นักแสวงหา

ผู้เขียน : นักแสวงหา

อัพเดท: 02 ธ.ค. 2013 02.09 น. บทความนี้มีผู้ชม: 105987 ครั้ง

การเรียนรู้ของสมอง 2 ซีกเป็นไปอย่างสมดุลเกิดประสิทธิภาพและยังช่วยให้เกิดความผ่อนคลายความตึง เครียด ทำให้สภาพจิตใจเกิดความพร้อมที่จะเรียนรู้ เกิดความจำทั้งระยะสั้นและระยะยาว


บริหารสมองเป็น 10 เท่า ด้วยวิธีการเปิดใช้งานสมอง

ทำไมเราจึงเรียนรู้ช้า? ไม่สามารถควบคุมความคิด ให้คิด ในทางที่สร้างสรรค์ได้  90% จากผลการทดลองพบว่า 

1.  กำลังสมอง หมดไปกับการคิดเรื่องที่ไม่ก่อประโยชน์ ที่ใส่ความคิดผิด ๆ ให้สมองของตัวเอง

2. ขาดความสามารถในการจดจ่อความคิดต่อเนื่องเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นเวลานานได้

3. คิดเรื่องในอดีตเรื่องที่ก่อความทุกข์ให้กับตนเอง และมักปล่อยให้ความคิดในทางทำลายตัวเองเข้ามาบั่นทอนประสิทธิภาพในการเรียนรู้ ทำให้เรียนรู้ช้า, คิดไม่ชัดเจน คิดไม่ทัน

 

ในทางทฤษฎี พบว่า " สมองมนุษย์เก็บข้อมูลได้เยอะกว่าและสามารถประมวลข้อมูล ที่มีความสลับซับซ้อน ได้รวดเร็วดีกว่าคอมพิวเตอร์ "

ถ้าจะเปรียบเทียบประสิทธิภาพการทำงาน ระหว่างสมองกับคอมพิวเตอร์

ปัจจัยอะไรและทำอย่างไรที่ทำให้เราเรียนรู้ได้เร็ว ?

1. เปลี่ยนความคิดจาก แง่ลบ Negative >>> เปลี่ยนให้เป็น แง่บวก Positive

  • สร้างเป้าหมายในการทำงาน: คุณต้องทำสิ่งต่าง ๆ อย่างมีเป้าหมาย กระตุ้นให้ตนเองอยากฉลาดแบบนักคิดระดับโลก เช่น ก่อนจะอ่านหนังสือก็ต้องรู้ก่อนว่า เรากำลังจะอ่านอะไร อ่านไปเพื่ออะไร เพราะการไม่หาความรู้เพิ่มเติมเลยคุณจะมองไม่เห็นช่องทาง เป็นต้น
  • ทำลายความคิดที่ทำให้เราคิดในทางลบ เราต้องนำความคิดนั้นออกไปให้ได้  เช่น เชื่อว่าตัวเองทำไม่ได้ ความจำไม่ดี เมื่อเราเห็นคนอื่นทำไม่ได้เราจึงคิดว่าเราทำไม่ได้ เป็นต้น
  • ใส่ความคิด Positive ลงไปแทนที่ Negative แล้วตัดความคิดมันทิ้งไปอย่าให้กลับมาบ่อยๆ เช่น เราทำได้ , มันไม่ยากเกิดความพยายาม , ปัญหามีทางออกและทางแก้ไขเสมอ ฉันจะไม่ถือสา เป็นต้น

2. การหัดผ่อนคลายทั้งกายและใจ จะทำให้คนเราจะเรียนรู้ได้เร็วอาจกล่าวได้ว่า การผ่อนคลายร่างกายและจิตใจ ช่วยยับยั้งความคิด Negative ได้ชั่วคราว เมื่ออยู่ในสภาวะที่ผ่อนคลายทั้งกายและใจ ดังนั้น การสวดมนต์ ฝึกโยคะ ฝึกสมาธิ หรือ ออกกำลังกาย ทำให้เรารู้จักผ่อนคลายจิตใจบ้างได้เป็นอย่างดี

3. สังเกตตัวเองว่าพยายามเรียนรู้พัฒนาตนจากสื่อใดได้ดี เป็นพิเศษ เช่น บางคนพบว่าตนเองเรียนรู้ได้เร็วจากการอ่าน ,การพูดคุยกับผู้อื่น, การคำนวณ,การแสดงออกทางดนตรี และศิลปะ , การเข้าใจผู้อื่น, การใช้ทักษทางภาษา, การขาย ฯลฯ เป็นต้น  

     ดังนั้น ถ้าเราต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ให้ดีขึ้น จำเป็นต้องสำรวจตัวเองว่า
          • มองหาสิ่งที่เราสนใจ จะทำให้เกิดการเรียนรู้ ด้วยวิธีแบบใดก็ได้ ที่ทำให้เราเรียนรู้ได้เร็ว ก่อนที่จะเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ ต่อไป?
          • สังเกตุสมาธิสูงสุดของเราอยู่ในช่วงเวลาใด  ตัวเรามีความกระตือรือร้นสูงสุดเมื่อได้ทำกิจกรรมใด ?

4. ตั้งคำถามพยายามสร้างจุดเชื่อมโยงระหว่างสมองกับข้อมูล จะช่วยให้ประสิทธิภาพสมองของเราสามารถเก็บข้อมูลและดึงข้อมูลมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว ควรเปรียบเทียบข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ และนำความรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด จะทำให้สมองมีการพัฒนาต่อเนื่อง

5. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้เรากระตือรือร้น สดชื่น  อารมณ์แจ่มใส  เมื่อสมองมีการตื่นตัวดียิ่งขึ้น ทำให้สมองทั้ง 3 ส่วน คือ ส่วนซ้าย ส่วนขวา และสมองส่วนกลาง ของเราจากการออกกำลังกายนานติดต่อกัน 12 - 20 นาที ส่งผลให้ ข้อมูลในสมองทำการแลกเปลี่ยนได้ จัดเก็บลำดับข้อมูลที่สะสมในแต่ละวันอย่างสะดวก สมองเราใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

6. สมองในส่วนความจำ จะทำงานได้ดีในเวลาที่ต่างกัน ดังนี้

  • ความจำระยะสั้น >>> ช่วงเช้า
  • ความจำระยะระยะยาว >>> ช่วงบ่าย
  • จำเกี่ยวกับตัวเลข >>> ก่อนนอน

 

ที่มาข้อมูล http://www.novabizz.com/NovaAce/Time/Brain_Up.htm

 

ที่มาวีดีโอhttp://www.youtube.com/watch?v=5Ul2Vp5QxrQ

การบริหารสมอง

1.การบริหารปุ่มสมอง

 วิธีใช้มือขวาวางบริเวณที่ใต้กระดูกคอและซี่โครงของกระดูกอก หรือที่เรียกว่าไหปลาร้าจะมีหลุมตื้นๆ บนผิวหนังใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ คลำหาร่องหลุ่มตื้นๆ 2 ช่องนี้ซึ่งห่างกันประมาณ 1 นิ้วหรือมากกว่านี้ขึ้นอยู่กับขนาดร่างกายของแต่ะละคนที่มีขนาดไม่เท่ากัน ให้นวดบริเวณนี้ประมาณ 30 วินาที และให้เอามือซ้ายวางไปที่ตำแหน่งสะดือ ในขณะที่นวดปุ่มสมองก็ให้กวาดตามองจากซ้ายไปขวา ขวาไปซ้ายและจากพื้นขึ้นเพดาน

ประโยชน์ของการบริหารปุ่มสมอง
-
ช่วยสร้างให้ระบบการสือสารระหว่างสมอง 2 ซีกที่เกี่ยวกับการพูด การอ่าน การเขียนมีประสิทธิภาพมากขึ้น

- เพื่อกระตุ้นระบบประสาทและเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองให้ดีขึ้น
 

2. ปุ่มขมับ

1.ใช้นิ้วทั้งสองข้างนวดขมับเบาๆวนเป็นวงกลม ประมาณ 30 วินาที ถึง 1 นาที
2.กวาดตามองจากซ้ายไปขวา และจากพื้นมองขึ้นไปที่เพดาน
ประโยชน์ของการนวดปุ่มขมับ
-เพื่อกระตุ้นระบบประสาทและเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองส่วนการมองเห็นให้ทำงานดีขึ้น
-ทำให้การทำงานของสมองทั้ง 2 ซึก ทำงานสมดุลกัน

3. ปุ่มใบหู

1.ให้นิ่วหัวแม่มือกับนิ้วชี้จับที่ส่วนบนสุดด้านนอกของใบหูทั้ง 2 ข้าง
2.นวดตามริมขอบนอกของใบหูทั้ง 2 ข้างพร้อมๆกันให้นวดไล่ลงมาจนถึงติ่งหู
เบาๆ ทำซ้ำหลายๆครั้ง ควรทำท่านี้ก่อนอ่านหนังสือเพื่อเพิ่มความจำและมีสมาธิมากขึ้น
ประโยชน์ของการนวดใบหู
-เพื่อกระตุ้นเส้นเลือดฝอยที่ไปเลี้ยงสมองส่วนการได้ยินและความจำระยะสั้นให้ดีขึ้น
-สามารถเพิ่มการรับฟังที่เป็นจังหวะได้ดีขึ้น

 การเคลื่อนไหวสลับข้าง (Cross Crawl)
ท่าที่ 1 นับ 1-10

ประโยชน์ของการบริหารท่านับ 1-10
-เพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อมือให้ประสานกัน เพื่อไม่ให้เกิดอาการนิ้วล็อค
-เพื่อกระตุ้นสมองที่มีการสั่งการให้เกิดความสมดุลทั้งซ้าย-ขวา
-เพื่อกระตุ้นความจำ

ท่าที่ 2 จีบ L

1.ยกมือทั้งสองข้างขึ้นมาให้มือขวาทำท่าจีบ โดยใช้นิ้วหัวแม่มือประกบกับนิ้วชี้ส่วนนิ้วอื่นๆให้เหยียดออกไป
2.มือซ้ายให้ทำเป็นรูปตัวแอล (L) โดยให้กางนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ออกไป ส่วนนิ้วที่เหลือให้กำเอาไว้
3.เปลี่ยนเป็นจีบด้วยมือซ้ายบ้างทำเช่นเดียวกับข้อที่ 1 ส่วนมือขวาก็ทำเป็นรูปตัวเเอล (L)เช่นเดียวกับข้อ 2
4.ให้ทำสลับกันไปมา 10 ครั้ง
ประโยชน์ของการบริหารท่าจีบซ้าย-ขวา
-เพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อมือให้ประสานกัน เพื่อไม่ให้เกิดอาการนิ้วล็อค
-เพื่อกระตุ้นสมองเกี่ยวกับการสั่งการให้สมดุลย์ให้มีการเคลื่อนไหวอย่างคล่องแคล่ว
-เพื่อกระตุ้นการทำงานความสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา

ท่าที่ 3 โป้ง-ก้อย

1.ยกมือทั้งสองข้างให้มือขวาทำท่าโป้งโดยกำมือและยกหัวแม่มือขึ้นมา ส่วนมือซ้ายให้ทำท่าก้อย โดยกำมือและเหยียดนิ้วก้อยชี้ออกมา
2.เปลี่ยนมาเป็นโป้งด้วยมือซ้ายและก้อยด้วยมือขวา
3.ให้ทำสลับกันไปมา 10 ครั้ง

ประโยชน์ของการบริหารท่าจีบโป้ง-ก้อย
-เพื่อกระตุ้นการสั่งการของสมองให้สมดุลทั้งซีกซ้ายและซีกขวา
-เพื่อกระตุ้นสมองส่วนการคิดคำนวณกะระยะ
-เพื่อป้องกันกล้ามเนื้อหัวไหล่เกิดการติดยึด

ท่าที่ 4 แตะจมูก-แตะหู

1.มือขวาไปแตะที่หูซ้าย ส่วนมือซ้ายให้ไปแตะที่จมูก (ลักษณะมือไขวักัน)
2.เปลี่ยนมาเป็นมือซ้ายแตะที่หูขวา ส่วนมือขวาไปแตะที่จมูก (ลักษณะมือไขวักัน)
ประโยชน์ของการบริหารท่า แตะจมูก-แตะหู
-ช่วยให้มองเห็นภาพด้านซ้ายและขวาดีขึ้น

ท่าที่ 5 แตะหู


 

1.มือขวาอ้อมไปที่หูซ้าย ส่วนมือซ้ายอ้อมไปจับหูขวา
2.เปลี่ยนมาเป็นมือซ้ายอ้อมไปจับหูขวาส่วนมือขวาอ้อมไปจับหูซ้าย
ประโยชน์ของการบริหารท่าโป้ง-ก้อย,แตะจมูก-แตะหู,แตะหู
-เพื่อกระตุ้นการสั่งการของสมองให้สมดุลทั้งซีกซ้ายและซีกขวา
-เพื่อกระตุ้นสมองส่วนการคิดคำนวณกะระยะ
-เพื่อป้องกันกล้ามเนื้อหัวไหล่เกิดการติดยึด

การผ่อนคลาย


ยื่นใช้มือทั้ง 2 ข้างประกบกันในลักษณะพนมมือเป็นรูปดอกบัวตูม โดยให้นิ้วทุกนิ้วสัมผัสกันเบาๆพร้อมกับหายใจเข้า-ออก ทำท่านี้ประมาณ 5-10 นาที
ประโยชน์ของการบริหารท่าผ่อนคลาย
-ทำให้เกิดสมาธิเป็นการเจริญสติ

ผู้แต่ง : อ. สุพัชรา ซิ้มเจริญ

ที่มา http://www.doctor.or.th/video/detail/11336

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที