โรงงานอุตสาหกรรมเป็นแหล่งที่เต็มไปด้วยเครื่องจักรเล็กใหญ่ และอุปกรณ์ทั้งหลายในการแปรรูปวัตถุดิบ ซึ่งเครื่องจักรและอุปกรณ์เหล่านี้นอกจากมีคุณประโยชน์ที่ช่วยแบ่งเบาหน้าที่คนงานในโรงงานแล้วยังมีความเป็นอันตรายต่อคนงานด้วย นั่นก็คือการเกิดอุบัติเหตุในการทำงาน ถ้าคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ 85% ในการเกิดอุบัติเหตุนี้จะมาจากการกระทำของคนงาน ส่วนอีก 15% จะมาจากสภาพการณ์ในที่ทำงาน อธิบายได้ว่า
การกระทำที่ไม่ปลอดภัย หรือ Unsafe Act คือการกระทำหรือการปฏิบัติงานของคนงานที่มีผลทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยต่อตนเองและผู้ร่วมงานคนอื่น ยกตัวอย่างเช่น การทำงานไม่ถูกวิธี การทำงานลัดขั้นตอน ไม่ทำตามกฎระเบียบ ข้อบังคับ, ความประมาท, การถอดเครื่องกำบังของเครื่องจักรออก และสภาพจิตใจที่ไม่พร้อมทำงาน เช่นไม่สบาย, เพิ่งทะเลาะกับคนในครอบครัวมา ฯ
สภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย หรือ Unsafe Condition คือสภาพของโรงงานอุตสาหกรรม เรื่องจักร กระบวนการผลิต อุปกรณ์ในการผลิตต่างๆ ไม่มีความปลอดภัยเพียงพอ ยกตัวอย่างเช่นการออกแบบโรงงานและการวางแผนผังที่ไม่เหมาะสม, ไม่มีการ์ดกำบังป้องกันในส่วนที่เครื่องจักรเคลื่อนไหว, เครื่องจักรและอุปกรณ์ขดการบำรุงรักษาที่ดี และสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่นแสงสว่างที่พื้นที่การทำงานไม่เพียงพอ, เสียงเครื่องจักรที่ดังเกินมาตราน, ความร้อนในโรงงาน, ฝุ่นละออง ฯ
เพื่อความปลอดภัยจากอันตรายต่างๆภายในโรงงาน ก็ได้มีการเพิ่มสีและสัญลักษณ์เป็นแบบสากลมาช่วยเตือนคนที่ทำงานอยู่ในโรงงานอยู่หลายอย่างด้วยกัน งั้นเรามาทำความรู้จักและทำความเข้าใจกับสีและสัญลักษณ์เครื่องหมายความปลอดภัยตามข้อมูลข้างล่างนี้กันดีกว่า
เรามาดูตัวอย่างป้ายความปลอดภัยของแต่ละสีกันต่อดีกว่า
เพื่อความปลอดภัยก็ได้มีเพิ่มมาตรการในการป้องกันอุบัติเหตุขึ้นมาด้วย มีการป้องกัน 3 ด้านด้วยกัน
การป้องกันที่เครื่องจักรหรือแหล่งกำเนิด
1. การออกแบบเครื่องจักรโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน
2. สร้างการ์ดครอบส่วนที่เป็นอันตราย
3. สร้างสิ่งกีดขวางไม่ให้คนเข้าใกล้ส่วนที่เป็นอันตราย
4. ติดตั้งสวิตซ์แบบกดปุ่ม 2 มือ
5. ติดตั้งสวิตซ์แบบหยุดเครื่องจักรฉุกเฉิน
6. มีการตรวจรักษาและซ่อมบำรุงเครื่องจักรเป็นประจำสม่ำเสมอ
การป้องกันที่ทางผ่าน
1. กำหนดขั้นตอนการทำงานที่ปลอดภัยเป็นระเบียบ
2. จัดสถานที่ทำงานให้สะอาด
3. จัดเก็บเครื่องมือ วัตถุดิบในจุดที่กำหนด
4. ติดตั้งป้ายหรือสัญญาณเตือนอันตราย
5. อย่าวางสิ่งของกีดขวางทางเดิน ทางออกฉุกเฉิน ฯ
6. สร้างฉากเพื่อแยกส่วนที่เป็นอันตรายออกจากพื้นที่ปฏิบัติงาน
การป้องกันที่ผู้ปฏิบัติงาน
1. สวมเครื่องแบบที่ถูกต้องรัดกุม
2. การปฏิบัติตามระเบียบงาน/ตามคู่มือปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัด
3. ใช้อุปกรณ์ป้องกันันตรายส่วนบุคคลอย่างถูกต้องและเหมาะสม
4. ออกแบบเครื่องมือกลเพื่อใช้ทำงานแทนคนในงานที่มีความเสี่ยงสูง
5. ออกแบบกฎระเบียบข้อบังคับในการทำงาน
ขอบคุณข้อมูลจาก :
http://www.essex.ac.uk/ohsas/hazsubs/Safety_Signs_Regs_L64.pdf
www.tabunchon.com/images/1192064599/safety4.doc
http://www.jorpor.com/SH/OHM/Safety%20first%20employee.pps
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที