หมูน้อย

ผู้เขียน : หมูน้อย

อัพเดท: 25 มี.ค. 2014 10.43 น. บทความนี้มีผู้ชม: 6545 ครั้ง

การป้องกันอาการบาดเจ็บจากการใช้คอมพิวเตอร์


การป้องกันอาการบาดเจ็บจากการใช้คอมพิวเตอร์

 

          ในทุกวันนี้คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของราอย่างมาก ทั้งด้านการทำงาน, การติดตามข่าวสาร, การคลายเครียดด้วยการเล่นเกมส์, ฟังเพลง, หรือแม้กระทั่งการดูหนัง ซึ่งเพราะเหตุต่างๆนี้เองทำให้คนเรานั่งอยู่หน้าจอคอมเป็นเวลานานๆ

          ด้วยเหตุนี้เอง จะทำให้เรามีอาการต่างๆ ดังนี้ ปวดต้นคอและหัวไหล่, ปวดสะบัก ปวดข้อมือและนิ้วมือ, ปวดแสบร้อนหรือระคายเคืองใบ-หน้าและลูกตา, ปวดศีรษะหรือเวียนศีรษะ, ปวดหลัง ปวดตะโพก ปวดน่อง, ปวดใต้ข้อพับ ปวดเท้า

          โดยบริเวณที่เกิดอาการดังกล่าวอาจคลำพบลำกล้ามเนื้อตึงแข็งและอาจมีจุดกดเจ็บ ทำให้มีการจำกัดการเคลื่อนไหวหรือเมื่อทำการเคลื่อนไหวแล้วอาจพบอาการเจ็บปวดมากขึ้น กลุ่มอาการที่เกิดขึ้นกับนักเล่นคอมพิวเตอร์นี้เรียกว่า คอมพิวเตอร์ซินโดรม (Computer syndrome)

 

 

การป้องกันหรือการลดอาการปวดหรือความเมื่อยล้าจากการทำงาน เราสามารถทำได้ง่ายๆโดย

- ปรับให้หน้าจอคอมอยู่กลางตัวและตรงหน้าของคุณ

- ปรับให้ขอบบนของจอคอมอยู่สูงเหนือระดับสายตาเราประมาณ 2-3  นิ้ว

- นั่งห่างจากจอประมาณ 1 ช่วงแขน

- วางตำแหน่งจอให้ไม่มีแสงสะท้อนจากไฟหรือหน้าต่าง (ปรับจอให้ก้มหรือเงยเพื่อลดแสงสะท้อนจากไฟเพดานหรือจะใช้พวก filter ฟิลม์กันหน้าจอ ที่ลดการสะท้อนก็ได้ค่ะ)

- วางโทรศัพท์ในระยะใช้งานถึงโดยไม่ต้องเอื้อม

 

 

- วาง Keyboard ใกล้ลำตัว (อย่าวาง Keyboard ห่างตัวมากๆ)

- วาง Keyboard ด้านหน้าลำตัวเราตรงๆ

- หาว่าส่วนไหนของ Keyboard เราใช้บ่อยที่สุด แล้วก็ปรับตำแหน่งตรงส่วนนั้นให้อยู่ตรงกลางลำตัวเรา

- ปรับความสูงของ Keyboard ให้ไหล่เรารู้สึกผ่อนคลายเวลาพิมพ์ (ไม่ต้องรู้สึกว่าเรายกไหล่ หรือไหล่ห้อย) , ปรับข้อศอกให้ทำมุมเปิดประมาณ 100 ถึง 110 องศา, ข้อมือและมือเหยียดตรงขนานกับท่อนแขน

- ปรับความเอียงของ Keyboard , ปกติมุมบนซ้ายและขวาของ Keyboard จะมีที่ปรับให้ Keyboard เอียงมากเอียงน้อยได้ …, ให้เราปรับให้ keyboard เอียงเข้ามาหาตัวเราเล็กน้อย (เมื่อเรานั่งเอน มุมข้อมือเราจะเงยขึ้นนิดหน่อย และการที่จะทำให้ข้อมือขนานกับท่อนแขน keyboard ก็ต้องเอียงเข้ามาหาตัวเรา)

- ในการใช้ Keyboard และ Mouse ควรวางมือให้อยู่ในแนวตรง ไม่ควรกระดก งอ หรือเอียงมือเกินไป

  


 

- นั่งให้เต็มก้น ไม่ใช่นั่งแค่ปลายๆ ของเก้าอี้

- ปรับความสูงของเก้าอี้ ให้ฝ่าเท้าแตะพื้นได้เต็มเท้าพอดี (เท้าไม่ลอย, แล้วไม่ต้องงอเข่ามาก) และหัวเข่าก็อยู่ในแนวเดียวกันกับสะโพก หรือต่ำกว่าเล็กน้อย

- ปรับพนักพิงหลังให้พอ เราควรจะนั่งเอนไปข้างหลังเล็กน้อย ไม่ใช่นั่งหลังตรงดิ่ง 90 องศา หรือว่านั่งหลังค่อมโน้มตัวมาข้างหน้า

- ปรับที่พิงแขน ให้หัวไหล่รู้สึกผ่อนคลาย วางท่อนแขนล่างทำมุมกับท่อนแขนบนได้ประมาณ 90 องศา

- เก้าอี้ควรมีล้อ 5 ล้อเพื่อเพิ่มความมั่นคง

          นอกจากนี้ ถ้ามีเอกสารควรวางเอกสารด้านหน้า ระหว่างจอคอมกับkeyboard หรือ วางเอกสารด้านหน้าและให้ย้ายจอคอมพิวเตอร์ไปด้านข้างเล็กน้อย


           ส่วนการทำงานที่ต้องใช้ Computer notebook เป็นระยะเวลานานควรต่อ Mouse, Keyboard 
หรือ จอ Monitor เพิ่มเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้งานในท่าทางที่ไม่ถูกต้อง

 

 

ท่าทางการออกกำลังกายเพื่อลดความเมื่อยล้าขณะทำงาน

การออกกำลังกายในแต่ละท่า ควรทำค้างไว้ 10 วินาที และทำซ้ำท่าละ 10 ครั้ง 

(การเลือกท่าบริหารและจำนวนครั้งสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความสะดวกและอาการของแต่ละบุคคล)

นอกจากนี้ควรออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้อและปรับเปลี่ยนท่าทางทุกๆชั่วโมง

เพื่อให้กล้ามเนื้อได้พักและผ่อนคลาย

 


ขอบคุณข้อมูลจาก :

http://www.toptenthailand.com/review/detail/20140321142859957

http://xn--12c2dfh3fc.com/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C/

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที