นักแสวงหา

ผู้เขียน : นักแสวงหา

อัพเดท: 17 ธ.ค. 2013 11.11 น. บทความนี้มีผู้ชม: 3802 ครั้ง

จุดแข็งของไทยในการเป็นฐานการลงทุนที่ว่า สภาพแวดล้อมด้านการลงทุนที่ดีมาก เช่น ประเทศไทยมี Supply chain ที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกเป็นเวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ในระยะยาวความได้เปรียบของไทยที่จะเป็น Hub ของกลุ่มอาเซียน


โครงการเชื่อมโยงและพัฒนาอุตสาหกรรม ไทย-ญี่ปุ่น

         จุดแข็งของไทยในการเป็นฐานการลงทุนที่ว่า สภาพแวดล้อมด้านการลงทุนที่ดีมาก ถือเป็นจุดแข็งของประเทศไทย เช่น ประเทศไทยมี Supply chain ที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกเป็นเวลานาน และสามารถสนองตอบความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ในระยะยาวความได้เปรียบของไทยที่จะเป็น Hub ของกลุ่มอาเซียน และโอกาสของการขยายตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มอาเซียนยังมีอีกมาก รวมทั้งโครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกทวายและการคมนาคมเชื่อมโยงในภูมิภาคที่จะสร้างโอกาสและพัฒนาศักยภาพให้แก่นักลงทุนและภูมิภาค

           ทั้งนี้ ในส่วนของการสนับสนุนและส่งเสริมการลงทุน ปัจจุบันรัฐบาลออกมาตรการปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก 30% เป็น 23% มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 และเป็น 20% ในวันที่ 1 มกราคม 2556 ซึ่งจะช่วยให้บริษัทมีเงินทุนสำหรับขยายกิจการเพิ่มเติมได้อีก 

           ประเทศไทยมีนโยบายต้อนรับการลงทุนจากต่างประเทศตลอดมา แม้ว่ารัฐบาลอาจมีการเปลี่ยนแปลงแต่นโยบายส่งเสริมการลงทุนไม่เคยเปลี่ยน ขอให้ความมั่นใจอีกครั้งต่อความร่วมมือของทุกภาคส่วนของสังคมไทยเสริมสร้างบรรยากาศการค้าการลงทุนของประเทศไทย

           ทั้งนี้ ผู้บริหารบริษัทชั้นนำ สามารถมั่นใจได้ว่า มาตรการการส่งเสริมการลงทุน ทั้งมาตรการทางภาษี และสิทธิประโยชน์ต่างๆ สามารถแสดงความเชื่อมั่นยืนหยัดการลงทุนในประเทศไทย และเร่งเดินหน้าการขยายการลงทุนตามแผนการลงทุนต่อไป เพราะไทยถือเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญของการลงทุนในภูมิภาค

         ในปัจจุบัน นักลงทุนหรือผู้ประกอบการธุรกิจสัญชาติญี่ปุ่นได้มีแนวโน้มที่จะขยับขยายการลงทุนออกมาภายนอกประเทศมากขึ้น และเป้าหมายหลักที่จะถูกเลือกเข้ามาลงทุนก็คือประเทศในกลุ่ม ASEAN โดยเฉพาะประเทศไทย ดังนั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยจะต้องเตรียมพร้อมเพื่อที่จะรับมือของการเพิ่มขึ้นของการลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นและการร่วมมือในภาคธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการไทยกับญี่ปุ่น

       ซึ่งโครงการเชื่อมโยงและพัฒนาอุตสาหกรรม ไทย-ญี่ปุ่น (J-SMEs) ของเราก็มีเป้าหมายที่จะเป็นศูนย์กลางในการติดต่อระหว่างผู้ประกอบการทั้งไทยและญี่ปุ่น ในการลงทุนหรือการหาคู่เจรจา ความร่วมมือทางธุรกิจที่เหมาะสมและเชื่อถือได้ เพื่อที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างทั้ง 2 ประเทศ โครงการ J-SMEs ได้ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการด้วยความมุ่งมั่นและ ความร่วมมือกับเครือข่ายญี่ปุ่นของทางสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี ไทย-ญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2556

(เป้าหมายหลักของโครงการ)

• เพื่อเป็นศูนย์กลางการส่งเสริมและสนับสนุนการลงทุนจากญี่ปุ่น 

• เพื่อสรรหาและเชื่อมโยง ผู้จัดส่งวัตถุดิบ ผู้ทำสัญญาช่วง และบริษัทที่จะร่วมทุน ระหว่างไทยและญี่ปุ่น

• เพื่อเป็นจุดเชื่อมโยงและให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ โดยร่วมกับหน่วยงานรัฐและเอกชนที่สำคัญ

       นอกจากนี้ J-SMEs ยังมีการจัด Workshop เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ที่จะนำไปใช้ในการเสริมสร้างนวัตกรรม พัฒนาความคิดและการนำไปใช้ เพื่อปรับปรุงและพัฒนาระบบอันนำไปสู่ความเจริญขององค์กร และเศรษฐกิจของประเทศชาติโดยรวม

(บริการของ J-SMEs)

1. Business Trip / Business Matching
   “ให้ท่านได้รู้จัก Supplier ผู้ผลิต และผู้ขายในต่างประเทศ เพื่อขยายและสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ”

 

2. Workshop ให้ความรู้กับ SMEs ทั้งไทยและญี่ปุ่น
  “Workshop รูปแบบใหม่ด้วยวิธีการถ่ายทอดความรู้แบบ How to ที่เน้นการนำไปปฏิบัติได้จริง”

3. บริการประสานงานทางธุรกิจ (Business Coordination)
   “ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถทำธุรกิจได้อย่างราบรื่นด้วยเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพและทีมงาน
   ที่มีความพร้อมให้บริการที่หลากหลายตามระดับความต้องการ”

4. บริการล่ามและแปลเอกสาร

   “ให้บริการโดยผู้เชี่ยวชาญ ช่วยให้คุณไม่พลาดทุกการติดต่อสื่อสาร”

สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) ได้รับรางวัลจาก JAPAN FOUNDATION SPECIAL PRIZE ปี 2013

Technology Promotion Association (Thailand-Japan)

Thailand – Japan Investment Promotion Project (J-SMEs)

สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) (สุขุมวิท29) โครงการเชื่อมโยงและพัฒนาอุตสาหกรรม ไทย-ญี่ปุ่น (J-SMEs) 5-7 ซอยสุขุมวิท29 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110

โทรศัพท์ : 0-2258-0320-5 ต่อ 1401 -1404 โทรสาร : 0-2258-6437 E-mail: jsme@tpa.or.th, isra@tpa.or.th, patchara@tpa.or.th Website: www.jsmethai.com


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที