ณัฐพงษ์

ผู้เขียน : ณัฐพงษ์

อัพเดท: 13 พ.ย. 2006 13.25 น. บทความนี้มีผู้ชม: 18082 ครั้ง

รู้จักกับ คันจิ บทที่ 2


รู้จัก คันจิ บทที่ 2

    漢字紹介 Kanji Shokai 2

                  

           เรามาว่ากันต่อนะครับ  ในส่วนของ “บุฉุ” นั้น เราคงไม่ถึงกับต้องไปนั่งท่องจำ  การเรียกบุฉุตัวนั้น ๆ หรอกนะครับ  แต่ผมจะใส่เข้ามาให้รู้ถึงที่มาของมันเฉย ๆ

[bushu] 部首    ส่วนโครงสร้างของอักษรคันจินั้น  เรียกกันว่า ぶしゅ bushu “บุฉุ” เช่นシ~ ตัวนี้เป็นส่วนโครงสร้างประกอบที่อยู่ข้างหน้า  (ตัวนี้อ่านว่า さんずい) 

大 (ส่วนตัวนี้อ่านว่า  だい) ซึ่งมันจะทำหน้าที่บ่งชี้ความหมายคร่าว ๆ  ของอักษรตัวนั้น ๆ ไม่ว่าจะปรากฏอยู่ทางซ้าย  ทางขวา  บนหรือล่างของตัวอักษรนั้น ๆ ก็ได้  ซึ่งมันก็จะมีตัวอักษรคันจิบางตัวที่มี ราก หรือ บุฉุ ด้วยตัวของมันเอง อย่างเช่นตัวที่แนะนำไปข้างบนก็คือตัว“ได”ที่แปลว่าใหญ่นั่นแหละครับ   

หลักการจำง่าย  ๆ ของบุฉุ  ก็คือ  ส่วนที่อ่านแบบจีน (เสียงOn) นั้นส่วนใหญ่จะมีส่วนที่แทนเสียงเหมือนกันก็จะอ่านเสียงแบบ On เหมือนกันแทบทั้งสิ้น (ประมาณ58 เปอร์เซ็นต์ ถือว่าเยอะมาก)*(1)  ส่วนอีกแบบก็จะมีเสียงแตกต่างกันเล็กน้อย(ประมาณ 33 เปอร์เซ็นต์)*(2)    ส่วนที่ออกเสียงต่างออกไปโดยสิ้นเชิงนั้น  จะมีเพียงไม่ถึงร้อยละ 10 เท่านั้น*(3)  พูดอย่างงี้แล้ว อาจจะงงไปกันใหญ่  งั้นเดี๋ยวผมจะยกตัวอย่างให้ฟังนะครับ  (เปิดลำโพงคอมฯกันด้วย  ฮา.....)

แบบ*(1)     มีเสียงอ่านแบบ ออนโยมิ ตรงกัน  ได้แก่

bushu เรียกว่า  ちから  อธิบายง่าย ๆ ก็คือ  คันจิที่มีบุฉุเหมือนตัว Ka ในคาตาคานะเป็นส่วนประกอบ

例: อ่านว่าコウแปลว่า คุณงามความดี,ผลงาน       ส่วนอีกตัว  อ่านว่าコウ เหมือนกัน  แปลว่า ประสิทธิผล,ได้(ผล),ฤทธิ์(ของยา)  *สังเกตได้ว่าอ่านว่า โค เหมือนกัน

ยัง ๆ ยังมีอีกตัวอย่าง  เอาให้เข้าใจก่อน

 

bushu เรียกว่า  のぎへん ตัวคันจิที่มีตัวนี้เป็นส่วนประกอบ

例: อ่านว่า   シュウแปลว่า ฤดูใบไม้ร่วง       

                   ก็อ่านว่าシュウแปลว่า เยี่ยมยอด,ดีเลิศ       

          

     แบบ*(2)     มีเสียงอ่านแตกต่างกันเล็กน้อย แต่ยังอยู่ในฮิรางานะวรรคเดียวกัน  ได้แก่

bushu เรียกว่า  くにがまえ  อธิบายง่าย ๆ ก็คือ  คันจิที่มีบุฉุสี่เหลี่ยมแบบนี้เป็นส่วนประกอบ  (ที่แปลว่าปากนั่นครับ) 

例:อ่านว่าแปลว่า ถาวร,แข็ง,ดื้อ        ส่วนอีกตัว อ่านว่า コクแปลว่าประเทศ,ชาติ  เริ่มเก็ทมั๊ยครับ?  ถ้ายังเราไปดูตัวอย่างที่ 2 กันต่อ

 

ตัวอย่างที่ 2 

bushu เรียกว่า  さんずい 

例:    อ่านว่า แปลว่า ไอน้ำ             ส่วนตัว อ่านว่า   แปลว่า แม่น้ำ     *จะสังเกตเห็นได้ว่าอ่านคล้าย ๆ กัน  ยังอยู่ในอักษรตัวฮิรางานะวรรคเดียวกัน

 

แบบ*(3)     มีเสียงอ่านแตกต่างออกไปเลย  ได้แก่

bushu เรียกว่า  にんべん  (เหมือนตัว ในคาตาคานะ)  ตัวนี้จะจำง่ายหน่อยคือมันจะวางอยู่ข้างหน้าส่วนประกอบอื่นตลอด    

例:อ่านว่าหรือ แปลว่า รับใช้  งานการ  หน้าที่  เช่นคำว่า 仕事shigoto แปลว่า งาน ที่เราคุ้นเคยกันนั่นแหละครับ        ส่วนอีกตัว อ่านว่า แปลว่า ติด,แนบ

 

แบบที่ 3 นี้มันเหมือนไม่ช่วยเราในการจำเลยใช่มั้ยครับ  อิอิ

 

           อันนี้เป็นคันจิง่าย ๆ พื้นฐานที่เราต้องจำให้ได้นะครับ  ซึ่งผมนำมาให้น้อง ๆ ที่เรียนหรือจะสอบวัดระดับ 3 4 มาให้ดูกัน  มันอาจจะง่ายสำหรับเพื่อน ๆ บางคนนะครับ  แต่จะแนะนำน้อง ๆที่เพิ่งเริ่มเรียนหน่ะครับ   受けるแปลว่า รับ,ได้รับ,ยอมรับ,เข้าสอบ อ่านว่าジュครับ

 

ไว้คราวหน้ามาต่อกันเรื่องของคันจินะครับ  ซึ่งผมจะเริ่มแนะนำตัวอักษรคันจิ  พร้อมกับอธิบายความหมาย  คำอ่าน  คำประสมและข้อควรจำในสไตล์ผผมไว้ด้วย

  Boylovemusic

Boylovemusic@hotmail.com

 

 

เว็บภาษาญี่ปุ่นที่ดีที่สุด
www.j-doramanga.com


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที