ชัชวาล อรวงศ์ศุภทัต

ผู้เขียน : ชัชวาล อรวงศ์ศุภทัต

อัพเดท: 06 ม.ค. 2016 02.29 น. บทความนี้มีผู้ชม: 4314 ครั้ง

วิทยากรและนักเขียน ผู้เชี่ยวชาญด้านการสรรหาเชิงรุก (Proactive Recruitment), เทคนิคการสัมภาษณ์แบบอิงพฤติกรรมและอิงสมรรถนะ (Behavioral / Competency-based Interview), การสร้างแบบประเมินผลสัมภาษณ์ (Interviewing Evaluation), การทำงานเป็นทีม (Teamworking), การนำทีมสำหรับหัวหน้างาน (Team Leading) และการทำงานอย่างพนักงานมืออาชีพ (Professional Working) โดยติดตามบทความความรู้เรื่องอื่น และข่าวสารการฝึกอบรมของบริษัท โปรเฟสชั่นแนล เทรนนิ่ง แอนด์ คอนซัลแทนซี่ จำกัด ได้ที่

• https://www.facebook.com/protrainandconsult
• https://www.ptc.in.th/


เล่นบทลดความขัดแย้งให้เป็น

ในการทำงานของมนุษย์เงินเดือนเกือบทั้งนั้น มักจะต้องพบเจอเรื่องความขัดแย้งไม่เขาใจกันเป็นเรื่องปกติ คนทำงานจึงอาจจะต้องเล่นบทบาทการเป็นคนกลางไกล่เกลี่ยความบาดหมางระหว่างคนทำงานสองฝ่ายหรือหลายฝ่ายอยู่บ่อยครั้ง  ผมเองก็เป็นคนหนึ่งซึ่งไม่ว่าจะในบทบาทของ HR หรือในฐานะเพื่อนร่วมงานของพนักงานท่านอื่นก็เล่นบาทบาทเช่นนี้ไม่น้อยเช่นกัน  ด้วยเพราะปัญหาความไม่ลงรอย ไม่เข้าใจหรือบาดหมางกันนั้น ไม่นำผลดีมาสู่การทำงานร่วมกันและองค์กรในภาพรวมสักเท่าใดนัก

ทว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะได้รับการยอมรับในบทบาทของคนกลางผู้ประสานหมู่มิตรหรอกครับ  คนที่ทำเช่นนี้ได้ นอกจากจะต้องมีเคมี (chemistry) ที่ต้องใจคนอื่นพอสมควรแล้ว ยังต้องมีวาทศิลป์และมนุษยสัมพันธ์ (human relations) เป็นเยี่ยมอีกส่วนหนึ่งด้วย

จากประสบการณ์ทำงานของผม มีข้อที่อยากแชร์มุมมองของการเล่นบทบาทคนกลางสารสัมพันธ์และลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคลดังนี้ครับ

1.  อย่าอาสาที่จะตัดสินความถูกความผิดของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพราะต่างฝ่ายก็มักจะมีแนวโน้มมองว่าตนเองเป็นฝ่ายถูกเสมอ และท่านเองก็ไม่ใช่ศาลที่สถิตย์ความยุติธรรมและสร้างความยุติธรรมอันพึงพอใจและยอมรับของทุกฝ่ายได้

2.  รับฟังความจากทุกฝ่าย  ไม่พูดจาที่โน้มเอียงเข้าทางฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพื่อโจมตีอีกฝ่ายหนึ่ง  ซึ่งนั่นหมายความว่าท่านจะต้องรคู้จักวางตนเป็นกลาง (neutral) อย่างแท้จริง  ที่ว่ารับฟังความนั้น คือ ฟังเหตุและผล พร้อมข้อเท็จจริงที่สนับสนุนเหตุผลของแต่ละฝ่าย 

3.  มั่นคงที่สิ่งที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์กับองค์กรหรือหน่วยงาน  และมองหาประโยชน์ที่แต่ละฝ่ายจะได้ร่วมกัน (win-win solutions) เพื่อให้ข้อมูลแต่ละฝ่ายให้ลาราวาศอกมาหาจุดยืนที่สมประโยชน์ทั้งส่วนตัวและภาพรวมไปพร้อมกัน

4.  ไม่ก้าวล่วงความอาวุโส โดยเฉพาะกรณีที่รุ่นใหญ่ในองค์กรไม่ลงรอยกัน ยิ่งนับว่าเป็นเรื่องที่ผู้ใหญ่ที่รุ่นใหญ่ยิ่งกว่าจะต้องเข้ามาเคลียร์ ไม่เช่นนั้น ท่านเองนั่นล่ะที่จะถูกมองและตราหน้าจากฝ่ายที่เขาอาวุโสยิ่งกว่าว่าเป็นเด็กไม่รู้กาละเทศะ  ซึ่งผมเองเห็นประสบการณ์คนที่หวังดีแต่รู้เท่าไม่ถึงการณ์มาพอสมควร  หลายเรื่องที่เรามุ่งหวังแต่ทางดี แต่หากใช้มันในสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสม ก็สู้ถือคติ “พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง” ไม่ได้นะครับ

5.  หากคู่ขัดแย้งไม่ลดราวาศอกกัน  ต่อสู้เอาชนะกันแบบจมไม่ลงกันทั้งคู่  ผมแนะนำว่าอย่าเสียเวลาไปเป็นคนกลางลดความขัดแย้งเลยครับ  ปล่อยให้ผู้ใหญ่ในองค์กรเค้าจัดการดีกว่าครับ   

ติดตามอ่านบทความอื่นได้ใน www.ptc.in.th ครับ

ชัชวาล อรวงศ์ศุภทัต  


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที