื่องดูดสูญญากาศ

กระแสความนิยมในเรื่องสมุนไพร ทำให้สมุนไพรถูกยกนำมาเป็นตัวชูโรงในผลิตภัณฑ์ต่างๆ มากมาย ทั้งแบบที่นำมารับประทานเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ และแบบที่เป็นผลิตภัณฑ์ใช้ภายนอกเกี่ยวกับความสวยความงาม สบู่เองก็อยู่ในกลุ่มหลังนี้ จะเห็นได้ว่าเราพบเห็นสบู่สมุนไพรถูกผลิตออกมาวางจำหน่ายเต็มไปหมดหลากหลายยี่ห้อ ทั้งที่ผลิตจากโรงงานใหญ่และที่ผลิตกันในแบบอุตสาหกรรมในครัวเรือน เพราะจริงๆ แล้วการทำสบู่ไม่ได้เป็นเรื่องที่ยุ่งยาก หรือต้องใช้เครื่องไม้เครื่องมือหรือเทคโนโลยีในการผลิตขั้นสูงในการทำแต่อย่างใด ความรู้ความชำนาญระดับทั่วๆ ไปก็สามารถทำออกมาได้

สูตรในการทำสบู่แบบพื้นฐาน มีส่วนประกอบดังนี้

  1. กรีเซอรรีน หรือที่เรียกกันง่ายๆ ว่าหัวสบู่ มีทั้งแบบใสและแบบขุ่นแล้วแต่ว่าเราต้องการผลิตสบู่แบบไหน
  2. สีผสมอาหาร อาจจะใส่หรือไม่ใส่ก็ได้ เพราะสมุนไพรที่เราจะนำมาผลิตก็มีสีในตัวอยู่แล้ว แต่ถ้าต้องการสีที่เด่นชัดก็อาจจะเติมเข้าไปเล็กน้อย
  3. สมุนไพรตามสูตรที่เราคิดจะผลิต จะเป็นกากกาแฟ , เปลือกมังคุด หรือน้ำนมแพะ ก็แล้วแต่เราจะสรรหาคิดสูตรที่ดีต่อผิวพรรณและความสวยความงาม ซึ่งนี่คือจุดขาย
  4. กลิ่นสกัด หรือหัวน้ำหอม เพื่อเพิ่มกลิ่นให้กับสบู่ควรเลือกกลิ่นอ่อนและไม่ขัดกับกลิ่นของสมุนไพรที่เราใช้
  5. น้ำมันมะกอกสำหรับทาผิวเล็กน้อย เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวหนังเวลาใช้งาน
  6. แอลกอฮอล์สำหรับฉีดไล่ฟองอากาศที่เกิดมีขึ้นในเนื้อสบู่

อุปกรณ์ที่ต้องใช้ก็มี หม้อสำหรับต้มน้ำเป็นภาชนะปากกว้าง , ภาชนะทรงสูงสำหรับใส่ส่วนผสมของสบู่, แม่พิมพ์สบู่ (เลือกได้ตามใจชอบว่าอยากให้ออกมาทรงไหน) , กระดาษไขสำหรับรองแม่พิมพ์ , มีดสำหรับตัดแต่งก้อนสบู่ , บรรจุภัณฑ์และ  เครื่องแพ็คสูญญากาศ

วิธีทำก็ง่ายๆ นำเอากรีเซอร์รีนไปใส่ในภาชนะทรงสูงแล้วนำไปตั้งในหม้อใส่น้ำที่ถูกต้มให้ร้อน (เราไม่เอาสบู่ไปโดนความร้อนจากไฟโดยตรงเพราะจะเกิดการไหม้เสียหายได้ เมื่อกรีเซอร์รีนละลายเราก็เอาส่วนผสมอื่นๆ ใส่ลงไป ตุ๋นต่อไปจนทุกอย่างผสมเข้ากันดี ก็ยกลงมาเทลงในแม่พิมพ์สบู่ ที่เรารองไว้ด้วยกระดาษไข พอเย็นจับตัวดีแล้วก็แกะออกมา ตัดแต่งขอบที่เกินออกเพื่อความสวยงาม ในขั้นตอนนี้เราได้สบู่ออกมาแล้ว สามารถนำไปใช้งานได้ แต่เนื่องจากเราต้องการทำเพื่อขายส่ง ดังนั้นก็ทำซ้ำต่อไปเรื่อยๆ จนได้ปริมาณที่พอใจ ค่อยเริ่มเก็บเข้าบรรจุภัณฑ์ ตัวสบู่เราห่อด้วยกระดาษไขบางๆ ก่อนเพื่อกันสบู่ได้รับความร้อนแล้วติดบรรจุภัณฑ์ซึ่งไม่น่าดูเท่าไหร่ บรรจุภัณฑ์สำหรับสบู่สมุนไพร แนะนำให้ใช้เป็นกระดาษห่อสีน้ำตาล หรือกระดาษสา เพื่อให้เข้ากับอารมณ์ธรรมชาติ  เมื่อทำเสร็จหมดแล้วในขั้นตอนการแพ็คเก็บเพื่อรอจำหน่าย เราจะใช้ เครื่องซีลสูญญากาศ ในการบรรจุแพ็คใหญ่ในการส่งขาย เพื่อให้กลิ่นของสบู่ไม่ระเหยหายไป และยังป้องกันไม่ให้เกิดกลิ่นเหม็นหืนเนื่องจากสบู่มีส่วนผสมของไขมัน หากโดนอากาศไปสักพักจะเกิดกลิ่นเหม็นหืนได้

นี่เป็นการใช้ เครื่องดูดสุญญากาศ เพื่อบรรจุ สบู่สมุนไพรขายเพื่อการขายส่ง ที่สามารถรักษากลิ่นและคุณภาพของสบู่ได้เป็นอย่างดี

เครื่องดูดสูญญากาศ


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที