นักแสวงหา

ผู้เขียน : นักแสวงหา

อัพเดท: 28 พ.ย. 2013 09.50 น. บทความนี้มีผู้ชม: 8118 ครั้ง

บทบาทเข้มข้นในบท “อีสา”เป็นนวนิยายสอนชีวิตเข้มข้น ลองหาอ่านดูนวนิยายเรื่องนี้ก็ตอบโจทย์ความต้องการชีวิตคนมีขึ้นมีลงและโชคชะตาพาไปเป็นอย่างดี..


ละครกับนวนิยายเหมือนหรือต่างกันอย่างไง ใน อีสา-รวีช่วงโชติ นุ่น วรนุช

ละครกับนวนิยายเหมือนหรือต่างกันอย่างไง สองงานต่างกันมากเนื่องจาก


 1. นิยายเล่าด้วยภาษาหนังสือ
 2. ละคร เล่าด้วยภาษาภาพ



  1.  นิยาย เกิดจากจินตนาการของคนเขียน ที่ซึ่งคนอ่านอาจวาดภาพต่อยอดไปเองได้อีก..เป็นไปได้ที่

       พระเอกของคนอ่านอาจหล่อกว่าพระเอกของคนเขียน
   2. ส่วนภาษาภาพของละครค่อนข้างตายตัว เพราะต้องสร้างออกมาให้จะแจ้ง ต้องคุมต้นทุน

       ต้องเข้าใจกันตรงกันทั้งคนเขียน ผู้กำกัน นักแสดง และสุดท้ายคนดู ที่ต้องรู้ว่าตอนนี้นางเอกกำหลังเศร้าเมื่อพระเอกจากไป หากนักแสดง  แสดงไม่ถึง คนดูก็รู้แค่เศร้า แต่ถ้าเป็นตัวหนังสือ อ่านแล้วคนอ่านอาจจะเข้าถึงหัวอกนางเอก..จนกลายเป็นนางเอกซะเอง... ก็เศร้าได้หลากหลายระดับ อาจมากกว่าที่คนเขียนบรรยายไว้ด้วยซ้ำ

   นั่นคือเรื่องของจินตนาการ ทีนี้เทคนิคของการเขียนของงานสองอย่าง
แบ่งออกเป็น

  1. บทภาพยนต์ จะต้องทำเรื่องย่อก่อน ต่อมาก็เป็นการขยายเรื่องย่อ ว่าจะมีกี่ฉาก แต่ละฉากเกิดอะไรขึ้นบ้าง ต่อจากนั้นก็เขียนบท เวลาเขียน...จะใช้โปรแกรม Final Draft มีส่วนกำหนดที่ให้ใส่ฉาก ที่ไหน เวลาอะไร บรรยายคร่าวๆ ว่าตัวละครทำอะไร ส่วนต่อมาก็ใส่บทสนทนาระหว่างตัวละครและระหว่างนั้น ตัวละครควรจะรู้สึกอย่างไร ทำสีหน้ายังไงดังนั้นจะต้องคำนึงถึงความต่อเนื่องของฉากด้วย

    เวลาเขียนบรรยายในบท ไม่จำเป็นต้องใช้ภาษาที่สวยงาม ต่อเนื่อง ละเอียดจนเห็นภาพ เหมือนกับเวลาเขียนนิยาย เพราะจะมีโลเกชั่นอยู่แล้ว แต่เขียนให้คนอื่นๆ เข้าใจเป็นพอฉะนั้น ตรงบรรยายเนี่ย จะหยาบกว่านิยาย ดังนั้น สำนวนอาจจะไม่จำเป็นต้องสละสลวยมากนัก

      

        2.   บทละคร ภาษาภาพต้องชัด

             บอกสถานที่/เวลา/Acting ของตัวละคร กำหนดบทให้เข้าปากตัวละครนั้นๆ ตามภูมิหลัง +

             คาแรคเตอร์จากนั้นการ ตัดฉากก็สำคัญ เพื่อให้เรื่องดำเนินกระชับสามารถเข้าใจง่ายมีองค์ประกอบ

             เน้นนักแสดงนำที่แสดงอารมณ์ขณะนั้น ด้วยการย้ายฉาก จากหน้าบ้านมาในบ้าน ห้องรับแขก

             ในครัว เป็นต้นหากเป็นนิยายอาจบรรยายฉาก3-4หน้า พรรณาตัวบ้าน ลายหน้าต่าง ชายลูกไม้ซะ

             หยดย้อย พออยู่ในบทละครอาจเหลือแค่  หน้าเดียวเพราะไม่มีเหตุการณ์ ตรงข้ามหากมีเหตุการณ์

             สำคัญ เรื่องแค่ครึ่งหน้าอาจเป็นบทแตกฉากได้ร่วม2หน้าก็มี

 

ดังนั้นละครอีสาประสบความสำเร็จอย่างสูงได้รับความนิยมอย่างท่วมท้นจากการผลิตของ ดาราวีดีโอในปี 2531 และ ปี 2541 ก็ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน

จากพื้นฐานเป็นเด็กกำพร้า  เรื่องนี้นุ่นจะต้องเล่นตั้งแต่เด็กไปจนลูกโต  ตามจังหวะชีวิต  ตามยุคสมัยในเวลานั้น  ถือว่าเป็นบทที่ยาก บทก็จะปรับเปลี่ยนคาแรกเตอร์ไปเรื่อยๆ

ติดตามชมบทบาทการแสดงของ นุ่น-วรนุช ได้ในละครค่ายกับเอ็กแซ็กท์ “อีสา-รวีช่วงโชติ” ได้ทุกคืนวันพุธ-พฤหัส 20.10น. ช่อง 5  เริ่มออกอากาศตอนแรกคืนวันพุธที่ 4 ธันวาคนนี้

         อีสา... เป็นนวนิยายสาชีวิตเข้มข้น ถ้าใครยังไม่อ่านก็ลองไปหาอ่านดูได้ ..อีสาเกิดมาในสถานะต่ำต้อย พ่อแม่ไม่รู้ว่าเป็นใครแต่โชคชะตาพาให้อยู่ในตำแหน่งหม่อมของท่านชายผู้สูงศักดิ์จนกำเนิดบุตรชายที่สูงศักดิ์ก่อนจะนำพาชีวิตคุณหญิงโสภาพรรณดีดิ่งสู่เหว เป็นชนชั้นรากหญ้า โดยไม่รู้ชะตาชีวิตตัวเอง ...ชีวิตของอีสาลำบากมาตั้งแต่เกิด โดนความรักปักแน่นในหัวใจจากนายสมศักดิ์จนยากจะลบล้างออกไปได้ในห้วงอารมณ์พิเศษพากันออกมาใช้ชีวิตข้างนอกวังรวีวารอย่างแร้นแค้นก่อนวิถีกรรมจะพัดพาไปตามหน้ามรสุมชีวิตหลายรูปแบบ

         จากนวนิยายทั้งสองเรื่องนี้.. อาจารย์ศรีฟ้าฯเขียนชีวิตอีสาและคุณชายรวีช่วงโชติออกมาได้เข้มข้นเต็มไปด้วยเหตุการณ์ชีวิตที่โลดโผน .. คนอ่านอย่างเราแทบจะหยุดอ่านไม่ได้เพราะความอยากรู้ว่าตัวละครจะพัฒนาหรือพาไปถึงจุดไคลแมกซ์อย่างไรซึ่งตอนท้ายๆเรื่องก็จะได้รู้กันแล้ว ..ในภาคแรกทางออกของตัวละครอาจจะยังไม่สมหวังคนอ่านเพราะพออีสาออกบวชและคุณชายรวีกับโสภิตพิไลก็ยังไม่รู้ว่าแม่ที่บทแท้จริงเป็นใคร?

          นวนิยายเรื่องนี้ก็ตอบโจทย์ความต้องการชีวิตคนมีขึ้นมีลงและโชคชะตาพาไปเป็นอย่างดี..อีสาจะไม่เป็นอีสาอย่างในเรื่องถ้าอีสาไม่พาคุณหญิงโสภาพรรณวดีหนีตามผู้ชายออกจากวังจนชีวิตเปลี่ยนพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ และคุณชายรวีโชติช่วงจะไม่เป็นชายรูปงามผู้สูงศักดิ์ ชาติตระกูลดีพร้อมถ้าถูกอีสาเลี้ยงดูมาแต่แบเบาะ

          นวนิยายของอาจารย์ศรีฟ้าฯอ่านสนุกให้คติสอนใจมากมายหลายเรื่อง แต่ที่ประทับใจมีอยู่จำนวนหนึ่ง อาทิ กิ่งไผ่ วงเวียนชีวิต หัวใจดวงน้อย บุญบรรพ์(บรรพ 1และ 2) ครอบบ้านครัวเดียว ปราสาทมืด ขมิ้นกับปูน ริษยา บ่วง หลอน เก้าอี้ทอง เปลือก แก่นกระพี้เกิดแล้วเป็นคน ข้าวนอกนา นายอำเภอที่รัก วันนี้ที่โลกแคบ เท้งเต้ง มุกดามะดัน โอ้มาดา คอนโดมิเนียม ใต้ฟ้าสีคราม ตะวันไม่เคยลับ แผ่นดินนี้ยังรื่นรมย์ เศรษฐีนี ทำไม พิกุลแกมเกดแก้ว กนกลายโบตั๋น ชลาลัย อันควสามดี หลานสาวคุณหญิง สามอนงค์ หลง กุหลาบไร้หนาม ความรักสีเพลิง ใครกำหนด ตุ๊กตามนุษย์ ผู้เป็นที่รักนิรันดร์ ครูซ่อนกลิ่น ฯลฯ

 

 

ที่มาแหล่งข้อมูลและภาพ   http://entertain.teenee.com/series/111449.html

ที่มาแหล่งข้อมูล http://pantip.com/topic/31100871

ที่มาแหล่งข้อมูล http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2006/04/K4320875/K4320875.html

ที่มาแหล่งข้อมูลและภาพ http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=itsarawut&month=01-2013&group=1


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที