editor

ผู้เขียน : editor

อัพเดท: 20 พ.ย. 2006 13.50 น. บทความนี้มีผู้ชม: 17437 ครั้ง

การแข่งขัน การประดิษฐ์หุ่นยนต์เพื่อมากู้ภัยในสถานการณ์จำลองอุบัติภัยที่เกิดขึ้น อาทิ อัคคีภัย อุทกภัย ภัยจากแผ่นดินไหว หรือภัยอื่นๆ โดยหุ่นยนต์ที่สร้างขึ้นจะต้องมีความสามารถในการค้นหาผู้รอดชีวิตหรือผู้เสียชีวิต ที่ตกค้างอยู่ในซากปรักหักพังต่างๆ ซึ่งเป็นการแข่งขันที่ท้ายทายและมีประโยชน์ต่อสังคม


ภาพ ทีม และหุ่นยนต์ Thailand Rescue Robot Championship 2006


         การแข่งขันหุ่นยนต์กู้ภัยชิงแชมป์ประเทศไทย ในรอบชิงชนะเลิศจัดขึ้นที่ MCC Hall เดอะมอลล์ งามวงศ์วาน เมื่อวันที่ 18 พ.ย. ที่ผ่านมา โดยเครือซิเมนต์ไทย ร่วมกับสมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (สจพ.) ร่วมจัดการแข่งขันหุ่นยนต์กู้ภัยชิงแชมป์ประเทศไทย “Thailand Rescue Robot Championship 2006” รอบชิงชนะเลิศ โดยมี 8 ทีมสุดท้ายที่เข้ารอบ จากผู้สมัครทั้งสิ้น 117 ทีม จาก 36 สถาบันการศึกษาทั่วประเทศ การแข่งขันคณะกรรมการได้จำลองสนามแข่งขันให้มีพื้นที่ขรุขระ และมีสิ่งกีดขวางในลักษณะสิ่งก่อสร้างที่ประสบภัยพิบัติ เพื่อให้หุ่นยนต์เข้าไปหาเหยื่อหรือผู้ประสบภัยในสถานที่เกิดเหตุ แต่ละทีมจะใช้เวลาในการแข่งขันทีมละ 30 นาที

ดูรูปทีมต่างๆ ได้
 16714_1.pic_team_winner_ideal.jpg
The Winner: “Ideal” from King Mongkut’s Institute of Technology North Bangkok won a scholarship worth 200,000 baht, plus a sponsorship from SCG to join World Robocup Rescue 2007 competition in Atlanta, USA, as Thailand representatives along with the Independent, the world champion from Rescue World Robocup 2006

 ทีม Ideal

  คว้ารางวัลชนะเลิศ ซึ่งสมาชิกในทีมประกอบด้วย นายทรงเกียรติ กิ่งแก้ว, นายวิทยา กุดแถลง และนายคมกฤช สถิรพัฒนกุล ได้รับทุนการศึกษา 2 แสนบาท และได้เป็นตัวแทนประเทศไทย ไปร่วมการแข่งขันหุ่นยนต์กู้ภัยชิงแชมป์โลก “World Robocup Rescue 2007” ที่เมืองแอตแลนตา สหรัฐอเมริกา

สถาบันเทคโลโนยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ปราจีนบุรี
King Mongkut’s Institute of Technology North Bangkok  Prajeenburi campus
16714_4.4.pic_team_ideal.jpg

 

รองชนะเลิศได้แก่ ทีม “CEO MISSION II RETURNS” และรางวัล Best Techniqueจากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

The Runner-up : University of the Thai Chamber of Commerce won a scholarship worth 100,000 baht

and

Best Technique: “CEO Mission II Returns” from University of the Thai Chamber of Commerce won a scholarship worth 50,000 baht


 16714_4.2.pic_team_ceo_mission 2_return.jpg


Oceanus Junior

มหาวิทยาลัยมหิดล
ได้รับ รางวัล Best Creativity รางวัล Best Creativity

Best Creativity: “Oceanus Junior” from Mahidol University won a scholarship worth 250,000 baht


 16714_11..pic.jpg

Moreover, each finalist team was funded 30,000 baht cash for developing their robots to compete in the final competition

Zad

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

 16714_4.3.pic_team_zed.jpg

 CEO Misson I Return

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

 16714_4.6.pic_team_ceo_mission-1_.jpg


MEC-CARLA
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

 16714_4.5.pic_team_mec_carla.jpg

The Impossible

สถาบันเทคโลโนยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ปราจีนบุรี

 16714_4.pic_team_the_impossible.jpg

Believe

มหาวิทยาลัยเทคโลโนยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตสาลายา

 16714_4.1.pic_team_believe.jpg

ทีมรุ่นพี่สถาบันเทคโลโนยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ  ทีม “Independent” ที่เป็นแชมป์โลกปัจจุบัน

ต้องไปรักษาแชมป์ ที่อเมริกาเช่นเดียวกัน

 16714_3.pic.jpg

16714_12..pic.jpg

ผู้ดูแล งานให้เกิดความเรียบร้อย
นางมัทนา      เหลืองนาคทองดี ผู้อำนวยการสำนักงานสื่อสารองค์กร และ
คุณพรพิมล     มฤคทัต       Manager-Public Communications
สำนักงานสื่อสารองค์กรบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)
 

16714_15.jpg

สนามแข่ง

16714_5.pic.jpg

ทีมเชียร์
16714_10..pic.jpg
สรุปข่าว ทั้งหมด

เครือซิเมนต์ไทย (SCG) จัด “Thailand Rescue Robot Championship 2006” ยิ่งใหญ่

ทีม Ideal จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือฯ คว้ารางวัลชนะเลิศ

เตรียมตัวชิงแชมป์โลกที่สหรัฐอเมริกา

 

เครือซิเมนต์ไทย (SCG) ร่วมกับสมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จัดแข่งขันหุ่นยนต์กู้ภัยชิงแชมป์ประเทศไทย “Thailand Rescue Robot Championship 2006” รอบชิงชนะเลิศ อย่างยิ่งใหญ่ที่ MCC Hall เดอะ มอลล์ งามวงศ์วาน ทีม Ideal จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ปราจีนบุรี คว้าแชมป์รับทุนการศึกษา 200,000 บาท และ           ได้สิทธ์เป็นตัวแทนประเทศไทยร่วมแข่งขันหุ่นยนต์กู้ภัยชิงแชมป์โลก World Robocup Rescue 2007 ที่เมืองแอตแลนต้า ประเทศสหรัฐอเมริกา โดย SCG เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด

 

สำหรับผลการแข่งขันทุกประเภท มีดังนี้

 

ชนะเลิศ ได้แก่ ทีม Ideal จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ปราจีนบุรี รับทุนการศึกษา 200,000 บาท และเป็นตัวแทนประเทศไทยร่วมการแข่งขันหุ่นยนต์กู้ภัยชิงแชมป์โลก World Robocup Rescue 2007 ร่วมกับทีม Independent แชมป์เก่าจากการแข่งขัน World Robocup Rescue 2006

รองชนะเลิศ ได้แก่ ทีม CEO Mission II Returns จากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย รับทุนการศึกษา 100,000 บาท

Best Technique ได้แก่ ทีม CEO Mission II Returns จากมหาวิทยาลัย หอการค้าไทย รับทุนการศึกษา 50,000 บาท

Best Creativity ได้แก่ ทีม Oceanus Junior จากมหาวิทยาลัยมหิดล รับทุนการศึกษา 50,000 บาท

 

นอกจากเงินรางวัลดังกล่าวนี้แล้ว ทุกทีมที่ผ่านเข้ารอบ 8 ทีมสุดท้าย ยังได้รับเงินสนับสนุนทีมละ 30,000 บาท เพื่อนำไปใช้พัฒนาหุ่นยนต์กู้ภัยมาแข่งขันรอบชิงชนะเลิศในครั้งนี้

 

นางมัทนา เหลืองนาคทองดี ผู้อำนวยการสำนักงานสื่อสารองค์กร บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “นโยบายด้านนวัตกรรม (Innovation) เป็นสิ่งที่เครือซิเมนต์ไทยให้ความสำคัญอย่างยิ่ง โดยมุ่งคิดค้น และพัฒนา สินค้า บริการ และกระบวนการทำงาน เพื่อสร้างสรรค์สังคมและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นอกเหนือจากเรื่องของธุรกิจแล้ว SCG ยังสนับสนุนกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เยาวชนได้พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเชิงนวัตกรรมด้วย อย่างเช่นโครงการ Thailand Rescue Robot Championship 2006 ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเวทีที่เปิดโอกาสให้เยาวชนได้แสดงความสามารถ รู้จักนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ได้จากห้องเรียนมาประยุกต์สร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติในอนาคต”

 

การประกวดหุ่นยนต์กู้ภัย Thailand Rescue Robot Championship เป็นกิจกรรมที่เครือซิเมนต์ไทย (SCG) จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ในปีนี้ มีผู้สมัครร่วมการแข่งขันถึง 117 ทีม จาก 36 สถาบันการศึกษา     ทั่วประเทศ  โดยประดิษฐ์หุ่นยนต์กู้ภัยมาร่วมลงสนามแข่งขันถึง 76 ตัว ซึ่งมากกว่าปีที่แล้ว โดยการแข่งขัน รอบแรกจัดไปแล้วเมื่อวันที่ 10-13 ตุลาคมที่ผ่านมา ผลปรากฏว่า 8 ทีมสุดท้ายที่ผ่านเข้าสู่การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศได้แก่ ทีม The Impossible และทีม Ideal จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ปราจีนบุรี ทีม Believe  จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตศาลายา ทีม MEC-CARLA จากมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ ทีม Oceanus Junior จากมหาวิทยาลัยมหิดล ทีม ZAD จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ทีม CEO MISSION I RETURNS และ ทีม CEO MISSION II RETURNS จากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

 

รศ. ดร. ประภาส จงสถิตย์วัฒนา นายกสมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทย กล่าวว่า “หุ่นยนต์กู้ภัยไทยมีพัฒนาการก้าวหน้าไปมาก เยาวชนไทยทั้งในระดับมหาวิทยาลัยและอาชีวศึกษา ต่างมีความสามารถในการสร้างสรรค์หุ่นยนต์กู้ภัยได้อย่างน่าชื่นชม สมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทย จึงเชื่อมั่นว่าในอนาคตการพัฒนาหุ่นยนต์ของไทย จะก้าวไปสู่ระดับการใช้งานจริงได้อย่างแน่นอน” 

 

ผศ. ดร. วรา วราวิทย์ หัวหน้าโครงการส่งเสริมกิจกรรมหุ่นยนต์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กล่าวเสริมว่า “จากที่ได้สังเกตพัฒนาการของเยาวชนไทยในการประกวดหุ่นยนต์กู้ภัยตลอด 3 ปีที่ผ่านมา พบว่าในปีนี้เยาวชนไทยมีแนวคิดในการพัฒนาหุ่นยนต์กู้ภัยหลายๆ อย่างที่น่าสนใจอย่างยิ่ง อาทิ การออกแบบโครงสร้างหุ่นยนต์ให้เคลื่อนที่ได้ในพื้นผิวที่แตกต่างกัน การสร้างหุ่นโครงสร้างเบาที่สามารถเคลื่อนที่ได้เร็วกว่าหุ่นยนต์กู้ภัยทั่วไป และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ไม่ซับซ้อนเพื่อค้นหาผู้ประสบภัยในซากปรักหักพัง จึงทำให้การแข่งขันในปีนี้สนุกกว่าปีที่ผ่านๆ มา”

 

Thailand Rescue Robot Championship เป็นหนึ่งในกิจกรรมเพื่อสังคมของเครือซิเมนต์ไทย (SCG) จัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 โดยมุ่งสนับสนุนและส่งเสริมให้เยาวชนไทย พัฒนาความสามารถในการประดิษฐ์นวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ประเทศชาติ และมนุษยชาติ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้เยาวชนเหล่านี้เติบโตขึ้นเป็นทั้งคนเก่งและดี เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต

 

****************************************

 English version

 “Ideal” from KMITNB wins “Thailand Rescue Robot Championship 2006”

Granted sponsorship from SCG to World Robocup Rescue 2007 in the US

 

The Siam Cement Group (SCG), in association with Thai Robotics Society and King Mongkut’s Institute of Technology North Bangkok, has held the final competition of Thailand Rescue Robot Championship 2006 at MCC Hall, The Mall Ngamwongwan. “Ideal” from King Mongkut’s Institute of Technology North Bangkok is the winner, receiving a scholarship worth 200,000 baht, plus a sponsorship from SCG to join World Robocup Rescue 2007 competition in the United States.

 

The competition’s summary

The Winner: “Ideal” from King Mongkut’s Institute of Technology North Bangkok won a scholarship worth 200,000 baht, plus a sponsorship from SCG to join World Robocup Rescue 2007 competition in Atlanta, USA, as Thailand representatives along with the Independent, the world champion from Rescue World Robocup 2006.

The Runner-up: “CEO Mission II Returns” from University of the Thai Chamber of Commerce won a scholarship worth 100,000 baht

Best Technique: “CEO Mission II Returns” from University of the Thai Chamber of Commerce won a scholarship worth 50,000 baht

Best Creativity: “Oceanus Junior” from Mahidol University won a scholarship worth 250,000 baht

 


Moreover, each finalist team was funded 30,000 baht cash for developing their robots to compete in the final competition. 

 

Ms. Matana Leongnarktongdee, Corporate Communications Director, The Siam Cement Public Company Limited, said “Innovation has been SCG’s major focus. We initiate as well as develop our products, services along with our daily working process so we can better serve the society and create better-living for Thai people. In addition to innovation in business, SCG also continuously supports social activities that encourage Thai youngsters to develop their innovative thinking ability and “Thailand Rescue Robot Championship 2006”, is one of our distinctive innovative-based projects. The competition will not only enable Thai youth to develop their Science and Technology skills but the innovative integration of the activity will also benefit Thai society in the future.”

 

The third Thailand Rescue Robot Championship this year has attracted 117 robotics teams from 36 academic institutions across the country with a total of 76 competing robots.  The first round, which was held on 10-13 October 2006, selected 8 finalist teams including “The Impossible” and “Ideal” from King Mongkut’s Institute of Technology North Bangkok, “Believe” from Rajamangala University of Technology, Salaya Campus; “MEC-CARLA” from South-East Asia University; “Oceanus Junior” from Mahidol University; “ZAD” team from Srinakharinwirot University; .CEO MISSION I RETURNS” and “CEO MISSION II RETURNS” from University of the Thai Chamber of Commerce.

 

Assoc. Prof. Dr. Prabhas Chongstitvatana, President of the Thai Robotics Society, said    “Robot development in Thailand has been growing rapidly, especially rescue robot. Thai students, both from universities and vocational colleges, have amazingly impressive skills to develop their rescue robot. So, I think our Thai robots can be used in the real situation in the near future.”

 

Asst. Prof. Vara Varavithya, Head of Robot Project, King Mongkut’s Institute of Technology North Bangkok, added “Over the past 3 years, we can see that Thai students have many advanced ideas to design their robots, physically and functionally, such as a robot’s mobility design that enables it to work on all surfaces, a smaller design for better movement, or a design that works for searching victims in the simulation, which made the competition this year more exciting than ever.”

 

Thailand Rescue Robot Championship is one of SCG’s social contributions which has been organized for three consecutive years since 2004. The program is aimed at encouraging Thai youth to foster knowledge innovative thinking abilities that lead to innovations that benefit our society and our country. Students participated in this program are expected to develop their competency and, at the same time, morality and grow up to be key driving force of the country.  

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที