นักแสวงหา

ผู้เขียน : นักแสวงหา

อัพเดท: 21 เม.ย. 2014 10.58 น. บทความนี้มีผู้ชม: 5916 ครั้ง

ข้อมูลการเติบโตของเมืองระหว่างไทย-ลาว


อัตราการเติบโตของเมืองลาวสูงกว่าเมืองไทย

               

               เราจะทำอย่างไร เมื่อพิจารณาตัวเลขของความเป็นเมืองต่อพื้นที่ทั้งประเทศ และอัตราการเติบโตของเมืองจากรายงานของ CIA Factbook   นั้น จะพบว่าเมืองในลาวนั้นมีประชากรพักอาศัยในเมืองมากกว่าเมืองในประเทศไทย กล่าวคือ นับจาก ค.ศ. 2011 นั้น ลาวมีประชากรในเมืองเป็นจำนวนร้อยละ 34.3 ขณะที่ไทยมี ร้อยละ 34.1  นอกจากนั้น ลาวยังมีอัตราการเพิ่มของประชากรในเมืองอยู่ที่ ร้อยละ 4.41  (ขณะที่อัตราการเติบโตเฉลี่ยทั้งประเทศอยู่ที่ ร้อยละ 2.8) ตามการคาดการณ์ในช่วงปี 2010-2015 ขณะที่ไทยนั้นมีอัตราการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่เมืองเพียงร้อยละ 1.6 (ทั้งนี้แม้ว่าจำนวนประชากรในเมืองนั้นจะมีเพียง 2231750.16คน ตามการรายงานของธนาคารโลก ก็ตาม)

จากการนำเสนอของ หน่วยงานด้านการพัฒนาถิ่นที่พักอาศัยของสหประชาชาติ (UN-Habitat) ในปี 2012 ชี้ว่าการเติบโตของความเป็นเมืองของลาวนั้นเป็นไปในอัตราที่สูง และในขณะเดียวกันการเติบโตดังกล่าวก็เป็นไปในลักษณะของการอพยพเข้าสู่เมืองจากพื้นที่ชนบทเนื่องจากปัจจัยด้านความยากจน (ไม่ใช่การเติบโตโดยธรรมชาติของประชากรเมืองแบบที่เกิดในเมือง) ทั้งที่ภาคการเกษตรนั้นยังคงเป็นภาคเศรษฐกิจหลักของการผลิตรายได้ของประเทศ แต่ภาคเศรษฐกิจในเมืองก็เริ่มมีบทบาทมากขึ้นเช่นกัน

ลาวนั้นมีเมืองระดับเล็กอยู่ประมาณ 139 เมือง และมักจะเชื่อมต่อกับแนวพื้นที่ทางเศรษฐกิจ (economic corridor) เชื่อมโยงกับ กัมพูชา จีน ไทย และ เวียดนาม

รายงานจาก UN-Habitat ยังชี้ให้เห็นถึงประเด็นท้าทายของการเติบโตของเมืองในลาวสี่ประการ

         1. การเพิ่มแรงกดดันต่อองค์กรปกครองในระดับท้องถิ่นในการจัดหาโครงสร้างพื้นฐานให้กับประชากรในเมือง และเมื่อมีการพัฒนาในพื้นที่เมืองมากขึ้นก็จะดึงดูดให้ประชาชนในชนบทเดินทางเข้ามาเพิ่มอีก

          2. สถานการณ์ของความยากจนในเมือง ซึ่งหมายถึงทั้งรายได้ของประชาชนเอง และการขาดแคลนบริการทางสุขาภิบาลต่อประชากรในเมือง อาทิ การระบายน้ำ การสุขาภิบาล น้ำสะอาดในเมือง และที่พักอาศัยที่ต่ำกว่ามาตรฐาน อย่างกรณีของเวียงจันท์ซึ่งเป็นเมืองหลวงของลาวนั้น ยังมีเหตุการณ์ความยากจนถึง ร้อยละ 12.2 และทำให้ประชาชนในเมืองนั้นต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายการสุขาภิบาลมากกว่าคนรวย

          3. การเพิ่มแรงกดดันที่มีต่อสถานการณ์สิ่งแวดล้อม อาทิการเปลี่ยนการใช้ที่ดินที่ไม่คำนึงถึงความยั่งยืน การไม่ดูแลพื้นที่ป่า มลพิษทางอากาศ และ ปริมาณขยะ

          4. การเติบโตของประชากรนั้นทำให้มีความต้องการของทรัพยากรต่อการพัฒนามากขึ้น 

          

          UN-Habitat ชี้ว่าการแก้ปัญหาต่ออุปสรรคของการพัฒนาเมืองของลาวนั้นก็คือการวางแผนการพัฒนาเมืองที่คำนึงถึงความยั่งยืนเพื่อคนรุ่นต่อไป และการรักษาสิ่งแวดล้อม อาทิ การออกแบบอาคารที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม การพัฒนาเทคโนโลยีที่เอื้อต่อการพัฒนาเมือง อาทิ ไฟฟ้าพลังลม การเก็บกักน้ำฝน การใช้จักรยานไฟฟ้าแทนมอเตอร์ไซด์ และการใช้หลังคาที่เก็บกักพลังงานจากแสงอาทิตย์ และการสร้างความร่วมมือกับองค์กรพัฒนาระหว่างประเทศ

 

อ้างอิง :http://shows.voicetv.co.th

 

ขอขอบคุณที่มา http://www.scbsme.com/th/business-knowledge/economic/659/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A7-%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B8%AD-%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99-aec


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที