นักแสวงหา

ผู้เขียน : นักแสวงหา

อัพเดท: 20 ธ.ค. 2013 11.09 น. บทความนี้มีผู้ชม: 2915 ครั้ง

สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) และสมาคมส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ATSME) ร่วมลงนามความร่วมมือเพื่อเร่งเดินหน้าส่งเสริมการร่วมลงทุนเชื่อมโยงและพัฒนาเอสเอ็มอีไทย-ญี่ปุ่น ทั้งสองประเทศ พร้อมทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางลงทุนจากญี่ปุ่นในประเทศไทยด้วย


3 องค์กรจับมือพัฒนาเอสเอ็มอีพร้อมรองรับการลงทุนจากญี่ปุ่น

กทม. 19 ธ.ค. - 3 องค์กรจับมือพัฒนาเอสเอ็มอีไทยให้พร้อมรองรับการเข้ามาลงทุนกว่า 500,000 ล้านบาท จากญี่ปุ่นในช่วง 5 ปีข้างหน้า ที่จะเริ่มนับหนึ่งตั้งแต่เดือนเมษายนปี 2557

สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) และสมาคมส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ATSME) ร่วมลงนามความร่วมมือเพื่อเร่งเดินหน้าส่งเสริมการร่วมลงทุนเชื่อมโยงและพัฒนาเอสเอ็มอีไทย-ญี่ปุ่น ทั้งสองประเทศ พร้อมทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางลงทุนจากญี่ปุ่นในประเทศไทยด้วย

 


 

นายสุจริต คูณธนกุลวงศ์ นายกสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ป่น)

       กล่าวว่าประเทศญี่ปุ่นกำลังเดินหน้าตามนโยบายของนายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรี ที่มีนโยบายเศรษฐกิจที่เน้นสนับสนุนเอสเอ็มอีญี่ปุ่นให้ออกมาลงทุนในต่างประเทศถึง 50,000 ราย ในช่วง 5 ปีข้างหน้า โดยเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายนปี 2557 เป็นต้นไป แบ่งเป็นเอสเอ็มอีที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทย 5,000 ราย ส่วนใหญ่อุตสาหกรรมรถยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และธนาคาร เพราะขณะนี้ญี่ปุ่นประสบกับปัญหาการหดตัวลงของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ทุกปี ซึ่งการออกไปลงทุนในประเทศอื่น เช่น ไทย จะช่วยให้อุตสาหกรรมที่ย้ายฐานออกมาสามารถดำรงอยู่ได้ โดยการออกมาลงทุนส่วนใหญ่จะมีมูลค่าการลงทุนรายละไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท หรือประมาณ 500,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) ได้สนับสนุนให้การออกมาลงทุนของญี่ปุ่นในอาเซียนให้มาตั้งฐานในไทยก่อนแล้วค่อยส่งผู้เชี่ยวชาญออกไปขยายฐานการลงทุนยังประเทศในอาเซียนต่อไป

      สำหรับเอสเอ็มอีญี่ปุ่นที่ย้ายฐานการผลิต ได้แก่ อุตสาหกรรมโลหะ อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงาน ก่อนหน้านี้ญี่ปุ่นเน้นเข้าไปลงทุนในจีน แต่ขณะนี้หันมาลงทุนที่ไทยและอินเดียมากขึ้น จึงเป็นโอกาสที่ดีที่เอสเอ็มอีไทยจะใช้โอกาสนี้ขยายธุรกิจและเสริมความแข็งแกร่ง การเข้ามาของญี่ปุ่นเข้ามาใน 4 รูปแบบ ได้แก่ การเข้ามาเพื่อผลิตชิ้นส่วนในไทยเพื่อส่งกลับไปผลิตต่อในญี่ปุ่น การให้เอสเอ็มอีไทยซื้อ Know how จากญี่ปุ่นเพื่อผลิตและส่งขายประเทศญี่ปุ่น การเข้ามาร่วมทุนกับไทยผลิตสินค้าขายในกลุ่มประเทศอาเซียน และเอสเอ็มอีญี่ปุ่นขายสิทธิบัตรการผลิตและเข้ามาช่วยสอนการผลิตให้ได้ตามมาตรฐานและส่งสินค้าที่ผลิตได้ขายญี่ปุ่นและตลาดอื่นๆ ตามคุณภาพสินค้าต่อไป

นายสุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการสถาบัน ISMED

และ คุณเพ็ญทิพย์ พรจะเด็ด นายกสมาคมส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย

      กล่าวว่าจะปรับบทบาทการให้บริการเอสเอ็มอี จากเดิมที่ผู้ประกอบการเข้ามาใช้บริการทั้งหมด เป็นผู้ประกอบการที่ได้รับงบประมาณจากรัฐบาลในการรับบริการช่วยพัฒนายกขีดความสามารถในการแข่งขันและการบริหารงานจากสถาบันมาเป็นผู้ใช้ร้องขอบริการที่ต้องการเองมีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 10 ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในการปรับกลยุทธ์การให้บริการของสถาบันฯ.

      ซึ่งการร่วมทุนระหว่างประเทศที่เกิดขึ้น ร่วมกับการแข่งขันทางธุรกิจมีสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการเชื่อมโยงและพัฒนาอุตสาหกรรมกลุ่มต่างๆ ในประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น จึงมีความสำคัญและมีความเร่งด่วน ซึ่งหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนต้องเตรียมการรองรับการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบนี้ เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมไทยในกลุ่มต่างๆ

 

จากนโยบายของภาครัฐที่ต้องการส่งเสริมการเชื่อมโยงและพัฒนาผู้ประกอบการเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจให้เศรษฐกิจโลกเข้มแข็งและ

เติบโตต่อไป  สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) หรือ ส.ส.ท. จึงริเริ่มโครงการ “เชื่อมโยงและพัฒนาอุตสาหกรรม ไทย-ญี่ปุ่น” หรือที่รู้จักในชื่อว่า “J-SMEs” ขึ้นและก่อตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2556  ภายใต้การดำเนินงานร่วมกันของ 3 หน่วยงานในวันนี้ คือ สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED), สมาคมส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย (ATSME) และ สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) เพื่อเร่งเดินหน้าเชื่อมโยงและพัฒนาเอสเอ็มอีไทย-ญี่ปุ่น และบริษัทที่จะร่วมลงทุน ไทย-ญี่ปุ่น พร้อมทั้งให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อภาคธุรกิจและผู้ประกอบการ พร้อมทั้งเป็นศูนย์กลางในการส่งเสริมและสนับสนุนการลงทุนจากญี่ปุ่นด้วย

     ในนามความร่วมมือของทั้ง 3 หน่วยงาน ขอขอบคุณสื่อมวลชนทุกท่านที่ได้ร่วมเป็นเกียรติในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือครั้งนี้ และให้ความอนุเคราะห์ถ่ายภาพทำข่าวประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับความสำคัญของความร่วมมือภายใต้โครงการฯ เพื่อเผยแพร่เป็นข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนได้รับทราบอย่างแพร่หลายต่อไป 

 

ขอขอคุณแหล่งที่มา

http://www.mcot.net/site/content?id=52b2c818150ba0357b0000a6

- สำนักข่าวไทย

ภาพและข้อมูลสนับสนุน จากทีมงานสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ป่น) 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที