การตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ
การตัดสินใจใด ๆ จะมีอานุภาพทรงพลังเด็ดขาดและได้ประโยชน์สูงสุดก็ต่อเมื่อมีลักษณะสามประการนี้ คือ
ในการตัดสินใจใดถ้ามีทั้งความปรารถนา เหตุผล ความรู้สึก อารมณ์ สิ่งเร้าแวดล้อม รสนิยม ความทรงจำ ความรับผิดชอบ สำนึกรู้ ภาวะสัมพัทธ์ในความสัมพันธ์ ข้อมูล และประสบการณ์อันเหมาะสมโดยครบถ้วนแล้ว จะตัดสินใจได้ง่าย การตัดสินใจจะมีอานุภาพมาก
ดังนั้นหากประสงค์จะพัฒนาการตัดสินใจให้มีอำนาจนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง บรรลุความสำเร็จดังหวังได้ ต้องรวบองค์ประกอบให้ครบถ้วน
หากทุกองค์ประกอบกลมกลืนกันดีไม่มีความขัดแย้งใด ๆ ในองค์ประกอบ เช่น ความอยากไม่ขัดแย้งกับเหตุผล เหตุผลไม่ขัดแย้งกับสำนึกรู้ สำนึกรู้ไม่ขัดแย้งกับความรับผิดชอบ ความรับผิดชอบไม่ขัดแย้งกับความจำเป็น เป็นต้น หากกลมกลืนกันดีแล้ว การตัดสินใจใด ๆ ที่มีองค์ประกอบเช่นนี้จะมีความเด็ดขาดมาก
ดังนั้นหากประสงค์จะพัฒนาการตัดสินใจให้เด็ดขาดต้องย่อยรายละเอียดขององค์ประกอบ หาจุดร่วมและผสานทุกองค์ประกอบให้กลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกัน เมื่อทุกองค์ประกอบเป็นหนึ่งเดียวกันแล้ว การตัดสินใจนั้น ๆ จะเด็ดขาดแน่วแน่ นำไปสู่ความสำเร็จโดยง่าย
เพื่อประโยชน์สูงสุดควรพัฒนาทุกองค์ประกอบของการตัดสินใจไปสู่ระดับสมบูรณ์ เช่น เหตุผลก็เป็นเหตุผลที่ลึกล้ำ สำนึกรู้ก็เป็นสำนึกรู้ที่ล้ำลึก ความรู้สึกก็เป็นความรู้สึกที่ละเอียดอ่อน อารมณ์ก็เป็นอารมณ์ที่ลึกซึ้ง ความปรารถนาก็เป็นปรารถนาเพื่อประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่ ความเหมาะสมเชิงสัมพัทธ์ก็เป็นความเหมาะสมที่พอดี เป็นต้น
ที่มา : ศาสตร์แห่งการตัดสินใจ
โดย : ไชย ณ พล
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที