นิรนาม

ผู้เขียน : นิรนาม

อัพเดท: 15 ม.ค. 2015 08.20 น. บทความนี้มีผู้ชม: 522965 ครั้ง


วิชาฟิสิกส์ เป็นวิชาพื้นฐานของความรู้ในทางวิทยาศาสตร์มากมายหลากหลายสาขา ไม่ว่าจะเป็น นักวิทยาศาสตร์, วิศวกร, แพทย์, ทหาร ฯลฯ
หนังสือเล่มนี้ จะกล่าวถึง 6 ภาคหลัก ๆ ได้แก่
1. กลศาสตร์คลาสสิก
2. ทฤษฏีสัมพันธภาพ
3. อุณหพลศาสตร์
4. แม่เหล็กไฟฟ้า
5. แสง
6. กลศาสตร์ควอนตัม

ส่วนในตอนท้ายจะกล่าวถึง ความรู้ทางปรัชญา ศาสนา นั่นก็คือมิลินทปัญหา (ฉบับธรรมทาน) เพื่อให้นอกจากจะมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์แล้ว ก็ยังมีความรู้ในทางปรัชญา ศาสนา ใช้เป็นแนวคิดของชีวิตได้ด้วย เพือเป็นการพัฒนาทางด้านจิตใจ
วัตถุประสงค์ที่ทำมาให้อ่านก็เพื่อความรู้ และที่สำคัญเพื่อการพัฒนาประเทศไทยให้มีความเจริญก้าวหน้า ทัดเทียม หรือเหนือกว่าประเทศพัฒนาแล้ว


ตอนนี้ยังเขียนไม่เสร็จ มีจำนวนเยอะมาก อีกทั้งยังต้องขัดเกลาให้อ่านได้ง่าย และมีงานที่ต้องรับผิดชอบด้วย จะพยายามเขียนให้อ่านกันเร็ว ๆ นะ แล้วเราจะเรียนรู้ไปด้วยกัน
www.thummech.com


1 เกริ่นนำ (1)

 

ฟิสิกส์

 

 

เกริ่นนำก่อนเข้าไปเรียนรู้

 

 

      ฟิสิกส์ (Physics) เป็นพื้นฐานวิทยาศาสตร์ทางกายภาพ ที่มีความสัมพันธ์กับหลักการพื้นฐานของสิ่งทั้งมวล อีกทั้งมันยังเป็นรากฐานของวิทยาศาสตร์ด้านอื่น เช่น ดาราศาสตร์ (Astronomy), ชีววิทยา (Biology), เคมี (Chemistry), ธรณีวิทยา (Geology), วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) ฯลฯ ความสวยงามของฟิสิกส์ตั้งอยู่ในความเรียบง่ายของหลักการพื้นฐานของมัน และในรูปแบบแนวคิดเล็กน้อย มีการสร้างแบบจำลอง ก็สามารถปรับเปลี่ยน และขยายเพื่อมองให้เห็นถึงภาพรวมของสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเรา

 

 

การศึกษาฟิสิกส์สามารถแบ่งออกได้เป็นหกภาคหลัก ได้แก่:

 

 

1.  กลศาสตร์แบบคลาสสิก หรือดั้งเดิม (Classical mechanics) ศึกษาเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของวัตถุที่เป็นขนาดใหญ่ที่สัมพันธ์กับอะตอม และเคลื่อนที่ด้วยความเร็วมาก แต่น้อยกว่าความเร็วแสง

 

 

รูปฟิสิกส์กลศาสตร์

 

 

2.  สัมพันธภาพ (Relativity) การอธิบายทฤษฏีวัตถุเคลื่อนที่ที่ความเร็วใด ๆ หรือแม้ความเร็วเข้าสู่ความเร็วแสง

 

 

รูปฟิสิกส์สัมพันธภาพ

 

 

รูปทฤษฏีสัมพันธภาพ

 

 

วิดีโอฟิสิกส์สัมพันธภาพ 1

 

 

วิดีโอฟิสิกส์สัมพันธภาพ 2

 

 

3.  อุณหพลศาสตร์ หรือเทอร์โมไดนามิกส์ (Thermodynamics) มีความสัมพันธ์เกี่ยวกับความร้อน, งาน, อุณหภูมิ และพฤติกรรมทางสถิติของระบบพร้อมกันจำนวนมากของอนุภาค

 

 

รูปฟิสิกส์อุณหพลศาสตร์

 

 

4.  แม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetism) เกี่ยวกับไฟฟ้า, แม่เหล็ก และสนามแม่เหล็กไฟฟ้า

 

 

รูปรถไฟความเร็วสูงเป็นความรู้ทางฟิสิกส์แม่เหล็กไฟฟ้า

 

 

5.  แสง (Optics) การศึกษาพฤติกรรมของแสง และปฏิกิริยาของแสงกระทำต่อวัตถุ

 

 

รูปไยแก้วนำแสงเป็นหนึ่งในความรู้ฟิสิกส์แสง

 

 

6.  กลศาสตร์ควอนตัม (Quantum mechanics) เป็นการรวบรวมทฤษฏีเชื่อมต่อพฤติกรรมของเหตุการณ์ที่ได้จากการสังเกตการณ์ ตั้งแต่ขนาดที่เล็กมาก (Submicroscopic) ไปจนถึงขนาดใหญ่มาก

 

 

รูปฟิสิกส์ควอนตัม

 

 

      กลศาสตร์ และแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นพื้นฐานที่สำคัญในสาขาทั้งหมดของฟิสิกส์แบบคลาสสิก (ก่อนปี พ.ศ. 2530) และฟิสิกส์สมัยใหม่ (หลังจากปี พ.ศ.2530 จนถึงปัจจุบัน) ในภาคแรกของหนังสือเล่มนี้จะกล่าวถึงกลศาสตร์คลาสสิก ในบางครั้งจะกล่าวถึง กลศาสตร์นิวโตเนียน (Newtonian mechanics) หรือกลศาสตร์อย่างง่าย โดยจะมีหลักการ และแบบจำลองมากมาย ที่ใช้เพื่อทำความเข้าใจระบบกลไกซึ่งเป็นทฤษฏีที่สำคัญในทางฟิสิกส์ และสามารถใช้อธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติมากมาย เพราะฉะนั้น กลศาสตร์ดั้งเดิมเป็นแนวทางที่สำคัญมากในการศึกษาเรื่องราวทั้งหมด

 

 

ปัญหาพระยามิลินท์

 

 

เกริ่นนำก่อน

 

            เดิมมีกษัตริย์ชาวโยนกพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่าพระเจ้ามิลินท์ เสวยราชสมบัติอยู่ในสาคลราชธานี  พระองค์มีพระปรีชาเฉลียวฉลาดว่องไว สามารถทรงทราบเหตุการณ์ได้ทันท่วงทีและมักพอพระราชหฤทัยในการไล่เลียงคำถามกับเจ้าลัทธิต่าง ๆ ในสมัยนั้น จนนักปราชญ์ในสมัยนั้นครั่นคร้ามไม่กล้าจะทูลโต้ตอบพระราชปุจฉาได้

 

 

      ในสมัยเดียวกันนั้น ก็มีพระเถระองค์หนึ่งชื่อว่า อัสสคุต อาศัยอยู่ที่ถ้ำรักขิตคูหา ณ ป่าหิมพานต์เมื่อได้ทราบพระเกียรติคุณของพระเจ้ามิลินท์  ดังนั้น จึงประชุมสงฆ์ไต่ถามว่า รูปใดจะสามารถแก้ปัญหาถวายพระเจ้ามิลินท์ได้บ้าง สงฆ์ทุกรูปต่างพากันนิ่ง พระอัสสคุตจึงว่า มีเทพบุตรฉลาดอยู่องค์หนึ่งชื่อว่า มหาเสน อยู่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ นั่นแล  จะเป็นผู้สามารถโต้ตอบกับพระเจ้ามิลินท์ได้

 

 

      สังฆสมาคมจึงตกลงพร้อมกันขึ้นไปยังเทวโลก เล่าเรื่อง และความประสงค์ให้พระอินทร์และมหาเสนเทพบุตรฟังจนตลอด ครั้นอัญเชิญมหาเสนเทพบุตรได้สมประสงค์แล้ว จึงพากันกลับมายังโลกมนุษย์ แล้วจัดให้พระโรหณเถระเข้าไปหา เพราะมีความนิยมนับถือกันกับ ตระกูลโสณุตตรพราหมณ์    ซึ่งเป็นตระกูลที่มีมหาเสนเทพบุตรจะจุติลงมาเกิด จนตระกูลนั้นเกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา

 

 

      ฝ่ายมหาเสนเทพบุตร เมื่อรับอัญเชิญจากคณะสงฆ์แล้วก็จุติลงมาเกิด ในตระกูลโสณุตตรพราหมณ์ ตำบลชังคลคามริมป่าหิมพานต์ ได้นามว่า นาคเสนกุมาร   เมื่อเติบโตขึ้นก็ได้รับการศึกษาศิลปวิทยาจากสำนักครูทั้งหลาย ตลอดจนไตรเพท อันเป็นคัมภีร์สำคัญของพราหมณ์ก็ได้ศึกษาจนชำนิชำนาญ ครั้นแล้วจึงมารำพึงว่า วิชาเหล่านี้ไม่มีแก่นสารอะไร ก็เกิดความเบื่อหน่าย

 

      อยู่มาวันหนึ่ง พระโรหณเถระเข้าไปฉันที่บ้านโสณุตตรพราหมณ์ พอนาคเสนกุมารเห็นก็นึกแปลกใจทันที จึงเรียนถามว่า ทำไมท่านจึงต้อง โกนผมโกนหนวดและต้องนุ่งห่มผ้าเหลือง ครั้นรู้เหตุผล จึงเรียนถามอีกว่า คนเพศเช่นท่านได้รับศึกษาวิชาอะไรบ้าง เมื่อได้รับตอบว่าได้รับศึกษา วิชาอย่างสูงสุดในโลก จึงไปขออนุญาตต่อบิดามารดาบวชเรียนบ้าง 

 

 

      ครั้นบวชเป็นสามเณรแล้ว ก็เล่าเรียนพระไตรปิฎกในสำนักพระโรหณเถระ พออายุเต็ม ๒๐ ก็บวชเป็นพระภิกษุ ศึกษาต่อไปจนเชี่ยวชาญแตกฉานในพระไตรปิฎก เมื่อพระอัสสคุตรู้ว่า พระนาคเสนเชี่ยวชาญดีแล้ว  จึงนำไปหา พระอายุปาลเถระ ที่สังเขยบริเวณ (ใกล้พระราชวังพระเจ้ามิลินท์) เพื่อจะได้มีโอกาสถวายวิสัชนาพระราชปุจฉา

 

 

      วันหนึ่งพระเจ้ามิลินท์ตรัสถามเหล่าอำมาตย์ว่า เห็นมีใครบ้างซึ่งพอจะโต้ตอบกับเราได้  เหล่าอำมาตย์จึงกราบทูลว่า มีพระเถระอยู่รูปหนึ่ง ชื่อว่า อายุปาละ พอจะถวายวิสัชนา แก้ปัญหาของพระองค์ได้

 

 

      เมื่อทรงทราบดังนั้นก็เสด็จไปหาพระอายุปาลเถระตรัสถามปัญหาแรก พระอายุปาลเถระก็ถวาย วิสัชนาให้ทรงสิ้นสงสัยไม่ได้

 

 

      ขณะนั้นเทวมันติยอำมาตย์จึงกราบทูลว่า ยังมีพระภิกษุอยู่รูปหนึ่งชื่อว่า พระนาคเสน เป็นผู้มีปฏิภาณแตกฉานในพระไตรปิฎก พอพระเจ้ามิลินท์ทรงได้ยินนามว่า นาคเสน ก็ทรงหวาดพระราชหฤทัย

 

 

      สาเหตุก็เป็นเพราะว่า เมื่อในอดีตชาติที่ผ่านมา ในยุคศาสนาของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า  พระเจ้ามิลินท์บวชเป็นสามเณรอยู่ในสำนักของ พระนาคเสน (ซึ่งในครั้นกระนั้น ท่านเป็นพระภิกษุรูปหนึ่ง)

 

 

        วันหนึ่งพระภิกษุรูปนั้น (คือพระนาคเสน) กวาดหยากเยื่อกองไว้ แล้วเรียกให้สามเณรมาขน สามเณรแกล้งทำเป็นไม่ได้ยินเสียง ท่านจึงบันดาลโทสะหยิบเอาไม้กวาดตีสามเณรๆ ก็จำใจขน ครั้นขนเสร็จแล้ว จึงตั้งความปรารถนาว่า ด้วยผลบุญแห่งการขนหยากเยื่อทิ้งนี้  ชาติต่อไปขอให้มีเดชศักดานุภาพใหญ่หลวง และขอให้มีปัญญาเฉียบแหลมกว่าชนทั้งปวง

 

 

        พระภิกษุรูปนั้นรู้ว่าสามเณรตั้งสัตยาธิษฐานเช่นนั้น จึงปรารถนาบ้างว่า ด้วยเดชแห่งกุศลที่ข้าพเจ้าได้กวาดหยากเยื่อนี้ ชาติต่อไปขอให้มีปฏิภาณว่องไวสามารถโต้ตอบปัญหาแม้ของ สามเณรนี้ได้

 

 

      เมื่อพระเจ้ามิลินท์ทรงทราบข่าวจากเทวมันติยอำมาตย์ดังนั้น จึงเสด็จไปหาพระนาคเสนยังที่อยู่

 

 

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที