สุนิสา

ผู้เขียน : สุนิสา

อัพเดท: 18 ส.ค. 2012 15.09 น. บทความนี้มีผู้ชม: 13206 ครั้ง

ระบบคุณภาพ ISO 9001:2008 และการตรวจติดตามคุณภาพภายใน


ระบบคุณภาพ ISO 9001:2008 และการตรวจติดตามคุณภาพภายใน

 

ระบบคุณภาพ ISO 9001:2008 และการตรวจติดตามคุณภาพภายใน

ISO9001:2008 ระบบการบริหารคุณภาพ ว่าด้วยเรื่องข้อกำหนด
ISO9004:2009 ระบบการบริหารคุณภาพ ว่าด้วยเรื่อง การบริหารสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน
ISO 19011:2003  แนวทางในการตรวจประเมินระบบบริหารงานคุณภาพ และสิ่งแวดล้อมสำหรับ Auditor

ภาพรวมของ ISO9001:2008
1. ให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า และข้อบังคับตามกฏหมาย (กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับสินค้าของเราเท่านั้น)
2. มุ่งเน้นไปควบคุมผู้ว่าจ้างภายนอก
3. ความมีประสิทธิผลของระบบบริหารงานคุณภาพ

ภาพรวมของ ISO 19011
1. ครอบคลุมการบริหารจัดการของโปรแกรมการตรวจประเมิน
2. ครอบคลุมการตรวจประเมินภายในและภายนอก
3. เป็นแนวทาง จะใช้คำว่า ”ควรจะ”  ไม่ใช่  “ต้อง”
4. มาตรฐานการตรวจประเมินด้านคุณภาพและสิ่งแวดล้อมรวมกันใน ISO 19011
5. ครอบคลุมหลักเกณฑ์การตรวจประเมิน
6. ครอบคลุมแนวทางเกี่ยวกับความสามารถของผู้ตรวจประเมิน

หลักการบริหารคุณภาพ 8 ประการ (Quality Management Principles)

1. Customer focused organization (การมุ่งเน้นที่ลูกค้า) องค์กรต้องทราบถึง ความต้องการ (Needs) และความคาดหวัง (Expectation) ของลูกค้า 
2. Leadership (ภาวะผู้นำ) ผู้นำต้องสร้างความเป็นหนึ่งเดียว กำหนดจุดมุ่งหมายทิศทางองค์กร ผ่านการกำหนดนโยบาย วัตถุประสงค์เป้าหมาย และทำเป็นตัวอย่างให้ดู
3. Involvement of people (การมีส่วนร่วมของพนักงาน) พนักงานทุกระดับสำคัญต่อองค์กร
4. Process approach (การดำเนินงานเป็นกระบวนการ) ผลสำเร็จจะมีประสิทธิภาพดีกว่า ถ้าการจัดการทรัพยากร และกิจกรรมถูกจัดอย่างเป็นกระบวนการ (หมายถึงชุดกิจกรรมที่สัมพันธ์กันในการเปลี่ยน Input เป็น Output)
5. System approach to management (ระบบในการบริหารจัดการ) กระบวนการย่อย ๆ ร่วมกันเป็นกระบวนการใหญ่ สัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบเพื่อให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
6. Continual improvement (การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง) ควรเป็นวัตถุประสงค์หลักขององค์กร ใช้หลัก PDCA
7. Factual approach to decision –making (การใช้ข้อเท็จจริงเป็นฐานในการตัดสินใจ) วิเคราะห์ข้อมูลอย่างมีเหตุผล
8. Mutually beneficial supplier relationships (ความสัมพันธ์กับผู้ส่งมอบบนผลประโยชน์เท่าเทียมกัน) องค์กรและผู้ขายต่างพึ่งพาอาศัยกัน สร้างประโยชน์ร่วมกัน ส่งเสริมให้เกิดมูลค่าเพิ่มทั้งสองฝ่าย

Correction และ Corrective action แตกต่างกันอย่างไร (ข้อกำหนด 8.5.2)
ตัวอย่างที่ 1 เหตุการณ์
แก้วน้ำวางที่ริมโต๊ะ ระหว่างทำงาน มือปัดโดนแก้วน้ำตกแตก
Correction (การแก้ไข) 
คือ การแก้ไขสิ่งที่เกิดขึ้นให้ถูกต้อง ในที่นี้คือ แก้วน้ำตกแตกแล้ว เก็บกวาดให้เรียบร้อย คือการแก้ไข (Correction) 
Corrective action (ปฏิบัติการแก้ไข) การจะเขียนมาตรการปฏิบัติการแก้ไข ต้องรู้สาเหตุที่แท้จริงก่อนจะได้ แก้ไขได้ตรงจุด ป้องกันการเกิดขึ้นซ้ำ
วิเคราะห์สาเหตุ ทำไมแก้วน้ำจึงตก
1. แก้วน้ำวางริมโต๊ะ
2. แก้วน้ำวางกีดขวางบริเวณปฏิบัติงาน
มาตรการปฏิบัติการแก้ไข เพื่อป้องกันการเกิดขึ้นซ้ำ
1. จัดวางแก้วน้ำในที่ ที่เหมาะสม ไม่วางริมโต๊ะ และไม่กีดขวางการทำงาน

ภายหลังการปฏิบัติการแก้ไข จะต้องมีการวัดประสิทธิผล
การวัดประสิทธิผล โดยการดูว่าปัญหาเดิมยังคงเกิดหรือไม่ หากยังคงเกิดแสดงว่าไม่มีประสิทธิผล หากว่าจะยังคงเกิดปัญหาเดิม แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า มาตรการปฏิบัติการแก้ไข ไม่มีประสิทธิผล ซึ่งต้องพิจารณาจากสาเหตุการเกิดข้อบกพร่อง ว่ามีสาเหตุเดิมหรือไม่ ถ้าไม่ได้มาจากสาเหตุเดิม แสดงว่ามาตรการปฏิบัติการแก้ไข มีประสิทธิผลแล้ว

ตัวอย่างที่ 2 เหตุการณ์
ขับรถ แล้วรถน้ำมันหมดกลางทาง
Correction (การแก้ไข) 
ไปซื้อน้ำมันจากปั๊มใกล้ ๆ มาเติม
Corrective action (ปฏิบัติการแก้ไข) การจะเขียนมาตรการปฏิบัติการแก้ไข ต้องรู้สาเหตุที่แท้จริงก่อนจะได้ แก้ไขได้ตรงจุด ป้องกันการเกิดขึ้นซ้ำ
วิเคราะห์สาเหตุ ทำไมน้ำมันจึงหมด
1. เห็นว่าเก น้ำมันติด E แล้วแต่ยังไม่เติม คิดว่ายังไปได้อีก

มาตรการปฏิบัติการแก้ไข เพื่อป้องกันการเกิดขึ้นซ้ำ
1. เมื่อเก น้ำมันอยู่ที่ E เมื่อไร เติมทันที ไม่รอ

ภายหลังการปฏิบัติการแก้ไข จะต้องมีการวัดประสิทธิผล
การวัดประสิทธิผล โดยการดูว่าปัญหาเดิมยังคงเกิดหรือไม่ หากยังคงเกิดแสดงว่าไม่มีประสิทธิผล แม้ว่าจะยังคงเกิดปัญหาเดิม แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า มาตรการปฏิบัติการแก้ไข ไม่มีประสิทธิผล ซึ่งต้องพิจารณาจากสาเหตุการเกิดข้อบกพร่อง ว่ามีสาเหตุเดิมหรือไม่ ถ้าไม่ได้มาจากสาเหตุเดิม แสดงว่ามาตรการปฏิบัติการแก้ไข มีประสิทธิผลแล้ว
ถ้าน้ำมันยังหมดกลางทางอีก 
1. ถ้าเกิดจากสาเหตุเดิม แสดงว่าไม่มีประสิทธิผล ต้องหาสาเหตุใหม่ มาตรการใหม่
2. ถ้าเกิดจากว่าท่อน้ำมันรั่ว แสดงว่ามาตรการปฏิบัติการแก้ไขเดิม มีประสิทธิผลแล้ว เนื่องจากเกิดจากสาเหตุใหม่

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที