JUSE (Japanese Union of Scientists and Engineers) ได้คิดวิธีการควบคุมคุณภาพอย่างมีประสิทธิภาพขึ้นภายในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งต่อมาเรียกว่า QCC (Quality Control Circle) อันเป็นผลให้ญี่ปุ่นประสบความสำเร็จในด้านธุรกิจนำหน้าประเทศตะวันออก และแนวความคิดของ QCC นี้ก็เริ่มระบาดไปทั่วโลก ทั้งในอเมริกา ยุโรป ออสเตรเลีย และกำลังได้รับการส่งเสริมอย่างจริงจัง ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทุ้งประเทศไทยด้วย
สำหรับ QCC ที่จะกล่าวต่อไปนี้ จะมุ่งประโยชน์ของการใช้ QCC ต่อการควบคุมสำนักงานเป็นประเด็นหลัก
QCC หมายถึง พนักงานกลุ่มเล็กๆ ซึ่งสังกัดในหน่วยงานเดียวกัน ประชุมปรึกษาหารือกันเป็นประจำเพื่อทำกิจกรรมเกี่ยวกับ Q.C.Activity ด้วยความสมัครใจ อย่างตั้งใจและต่อเนื่อง อีกทั้งเป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งของ Company wide quality control
กลุ่มพนักงานเหล่านี้จะทำการพัฒนาตัวเอง และพัฒนาซึ่งกันและกัน รวมทั้งการควบคุม การปรับปรุงหน่วยงานของตน ด้วยความร่วมมือของสมาชิกภายในกลุ่มทุกคนโดยใช้ Q.C.Technique
แนวความคิดพื้นฐานของ QCC มีดังนี้
1. เพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมช่วยเหลือในการพัฒนา และปรับปรุงองค์กรนั้นๆโดยมีส่วนหนึ่งของ Company Wide Quality Control ซึ่งพนักงานทุกคน ตั้งแต่ระดับสูงถึงต่ำในองค์การ จำเป็นต้องมีส่วนร่วมในการควบคุมคุณภาพในหน่วยงานของตน
2. เพื่อที่สร้างสรรค์หน่วยงานให้เป็นสถานที่ ซึ่งพนักงานทุกคนรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า และสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน โดยเชื่อว่าพนักงานไม่ใช่เป็นเครื่องจักร แต่พนักงานเป็นมนุษย์ที่สามารถอุทิศความสามารถและนำศักยภาพต่องานที่ได้รับมอบหมายได้อย่างเต็มที่ พนักงานสามารถใช้ความเฉลียวฉลาด ความคิดสร้างสรรค์ หรือพยายามพัฒนาความสามารถของตนเอง หากมีโอกาสใช้ความคิด และสามารถทำงานเป็นกลุ่มโดยมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน
3. เพื่อให้ความสามารถของมนุษย์ได้ถูกแสดงออกมาอย่างเต็มที่ และนำมาใช้ประโยชน์อย่างไม่มีที่สิ้นสุดโดยเชื่อว่ามนุษย์นำเอาความสามารถออกมาใช้ยังไม่หมด
กิจกรรมกลุ่ม (Group Activity) จะต้องประกอบด้วยคุณลักษณะ 4 อย่าง จึงจะทำให้ QCC ได้รับความสำเร็จ
1. สมาชิกต้องมารวมกลุ่มกัน เพื่อมีส่วนร่วมในจุดประสงค์เดียวกัน สิ่งที่ทุกคนต้องยอมรับ คือ ความเสมอภาคในการแสดงความคิดเห็น มีการแลกเปลี่ยนความรู้กันอย่างเต็มที่
2. สมาชิกเข้าใจซึ่งกันและกัน สามารถพูดจากันได้อย่างตรงไปตรงมา ไม่ใช่ใช้วิธีบังคับหรือภาวะจำใจ โดยอาศัยตำแหน่งหน้าที่
3. สมาชิกต้องทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด และดำเนินการกิจกรรมกลุ่มด้วยการริเริ่มขึ้นเอง
4. สมาชิกมีความสัมพันธ์กันพอที่จะมีอิทธิพลซึ่งกันและกัน
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที