เป็นคนที่มีความคิดด้วยการอบรม Kaizen
คอร์สอบรมไคเซ็น 1 สำหรับผู้ที่เริ่มต้น
-เริ่มจากสร้างแนวคิดไคเซ็น-
คนส่วนใหญ่จะรู้สึกกลัว เมื่อมีการบอกให้ทำไคเซ็น เนื่องจากมีความคิดฝังใจว่า ต้องเป็นไคเซ็นที่ยิ่งใหญ่ มีกลไกขนาดใหญ่ และมีการวางแผนที่ดี จึงต้องเริ่มจากการกำจัดความคิดแบบนั้นของพวกเขาออกไปก่อนแล้วทำการสื่อสารให้เกิดความเข้าใจว่า ไคเซ็นคือ
1.การลองเปลี่ยนวิธีทำ
2.ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กขนาดไหนก็ OK
3.ก่อนอื่นต้องลงมือทำจริง
ตัวอย่าง มีกล่องใส่เอกสารอยู่ข้างเครื่องคอมพิวเตอร์ รู้สึกเกะกะเวลาขยับเมาส์
วิธีแก้ปัญหา เปลี่ยนตำแหน่งวางกล่องใส่เอกสาร -> ไม่กีดขวางการทำงานของเมาส์ เพียงแค่นี้ก็เป็นการทำไคเซ็นที่ยิ่งใหญ่มาก เนื่องจากทำให้ความหงุดหงิดหมดไป และสามารถปฎิบัติงานได้อย่างราบรื่นขึ้น แทนที่จะว่า “อะไรกันเนี่ย” เรื่องแค่นี้เอง แต่ควรชมด้วยคำว่า ดีมาก ! เหมือนการกดปุ่ม Like ใน Facebook นั่นเอง
มนุษย์ทุกคนไม่ว่าใครก็จะรู้สึกดีเมื่อได้รับคำชม แม้ว่าจะเป็นเพียงเรื่องเล็กน้อยก็ตาม หากเกิดวัฎจักร ไคเซ็น -> ชม -> ขวัญกำลังใจ ->ไคเซ็น อย่างต่อเนื่องแล้ว ก็เรียกได้ว่าเข้าทาง
คอร์สอบรมไคเซ็น 2 เริ่มทำจนเป็นนิสัยบ้างเล็กน้อย
-เปิดโลกทัศน์ไคเซ็น-
ทำการเปิดโลกทัศน์ไคเซ็น เพื่อให้เกิดความเข้าใจว่า เรื่องที่ทำไคเซ็นได้นั้นมีอยู่รอบตัวเรา เพียงแค่นำมาประยุกต์ใช้ก็พอแล้ว เรียกเวลาที่อยู่ในสถานปฎิบัติงานว่า On และเวลาอยู่ข้างนอกว่า Off ว่ากันว่า การสลับสับเปลี่ยนระหว่าง On – Off เป็นเรื่องสำคัญ ไคเซ็น คือ กิจกรรมอย่างหนึ่งที่จะปลดแอกการเปลี่ยน On-Off ให้ได้
แม้จะถูกสั่งให้ทำไคเซ็นในสถานปฎิบัติงาน แต่ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นไคเซ็นที่เกี่ยวกับสถานปฎิบัติงานเท่านั้น อาจเป็นการทำไคเซ็นในเรื่องที่พบ อาจเป็นปัญหารอบๆตัวไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่ไม่สะดวก ไม่พอใจ เป็นต้น เคล็ดลับในการเปิดโลกทัศน์ไคเซ็นให้ได้ผลคือ การรู้ตัว รู้ตัวในเรื่องไคเซ็นที่เกี่ยวกับตัวเอง คนส่วนใหญ่ได้ทำไคเซ็นในชีวิตประจำวันเกี่ยวกับเรื่องที่ทำให้ตัวเองลำบาก โดยไม่ต้องรอให้คนอื่นมาสั่งให้ทำ
ตัวอย่าง การลืมนำกุญแจบ้านติดตัว
วิธีแก้ปัญหา กำหนดให้บนกล่องรองเท้าหลังประตูเป็นตำแหน่งวางกุญแจ -> ใช้จานเล็กๆ เป็นที่วางกุญแจเพื่อให้สังเกตเห็นได้ง่าย
การดำเนินการที่ต่อเนื่องนี้ คือ การทำไคเซ็นนั่นเอง อาจไม่มีใครบอกว่า นี่คือ การทำไคเซ็น แต่แท้จริงแล้วเป็นการทำไคเซ็นที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ หากสามารถรู้ตัวในเรื่องเหล่านี้ แล้วนำไปใช้ในสถานปฎิบัติงานได้ก็เพียงพอแล้ว นอกจากนี้ หากนำไคเซ็นของเพื่อนร่วมงานไปปรับใช้กับครอบครัวก็เป็นเรื่องที่ดีเช่นเดียวกัน การขยายผลไคเซ็นไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ใดก็สามารถใช้ได้ เพื่อเป็นการขยายขอบเขตของไคเซ็น สถานปฎิบัติงาน -> ชีวิตประจำวัน ชีวิตประจำวัน -> สถานปฎิบัติงาน
อ้างอิงจาก : Creative & Idea Kaizen Training สร้างนิสัย ทำไคเซ็นได้ ฉบับที่71 เดือนสิงหาคม 2555
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที