คือ การปลุกจิตสํานึกของฝ่ายบริหารและพนักงาน
ทั้งหลายของหน่วยงานให้ตระหนักถึงความสำคัญของ “มาตรฐาน” และ “คณภาพ” ดังนั้นแม้หน่วยงานได้ผ่านการรับรองจากบริษัทรับประเมินแล้วแต่การปรับปรุงมาตรฐานคุณภาพก็มิใช่จะสิ้นสุดลงเพียงนั้นหากต้องเดินหน้าปรับปรุงที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้ถือหุ้น ฝ่ายบริหาร พนักงาน ลูกค้าตลอดจนสังคมส่วนรวม
การได้รับจดทะเบียน ISO 9000 นอกจากจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงภายใน แล้วยังมีค่าใช้จ่ายในการทำงานของบริษัทประเมิน ประมาณ 10,000-75,000 ดอลล่าร์ สรอ. ต่อ 1 รายจึงมีคำถามว่า ค่าใช้จ่ายดังกล่าวจะคุ้มกับประโยชน์หรือไม่
มองจากหน่วยธุรกิจในประเทศไทย หากเป็นหน่วยผลิตที่มีการส่งสินค้าไปขายยังต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศประชาคมยุโรปและสหรัฐอเมริกา การจดทะเบียน ISO 9000 รวมถึงระบบ CE ก็นับเป็นสิ่งจำเป็น เพราะประเทศเหล่านี้ยึดมั่นในระบบมาตรฐานคุณภาพเป็นอย่างยิ่ง การผ่านการรับรองมาตรฐานคุณภาพจะช่วยลดอุปสรรคทางการค้า นอกจากนี้ผู้ส่งมอบสินค้าและบริการไม่ต้องทนต่อการประเมินตรวจสอบครั้งแล้วครั้งเหล่าจากลูกค้าแต่ละราย และยังเป็นการจ่ายเงินเพียงครั้งเดียว แต่สามารถประกาศมาตรฐานคุณภาพของตนโดยติดเครื่องหมาย ISO 9000 ลงบนผลิตภัณฑ์หัวกระดาษจดหมาย และสื่อโฆษณาได้ตลอดไม่ถูกถอดถอนการรับรอง จนถึงปี 2539 มีราว 200 บริษัทได้ ISO 9000 และคาดว่าในปี 2540 จะมีเพิ่มอีกราวประมาณ 100 บริษัท
ที่มา : พิมพ์ครั้งแรกใน เศรษฐสาร ปีที่ 11 ฉบบที่ 3 มีนาคม 2540
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที