จริยา

ผู้เขียน : จริยา

อัพเดท: 13 ก.พ. 2014 13.38 น. บทความนี้มีผู้ชม: 130457 ครั้ง

คุณกำลังมีอาการแบบนี้หรือไม่...มึนชาตามร่างกาย คลื่นไส้ปั่นป่วนท้อง เจ็บหน้าอก ใจสั่น ตัวสั่นมือสั่น หายใจไม่อิ่ม หากใช่คุณกำลังป่วยเป็นโรคแพนิค ซึ่งอาการต่างๆ จะค่อยๆ รุนแรง แต่จะทุเลาลงหรือเกือบหายในเวลา 30 นาที


เช็ค 13 อาการสัญญาณบอก (โรคแพนิค)

คุณกำลังมีอาการแบบนี้หรือ ไม่...มึนชาตามร่างกาย คลื่นไส้ปั่นป่วนท้อง เจ็บหน้าอก ใจสั่น ตัวสั่นมือสั่น หายใจไม่อิ่ม หากใช่คุณกำลังป่วยเป็นโรคแพนิค ซึ่งอาการต่างๆ จะค่อยๆ รุนแรง แต่จะทุเลาลงหรือเกือบหายในเวลา 30 นาที

เพจ คลินิกสุขภาพจิตนายแพทย์เจษฎา จัดทำอินโฟกราฟฟิคแนะนำ 13 อาการที่บ่งบอกว่าเป็นโรคแพนิค รายละเอียดดังนี้ 

โรคแพนิค (Panic Disorder) เป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่งที่มีคนเป็นกันมากและเป็นกัน

มานานแล้ว แต่ประชาชนทั่วไปมักไม่ค่อยรู้จักและยังไม่มีชื่อโรคอย่างเป็นทางการในภาษาไทย 
บางคนอาจเรียก โรคนี้ว่า "หัวใจอ่อน" หรือ " ประสาทลงหัวใจ" แต่จริงๆแล้วโรคนี้ไม่มีปัญหาอะไรที่หัวใจและไม่มีอันตราย

อาการของโรคแพนิค 
-ใจสั่นหัวใจเต้นแรง 
-อึดอัด แน่นหน้าอก 
-หายใจไม่ทันหรือหายไม่เต็มอิ่ม 
-ขาสั่น มือสั่น 
-มือเย็น 
-วิงเวียนหรือมึนศีรษะ
-ท้องไส้ปั่นป่วน
-ขณะมีอาการผู้ป่วยมักจะรู้สึกกลัว ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะกลัวว่าตัวเองกำลังจะตายกลัวเป็นโรคหัวใจบางคนกลัวว่าตนกำลังจะเสียสติ หรือเป็นบ้า

อาการต่างๆมักเกิดขึ้นทันทีและค่อยๆรุนแรงขึ้นเรื่อยๆจนเต็มที่ในเวลาประมาณ 10 นาที คงอยู่สักระยะหนึ่ง แล้วค่อยๆทุเลาลง อาการมักจะหายหรือเกือบหายในเวลาประมาณครึ่งชั่วโมง หลังจากอาการแพนิคหายผู้ป่วยมักจะเพลียและในช่วงที่ไม่มีอาการผู้ป่วยมักจะกังวลกลัวว่าจะเป็นอีก

การรักษา ผู้ป่วยที่สงสัยโรคแพนิกจะต้องได้รับการตรวจร่างกายรวมทั้งส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ (เช่น ตรวจคลื่นหัวใจ ส่งเจาะเลือดวัดระดับไทรอยด์) เพื่อค้นหาโรคทางด้านร่างกายที่อาจเป็นสาเหตุให้มีอาการคล้ายโรคแพนิก

ด้วยว่าโรคแพนิกนั้น จัดว่าเป็นการเจ็บป่วยจริงๆ (real illness) ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีสื่อประสาทในสมอง ดังนั้น การรักษาที่จะได้ผลดี ประกอบไปด้วย


1. การรักษาทางใจ ที่สำคัญและได้ผลมากคือ การให้ความรู้ Psychoeducation และการทำพฤติกรรมบำบัด (Cognitive Behavior Therapy) เพื่อการปรับแนวคิดและพฤติกรรมของผู้ป่วยต่อโรคแพนิกและอาการของแพนิค 
2.การฝึกการหายใจในผู้ป่วยที่มีอาการหายใจไม่อิ่ม การฝึกการคลายกล้ามเนื้อในผู้ป่วยที่มีอาการปวดศรีษะ หรือปวดตึงกล้ามเนื้อ การฝึกการจินตนาการ การฝึกสมาธิ การฝึกคิดในทางบวก 
3. การรักษาด้วยยา เมื่อให้ยาร่วมกับการรักษาทางใจแล้ว มักได้ผลดีและรวดเร็วกว่าการบำบัดทางใจเพียงอย่างเดียวมาก

ระยะเวลารักษา : โดยทั่วไป โรคแพนิก มีการดำเนินโรคแบบเป็นๆหายๆ หรือเรื้อรัง การรักษาอาจต้องใช้เวลาสักระยะ (อย่างน้อย 3-6 เดือน) 
ผลลัพธ์ : ประมาณ 1 ใน 3 รักษาหายขาด ประมาณ ครึ่งหนึ่งยังมีอาการนิดๆแต่ไม่รบกวนชีวิต


ที่มา : คลินิกสุขภาพจิตนายแพทย์เจษฎา 
Original Article : โรคแพนิก
โดย DMH Staff กรมสุขภาพจิต
Sticker from : Line/Facebook

ขอขอบคุณที่มา http://news.voicetv.co.th/infographic/96823.html


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที