โดยปกติในการแบ่งภารกิจหลักให้สอดคล้องกับสภาพการแข่งขันทางธุรกิจมักจะแบ่งภารกิจหลักนี้ออกเป็น 4 ด้าน ด้วยกันคือ
1. การสรรหา (Recruitment) หมายถึง การเสาะแสวงหาเพื่อเลือกสรรให้ได้คนดีที่มีความรู้ความสามารถเหมาะสมกับงาน และที่สำคัญที่สุดก็คือ สามารถปรับตนเองเข้ากับวัฒนธรรมของบริษัท (Corporate Culture) หรือนอร์ม (Norm) ขององค์กร
2. การพัฒนา (Development) หมายถึง การดำเนินการที่จะส่งเสริมให้พนักงานมีความรู้ ความสามารถ ทัศนคติและประสบการณ์เพิ่มขึ้นในรูปแบบของการฝึกอบรม (Training) การศึกษาของพนักงาน (Employee Education) การพัฒนาพนักงาน (Emplyee Development) เำพื่อให้พนักงานสามารถปฎิบัติงานในตำแหน่งปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันก็ดำเนินการพัฒนาอาชีพพนักงาน (Career Development) ให้พร้อมที่จะรับผิดชอบกรือเติบโตในตำแหน่งที่สูงขึ้น รวมถึงการปรับหรือพัฒนาองค์กร (Organizaitonal Development) ให้เป็นองค์กรที่ชนะในการแข่งขันได้ในที่สุด
3. การรักษาพนักงาน (Retention) หมายถึง ความพยายามที่จะให้พนักงานพึงพอใจในการทำงาน ด้วยการสร้างบรรยายกาศให้ผู้ปฎิบัติงานมีความและกำลังใจในการทำงาน มีโอกาสเติบโตก้าวหน้าในหน้าที่การงานด้านตำแหน่ง และมีรายได้เพียงพอกับความเป็นอยู่ ทั้งนี้เป็นความพยายามของบริษัทในการบริหารเพื่อสนองความต้องการของพนักงานให้ได้มากที่ดุดเท่าที่จะทำได้ภายใต้กฎ ระเบียบหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่จะอำนวยให้สิ่งตอบแทน และบริการต่าง ๆ ที่หน่วยงานจัดให้พนักงานซึ่งเป็นสิ่งจูงใจในการทำงานอย่างหนึ่ง
4. การใช้ประโยชน์ (Utilization) หมายถึง การให้คนได้ประโยชน์สูงสุดตามแนวทางในการจัดการแผนกำลังคน การขยายขอบเขตงานหรือการปรับปรุงงานการตรวจสอบหรือวิจัยด้านทรัพยากรบุคคล ทั้งนี้ก็เพื่อจัดคนหรือใช้คนให้ตรงกับงานให้ทำงานที่เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถ และท้าทายคน รวมถึงการไม่ให้คนต้องอยู่ว่างเปล่าโดยไม่มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที