สุวรรณี

ผู้เขียน : สุวรรณี

อัพเดท: 25 ก.ค. 2012 13.45 น. บทความนี้มีผู้ชม: 4859 ครั้ง

ในเวลานี้นานาประเทศต่างจับจ้องไปที่เป้าหมายการลงทุนใหม่ที่พม่า ซึ่งเมื่อใดก็ตามที่พม่าเปิดประเทศ อุตสาหกรรมที่จะเกิดขึ้นในพม่าก็จำเป็นต้องใช้ซัพพลายเออร์ในประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่ใกล้ที่สุด นักลงทุนไทยก็สามารถที่จะใช้ประโยชน์จากความเข้มแข็งของซัพพลายเออร์ในประเทศ ไม่ว่าจะส่งวัตถุดิบ ผู้เชี่ยวชาญ หรือทุน ไปลงทุนในประเทศข้างเคียง


ไทยจะเป็นผู้นำ AEC หลังปี 2015?

อุตสาหกรรมไทยที่มีความโดดเด่นและมีทิศทางในการขยายตลาดได้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ประโยชน์จากการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ในปี 2015 ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ การเกษตร และสิ่งทอ เนื่องจากอุตสาหกรรมเหล่านี้มีซัพพลายเชนที่ดีมาก อีกทั้งยังสามารถเป็นแกนสำคัญในการถ่ายทอดความเจริญไปยังประเทศเพื่อนบ้านได้อีกด้วย
 
ขณะที่อุตสาหกรรมไทยที่ยังไม่แข็งแรง คือ ไอซีที และโลจิสติกส์ ขาดการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งยังต้องพัฒนาและปรับปรุงอีกมากเพื่อสนับสนุนการเติบโตของภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอำนวยความสะดวกทางการค้า การนำเข้าส่งออกด้วยระบบ Single Window
 
“ความได้เปรียบในเรื่องตำแหน่งที่ตั้งเป็นจุดสำคัญที่จะสร้างคำว่า จุดศูนย์กลาง โดยภาครัฐจะต้องลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานในเรื่องของระบบรถไฟ ท่าเรือ สนามบิน และที่สำคัญคือระบบซอฟแวร์ Single Window ซึ่งคาดการณ์ว่าน่าจะสำเร็จภายในรัฐบาลนี้” หม่อมราชวงศ์ พงษ์ศักดิ์ สวัสดิวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวไว้ในงานสัมมนาทิศทางอุตสาหกรรมไทยหลังปี 2015 เมื่อต้นเดือนพฤษภาคม 2555
 
ไทยจะเป็นผู้นำ AEC หลังปี 2015?
 
อาเซียนซึ่งมีประชากรราว 600 ล้านคน จีดีพีโดยรวม 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ มีความสำคัญอย่างไร
 
โครงสร้างประชากรในอาเซียน มีลักษณะที่แตกต่างกัน ไทยและสิงคโปร์มีสัดส่วนประชากรที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ หรือ Aging Society ในอัตราที่สูงใกล้เคียงกัน แรงงานในไทยน้อยลง แรงงานในวัยทำงานส่วนใหญ่อยู่ในประเทศอินโดนีเซีย เวียดนาม กัมพูชา ลาว และพม่า ในขณะที่ตลาดอาเซียนเองก็กำลังปรับตัวสู่ประเทศที่มีกำลังซื้อสูงขึ้น ซึ่งเป็นโอกาสของสินค้าไฮเอนด์ที่จะเจาะเข้าสู่ตลาด
สำหรับกลุ่มประเทศ CLMV กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม เป็นกล่มุที่มีประชากรมากแต่กำลังซื้ออาจจะน้อย เหมาะสำหรับสินค้าประเภทปัจจัยสี่ ซึ่งผู้ประกอบการไทยน่าจะใช้ประโยชน์จากการใกล้ประเทศเหล่านี้ในการขยายตลาด
 
หม่อมราชวงศ์ พงษ์ศักดิ์ สวัสดิวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม มองทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยในอีก 3 ปีข้างหน้าว่า อุตสาหกรรมไทยต้องปรับโครงสร้างแรงงานจาก labor intensive มาใช้เทคโนโลยีแทนการใช้แรงงาน
 
“การเพิ่มค่าจ้างแรงงาน 1 เดือนที่ผ่านมา เป็นสัญญาณบอกถึงเวลาที่ผู้ประกอบการไทยต้องปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม เพื่อรองรับเทคโนโลยี เพราะแรงงานไทยลดน้อยลง เราต้องใช้ประโยชน์การเปิด AEC 2015 ต้องไปลงทุนประเทศที่มีต้นทุนค่าแรงต่ำกว่า ให้ประเทศเพื่อนบ้านช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมไทยให้เติบโตต่อไปได้” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าว
 
ค้นหาอุตสาหกรรมเด่นและด้อยในอาเซียน
http://logisticsviews.blogspot.com/2012/05/blog-post_27.html
 


 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที