นักแสวงหา

ผู้เขียน : นักแสวงหา

อัพเดท: 03 เม.ย. 2014 06.08 น. บทความนี้มีผู้ชม: 34201 ครั้ง

การคัดเลือก "คนที่ใช่" ไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้นในการคัดเลือก "คนที่ใช่" สำหรับบริษัทจึงเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง แต่ก็มีวิธีการที่สามารถช่วยในการตัดสินใจคัดเลือก "คนที่ใช่" ให้กับบริษัทได้ด้วยเทคนิคต่าง ๆ ที่มีผู้ใช้ประสบผลสำเร็จมาแล้ว


การคัดเลือก "คนที่ใช่" เข้าสู่บริษัทของคุณ

       หลังจากที่จบการศึกษาจากรั้วมหาวิทยาลัยแล้ว  การค้นหางานที่ตนสนใจที่ตรงกับทักษะและความสามารถ จึงเป็นสิ่งที่ตามมา ดังนั้นการคัดเลือกพนักงานถือเป็นสิ่งที่สำคัญ และเป็นหน้าที่ที่ถือว่าต้องมีความรับผิดชอบสูง เพราะการคัดเลือกพนักงานส่งผลกระทบโดยตรงกับความสามารถในการดำเนินงาน, จริยธรรม, ประสิทธิภาพ รวมถึงสวัสดิภาพของบริษัท

      

อย่างไรก็ตามการคัดเลือก "คนที่ใช่" ไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้นในการคัดเลือก "คนที่ใช่" สำหรับบริษัทจึงเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง แต่ก็มีวิธีการที่สามารถช่วยในการตัดสินใจคัดเลือก "คนที่ใช่" ให้กับบริษัทได้ด้วยเทคนิคต่าง ๆ ที่มีผู้ใช้ประสบผลสำเร็จมาแล้ว

อันดับแรก   ทำความเข้าใจถึงความต้องการขององค์กร

   1.  ต้องทำความเข้าใจความต้องการของบริษัท และวิเคราะห์ตำแหน่งงานที่บริษัทต้องการรับสมัคร
   2. กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบที่พนักงานต้องทำเป็นประจำ รวมถึงลำดับหน้าที่ความรับผิดชอบหลัก ๆ

        ของตำแหน่งงาน ที่ต้องทำในแต่ละวัน
   3.  กำหนดทักษะ ความสามารถ และความรู้เฉพาะด้านที่จำเป็นในการใช้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งงานดัง

         กล่าว
   4.  ตรวจสอบถึงผลงานที่บริษัทต้องการ และแยกให้ออกระหว่าง "สิ่งที่ต้องทำ" กับ "สิ่งที่อยากให้ทำ"
   5. ระบุว่าตำแหน่งงานดังกล่าวต้องการพนักงานที่จบการศึกษาในระดับใด และการศึกษาด้านใดที่จำเป็น

       ต่อการทำงานดังกล่าว ทั้งนี้ต้องแยกให้ออกระหว่าง"ระดับการศึกษาที่จำเป็น" กับ "ระดับการศึกษาที่

       อยากให้มี" สิ่งที่ผู้สมัครศึกษาถือเป็นสิ่งหนึ่งที่สามารถบ่งบอกความสนใจ และความ สามารถในการเรียน

       รู้ของผู้สมัครได้ แต่อย่างไรก็ตามไม่ควรนำประวัติการศึกษามาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจเพียงอย่าง

        เดียว
   6. ระบุประสบการณ์ของตำแหน่งงานที่ต้องการ โดยระบุเป็นช่วง แต่ก็อาจจะพิจารณาผู้สมัครที่ไม่ได้อยู่ใน

        เกณฑ์ที่กำหนดด้วย
   7. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้สมัครมีประสบการณ์และความสามารถเพียงพอที่จะทำงานให้สำเร็จได้
   8. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้สมัครมีความเต็มใจในการทำงานที่ได้รับมอบหมายตามตำแหน่งงานที่

       ได้รับมอบหมาย
   9. ต้องมั่นใจว่าเราสามารถบริหารจัดการคนเหล่านี้ได้

การประเมินความสามารถของผู้สมัคร

สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งในการสัมภาษณ์งานทุกครั้งนั่นก็คือการพิจารณาประวัติการทำงาน ผู้สัมภาษณ์ควรจะเริ่มถามจากคำถามที่ง่าย ๆ ก่อนเพื่อทำให้ผู้เข้ารับการสัมภาษณ์รู้สึกผ่อนคลายและช่วยให้การสัมภาษณ์เป็นไปด้วยดี และต่อไปนี้เป็นคำถามตัวอย่างที่ผู้สัมภาษณ์สามารถใช้ถามเพื่อประเมินความสามารถของผู้สมัคร

- ตอนทำงานอยู่ที่เดิมมีหน้าที่ความรับผิดชอบอะไรบ้าง
- ในการทำงานที่เดิมต้องใช้ความรู้หรือทักษะพิเศษอะไรบ้าง
- ผลงานอะไรที่คุณภูมิใจที่สุด
- โครงการ หรือสิ่งที่คุณคิดว่าสำคัญที่สุดตอนที่ทำงานที่เดิมคืออะไร
- คุณเรียนรู้อะไรบ้างจากงานที่คุณเคยทำ
- คุณจะทำอย่างไรเพื่อให้คุณสามารถก้าวขึ้นไปในตำแหน่งที่สูงขึ้นได้
- อะไรคือเป้าหมายระยะยาวของคุณ และคุณจะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้อย่างไร

 

สร้างความประทับใจตั้งแต่แรกพบ

สิ่งแรกที่ต้องทำนั่นก็คือการสร้างความคุ้นเคยและเป็นกันเองกับผู้เข้ารับการสัมภาษณ์ให้เร็วที่สุด โดยอาจจะไปต้อนรับพวกเขาถามว่าอยากดื่มอะไรไหมการสร้างความเป็นมิตร และต้อนรับอย่างอบอุ่นจะช่วยให้ผู้เข้ารับการสัมภาษณ์ตอบคำถามอย่างเปิดเผยและซื่อสัตย์ สำนักงาน หรือห้องที่จะใช้ในการสัมภาษณ์ ควรจะถูกจัดเตรียมให้มีความเรียบร้อย และสวยงาม โต๊ะที่ใช้ในการสัมภาษณ์ไม่ควรจะโล่งจนเกินไป อาจจะมีกระดาษเตรียมคำถามวางอยู่สัก 2 - 3 แผ่นก็ได้ และพึงระลึกไว้เสมอว่าผู้เข้ารับการสัมภาษณ์กำลังประเมินว่าพวกเขาจะเข้าทำงานหรือไม่ผ่านผู้สัมภาษณ์ และสภาพแวดล้อมในบริษัทตั้งแต่พวกเขาก้าวเข้ามาในบริษัทด้วยเช่นกัน

 

อันดับสอง  การสัมภาษณ์เพื่อตัดสินใจคัดเลือก "คนที่ใช่"

 

เมื่อมีการตรวจสอบการวิเคราะห์งาน สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์และเตรียมคำถามแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือขั้นตอนการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว

นอกจากนี้ในการสัมภาษณ์ คุณอาจใช้คำถาม หรือการทดสอบเพิ่มเติมมาประยุกต์ใช้ในการประเมินเพื่อให้ครอบคลุมทักษะอื่น ๆ ตามความเหมาะสมซึ่งจะช่วยให้คุณทราบถึงความสามารถของผู้เข้ารับการสัมภาษณ์ในด้านอื่น ๆ ที่หลากหลายขึ้นด้วย



ผู้สมัครมีความตั้งใจที่จะทำงานนั้น ๆ หรือไม่

หลังจากที่ได้ผู้สมัครที่ผ่านการสัมภาษณ์มาจำนวนหนึ่ง

ขึ้นตอนต่อไปก็คือการค้นหาว่าผู้สมัครต้องการทำงานที่ในตำแหน่งดังกล่าวและเข้ากับวัฒนธรรมองค์กรของคุณได้หรือไม่

- ในความคิดของคุณ สภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดีควรเป็นอย่างไร
- งานประเภทไหนอะไรที่คุณสนใจและรักที่จะทำ
- ในการทำงานคุณมีการวางแผน และจัดการการทำงานอย่างไรบ้าง
- งานประเภทไหนที่คุณต้องใช้ความทุ่มเทในการทำงาน และต้องใช้เวลาในการทำเป็นพิเศษ
- อะไรเป็นแรงผลักดันในการทำงานของคุณ
- อะไรคือเป้าหมายในชีวิตของคุณ และตอนนี้มีเป้าหมายอะไรเป็นพิเศษและคุณจะทำให้สำเร็จอย่างไร
- คุณสามารถบรรลุเป้าหมายต่าง ๆ ที่คุณตั้งไว้มากน้อยเพียงใด
- ในการทำงานอะไรที่จะทำให้งานของคุณไม่เป็นไปตามที่คุณคาดหวังบ้าง
- คุณวางแผนการใช้ชีวิตในแต่ละวันหรือไม่ อย่างไร
- โดยปกติแล้วคุณสามารถทำงานที่ท้าทายได้สำเร็จมากน้อยเพียงใด
- คุณคิดว่าตัวคุณประสบความสำเร็จในชีวิตหรือยัง และทำไมคุณจึงคิดเช่นนั้น
- หนังสือแนวไหนที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตของคุณมากที่สุด ทำไม และมันทำให้คุณเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง

การนำกฎ 80/20 มาประยุกต์ใช้

ในระหว่างการสัมภาษณ์ให้พึงระลึกไว้เสมอว่าให้ใช้เวลาในการถามประมาณ 20% และให้เวลาผู้เข้ารับการสัมภาษณ์ประมาณ 80% เพราะยิ่งผู้สัมภาษณ์ใช้เวลาในการพูดมากเท่าไรก็จะยิ่งทำให้เวลาที่ผู้เข้ารับการสัมภาษณ์ตอบคำถามเหลือน้อยลงเท่านั้น และเตรียมตัวไว้ล่วงหน้าว่าคุณจะถามอะไรผู้เข้ารับการสัมภาษณ์บ้าง เพื่อที่คุณจะได้สามารถตั้งใจฟังสิ่งที่ผู้เข้ารับการสัมภาษณ์ตอบได้อย่างเต็มที่



สนับสนุนการตอบคำถามแบบตรงประเด็น

ต้องตระหนักไว้เสมอว่าผู้ถามเป็นคนที่ควบคุม และชี้นำทิศทางของการสนทนา และผู้เข้ารับการสัมภาษณ์ที่ดีจะต้องสามารถควบคุมการสัมภาษณ์ตั้งแต่วินาทีแรกจนถึงวินาทีสุดท้ายของการสัมภาษณ์ ในกรณีที่ผู้เข้ารับการสัมภาษณ์ตื่นเต้น เราอาจบอกให้ผู้เข้ารับการสัมภาษณ์หยุด และใช้เวลาในการคิดเพื่อตอบคำถามก่อนก็ได้ ในกรณีที่ผู้เข้ารับการสัมภาษณ์เป็นคนที่ช่างพูดและตอบคำถามออกนอกประเด็นเราต้องควบคุมการสัมภาษณ์ให้กลับเข้ามาในประเด็น เช่น กล่าวว่า "คุณนก เรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากเลยครับ/ค่ะ แต่เราจะกลับมาคุยเรื่องนี้อีกทีนะครับ/ค่ะ ตอนนี้ ขอให้คุณนก เล่าถึง (ประเด็นที่กำลังพูดถึง) ...."

อันดับสาม  การจบการสัมภาษณ์มีความสำคัญไม่แพ้กับการเริ่มต้นการสัมภาษณ์

การปิดการสัมภาษณ์ที่ดีจะช่วยเพิ่มโอกาสที่ผู้สมัครจะตอบรับเข้าทำงาน โดยคุณอาจจะใช้คำถามต่อไปนี้ เป็นคำถามปิดการสัมภาษณ์

- คุณรู้สึกอย่างไรบ้างถ้าหากคุณจะได้เข้ามาทำงานที่นี่
- อะไรทำให้คุณสนใจที่สุดเกี่ยวกับงานนี้
- อะไรบ้างที่คุณกังวล
- คุณจะตอบรับหรือไม่ ถ้าเรารับคุณเข้าทำงาน
- คุณเคยไปสัมภาษณ์งานที่อื่นหรือไม่
- อะไรที่คนอื่นทำไม่ได้ แต่คุณสามารถทำให้กับบริษัทได้บ้าง
- ถ้าเรารับคุณเข้าทำงาน เจ้านายเก่าของคุณจะว่าอย่างไรบ้าง

 

อันดับสี่  เลือกคนที่ดีที่สุด 3 คน และคัดเลือกให้เหลือเพียงคนเดียว

 

หลังจากที่สัมภาษณ์ การตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ เช่น บุคคลอ้างอิง ระดับการศึกษา ประกาศนียบัตร และเงินเดือนเสร็จสิ้นไปแล้ว ต่อไปเป็นขั้นตอนของการตัดสินใจว่าคุณจะเลือกผู้สมัครคนใด



เมื่อกลับมาดูสิ่งที่คุณบันทึกไว้เกี่ยวกับผู้สมัครแต่ละคน และทบทวนตรวจสอบอย่างละเอียดแล้ว สิ่งที่ต้องระวังอีกอย่างหนึ่งก็คือผู้สมัครที่ออกจากงานเก่าโดยไม่มีเหตุผลเพียงพอ ผู้สมัครที่มาสัมภาษณ์ไม่ตรงเวลาโดยปราศจากคำอธิบายที่มีเหตุผล รวมถึงผู้สมัครที่ไม่สามารถยืดยันบุคคลอ้างอิงต่าง ๆ ได้



ย้ำอีกครั้งหนึ่ง "คนที่ใช่" สำหรับบริษัทของคุณ ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้ อันดับแรกคือต้องสามารถทำงานตามตำแหน่งนั้น ๆ ได้ อันดับสองคือสามารถทำงานเป็นทีมและสามารถจัดการได้ หากเป็นผู้เชี่ยวชาญก็ควรเป็นคนที่เหมาะสมกับภาพลักษณ์ของบริษัท และไม่อยู่ในบริษัทคู่แข่ง องค์ประกอบต่อมาคือต้องเป็นผู้ที่มีคุณวุฒิภาวะทางอารมณ์ มีเหตุผล และการตัดสินใจที่ดี คนที่มีคุณสมบัติครบถ้วนจะถือเป็นทรัพย์สินที่มีค่าอย่างมากของบริษัท



แต่คนที่เหมาะสมและผ่านการกลั่นกรองมาแล้วมักจะไม่ได้มีอยู่เพียงแค่คนเดียว ดังนั้นจึงต้องรวบรวมความเห็นของผู้สัมภาษณ์คนอื่น ๆ และลำดับผู้สมัครที่ดีที่สุด 3 คน เผื่อไว้ในกรณีที่ตัวเลือกที่ดีที่สุดคนแรกของคุณปฏิเสธการเข้าทำงาน

ยิ่งคุณอยากได้ผู้สมัครที่ดีเท่าไร คุณก็ต้องใช้ความพยายามในการแย่งชิงให้ได้มามากเท่านั้น เมื่อคุณหา "คนที่ใช่" สำหรับบริษัทของคุณเจอแล้ว คุณจะต้องรีบตอบรับ "คนที่ใช่" คนดังกล่าวโดยไม่รีรอ และให้ "คนที่ใช่" คนนี้เริ่มทำงานให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะเวลาอาจจะทำให้ผู้สมัครเปลี่ยนใจ หรือในสถานการณ์เลวร้ายที่สุดพวกเขาอาจจะตอบรับเข้าทำงานในบริษัทคู่แข่งของเราก็ได้



ถ้าคุณตกอยู่ในสถานการณ์ที่ผู้สมัครปฏิเสธการเข้าทำงานเพราะบริษัทเดิมของผู้สมัครเสนอให้ค่าตอบแทนเพิ่ม คุณควรเตือนผู้สมัครด้วยว่า 80% ของข้อเสนอแบบดังกล่าวมักจะถูกยกเลิกภายใน 6 - 12 เดือน ในขณะเดียวกัน 50% ของผู้สมัครที่ตอบรับข้อเสนอแบบดังกล่าวจะเริ่มหางานใหม่ภายใน 90 วัน เพราะการรับข้อเสนอประเภทดังกล่าวอาจส่งผลเสียต่องานของพวกเขาเอง รวมถึงอาจส่งผลต่อการหางานใหม่ในครั้งต่อ ๆ ไปด้วย



และนี่ก็เป็นหนึ่งในวิธีการที่ดีที่สุดที่จะช่วยให้คุณสามารถเฟ้นหา "คนที่ใช่" ให้เข้ามาอยู่กับคุณ

 

 

ที่กล่าวมา คือ ทฤษฎีเบื้องต้น ก่อนที่เราจะสมัครทำงาน และ ทางบริษัท ในการคัดเลือก ทรัพยากร  

ทั้งนี้ ขอให้โชคดีกับการได้งานใหม่

ขอบคุณแหล่งที่มา :https://www.adecco.co.th/employers/adecco-thought-leadership-detail.aspx?id=1105&c=1

ขอบคุณแหล่งที่มา : http://www.saf.mut.ac.th/Pages/work/sara.4.html 

ขอบคุณแหล่งที่มา : http://dit.dru.ac.th/home/023/psychology/chap6.html

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที