สุวรรณี

ผู้เขียน : สุวรรณี

อัพเดท: 02 ม.ค. 2014 16.17 น. บทความนี้มีผู้ชม: 3594 ครั้ง

ทุกวันนี้จะพบว่าแนวโน้มของโลกเริ่มมีเงื่อนไขการซื้อขายสินค้ามากขึ้น เช่น ฉลากสิ่งแวดล้อม คาร์บอนฟุตพริ้น เริ่มเข้มข้นขึ้น ทั้งในยุโรป และเอเชีย ก็เริ่มสร้างเงื่อนไขต่างๆ ขึ้น โดยเฉพาะเทรนด์การสร้างความตระหนักในเรื่อง “การใช้อย่างคุ้มค่า” เช่น สินค้ารีไซเคิล สินค้าประหยัดพลังงาน ฯลฯ แนวโน้มของการทำธุรกิจอย่างยั่งยืนในอนาคต เราควรให้ความสำคัญกับเรื่องใดบ้าง


แนวโน้มธุรกิจค้าปลีกและแฟชั่น

ทุกวันนี้จะพบว่าแนวโน้มของโลกเริ่มมีเงื่อนไขการซื้อขายสินค้ามากขึ้น เช่น ฉลากสิ่งแวดล้อม คาร์บอนฟุตพริ้น เริ่มเข้มข้นขึ้น ทั้งในยุโรป และเอเชีย ก็เริ่มสร้างเงื่อนไขต่างๆ ขึ้น โดยเฉพาะเทรนด์การสร้างความตระหนักในเรื่อง “การใช้อย่างคุ้มค่า” เช่น สินค้ารีไซเคิล สินค้าประหยัดพลังงาน ฯลฯ แนวโน้มของการทำธุรกิจอย่างยั่งยืนในอนาคต เราควรให้ความสำคัญกับเรื่องใดบ้าง
 
หน่วยงานสากลระดับโลก UNEP เปิดเผยหลังจากที่มีการประชุมที่ Rio บลาซิล มีการนำเสนอประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมโดยมีเป้าหมายเพื่อให้ศตวรรษ 21 เติบโตอย่างยั่งยืนได้นั้นต้องทำอย่างไร ซึ่งพบว่า “การผลิตที่ทำให้เกิดความไม่ยั่งยืน ผู้บริโภคมีส่วนรับผิดชอบหรือไม่” เริ่มมีประเด็นนี้มากขึ้นเรื่อยๆ สังคมต้องร่วมมือกันไม่ใช่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ดังนั้นการบริโภคก็ต้องเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วย โดยมีข้อสรุปว่าจะต้อง “เปลี่ยนแปลงวิธีการผลิตและการบริโภค” ซึ่งมาตรการนี้เริ่มเกิดขึ้นทั่วโลกแล้วและกำลังส่งผลกระทบถึงผู้ผลิตและผู้บริโภคตลอดสายซัพพลายเชน (Supply Chain)
 
บริษัทค้าปลีกชั้นนำของโลกหลายรายออกมาประกาศและให้ความสำคัญเรื่องสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น เช่น วอลมาร์ท (Walmart) ให้ความสำคัญเรื่องการใช้พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) การลดของเสีย (Zero Waste) สินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้าน TESCO ประกาศให้ความสำคัญกับการลดคาร์บอน โดยตั้งเป้าภายในปี 2050 จะเป็นZero-Carbon ซึ่งปัจจุบันเริ่มดำเนินการร่วมกับซัพพลายเออร์ทั่วโลกแล้ว
 
นอกจากนี้ บริษัทเสื้อผ้าชั้นนำทั่วโลกต่างก็พยายามสื่อสารการให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต แต่ไม่เพิ่มผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งถือเป็นแนวทางสำคัญ เช่น อาดิดาส ประกาศว่าจะลด Environmental Footprint ลง 15% ภายในปี 2015 
 
บริษัทแฟชั่นแบรนด์ดังระดับโลกทั้งหลายแทบทุกแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็น อามานี่ (Armani) ซาร่า (Zara) ลีวาย (Levi’s)ซีแอน์เอ (C&A) มาร์คแอนด์สเปนเซอร์ (Marks & Spencer) แมงโก (Mango) และอีกหลายแบรนด์ พบว่ามีปริมาณสารเคมีที่ตกค้างในปริมาณที่เกินมาตรฐาน จึงกลายเป็นชนวนที่กลุ่มกรีน พีชรุกขึ้นมาทำเป็นโปรเจคระดับโลกเพื่อลดการปล่อยมลพิษให้เหลือศูนย์ (Zero Discharge) สำหรับสารเคมีอันตรายทุกชนิดให้หมดไป โดยยุติการใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายในวงจรการผลิตสินค้าและขับเคลื่อนให้มีการเปลี่ยนแปลงแนวทางปฏิบัติในตลอดโซ่อุปทาน (Supply Chain)
 
กรีนพีชจึงประกาศจับมือทุกแบรนด์ร่วมขจัดสารเคมีตกค้าง โครงการรณรงค์ระดับโลก ตลอดปีที่ผ่านมาเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยแบรนด์ซาร่า (Zara) ออกมาทำแคมเปญชื่อว่า หยุดแฟชั่นสารพิษ เมื่อปลายปี 2555 รวมไปถึงแบรนด์ต่างใน Inditex Group ด้วย โดยมีการรณรงค์และตรวจสอบโรงงานผลิต การจัดซื้อวัตถุดิบ (Sourcing) กับโรงงานหรือซัพพลายเออร์ (Suppliers) ที่ได้รับการรับรองในเรื่องการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
 
การแสดงเจตจำนงของซาร่า (Zara) ที่จะมุ่งไปสู่การเป็นแฟชั่นปลอดสารพิษ เป็นสัญญาณชี้ให้เห็นว่าแบรนด์อื่นๆ ก็ไม่ควรจะปฏิเสธ รวมไปถึงผู้ประกอบการสิ่งทอต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ 
 
สรุปข้อมูลบางส่วนจากการสัมมนา “กฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อม การออกแบบและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” ในหัวข้อ แนวโน้มการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยผศ.ดร.อโนทัย ชลชาติภิญโญ เมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา จัดโดยสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ

http://logisticsviews.blogspot.com


 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที