Q. กิจกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดการสร้างมาตรฐานของห้องปฏิบัติการสอบเทียบและทดสอบ Q. ความพร้อมของห้องปฏิบัติการสอบเทียบและทดสอบไทยกับการแข่งขันในตลาดโลก ดังนั้น ห้องปฏิบัติการสอบเทียบและทดสอบที่ได้รับการรับรองจาก สมอ. จึงมีคุณภาพและมาตรฐานเทียบเท่าในระดับสากล สามารถแข่งขันและเป็นที่ยอมรับจากตลาดโลกได้ เช่น การส่งออกสินค้าซึ่งมีใบรายงานผลการทดสอบที่ได้รับการทดสอบจากห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองจาก สมอ. แล้ว จะไม่ต้องมีการทดสอบซ้ำอีก ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการสามารถลดระยะเวลาและต้นทุนในการผลิตในการส่งออกได้ |
|||||
Q. อุปสรรคที่ทำให้มาตรฐานห้องปฏิบัติการสอบเทียบและทดสอบไทยยังไม่พร้อมกับการแข่ง คุณไพโรจน์ : เท่าที่ทราบนั้น ปัจจุบันมีห้องปฏิบัติการที่ สมอ. ได้ให้การรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบและสอบเทียบแล้วรวม 173 แห่ง แบ่งเป็นห้องปฏิบัติการทดสอบ 129 แห่ง และห้องปฏิบัติการสอบเทียบ 45 แห่ง (ดูรายชื่อได้จาก www.tisi.go.th) แต่จากการรับรองความสามารถดังกล่าวนั้น ยังมีบางส่วนหรือบางสาขาที่อาจจะยังไม่ได้รับการรับรอง เช่น สาขาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์ ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ เพื่อมารองรับความต้องการของผู้ใช้บริการ จึงจำเป็นจะต้องผลักดันให้ห้องปฏิบัติการเหล่านี้ได้รับการรับรองเพิ่มขึ้นในสาขานั้นๆ ที่มีอยู่ได้ครบวงจร ซึ่งห้องปฏิบัติการดังกล่าวยังขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อกำหนด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดำเนินการให้มีความสามารถทางด้านวิชาการ นอกจากนี้ยังมีปัญหาเกี่ยวกับการหาวัสดุอ้างอิงและเข้าร่วมโปรแกรมการเปรียบเทียบผลระหว่างห้องปฏิบัติการซึ่งค่าใช้จ่ายสูงและหาซื้อวัสดุอ้างอิงหรือหาแหล่งที่จะเข้าร่วมโปรแกรมไม่ได้ ในส่วนการให้การรับรอง ขอบข่ายบางอย่างไม่มีผู้ชำนาญการในประเทศยังต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ ซึ่งจะต้องพัฒนาบุคลากรในประเทศให้มีความรู้ครอบคลุมทุกสาขา | |||||
Q. การป้องกันไม่ให้เกิดห้องปฏิบัติการสอบเทียบและทดสอบที่ไม่มีคุณภาพ คุณไพโรจน์ : เนื่องจากมาตรฐาน มอก. 17025 - 2543 ข้อกำหนดทั่วไปว่าด้วยความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบและห้องปฏิบัติการสอบเทียบ เป็นมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ สมอ. ไม่ได้กำหนดให้เป็น มาตรฐานบังคับ ดังนั้น จึงเป็นทางเลือกของผู้ให้บริการทดสอบและสอบเทียบที่คำนึงถึงมาตรฐานและ สอบเทียบที่คำนึงถึงมาตรฐานและคุณภาพของการบริการ ในการนำข้อกำหนดดังกล่าวไปปรับใช้เพื่อให้การให้บริการสอบเทียบและทดสอบมีคุณภาพ มีความน่าเชื่อถือ และเป็นที่ยอมรับ และจากเหตุผลข้างต้น สมอ. จึงมีนโยบายสนับสนุนการจัดทำระบบคุณภาพของห้องปฏิบัติ ในรูปแบบของการให้ความช่วยเหลือหรือสนับสนุนการจัดทำระบบ เช่น - สนับสนุนให้ห้องปฏิบัติการอื่นเข้าสู่มาตรฐาน มอก. 17025-2543 โดยการเข้าร่วมโครงการ TLC รวมทั้งประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงานเห็นความสำคัญและประโยชน์ที่จะได้รับ - ประสานงานกับหน่วยงานที่ออกกฎระเบียบ (regulators) ให้ใช้ใบรับ รายงานผลการทดสอบและ / หรือใบรายงานผลการสอบเทียบจากห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรอง ความสามารถห้องปฏิบัติการตาม มอก. 17025-2543 - มีมาตรการในการออกหลักการให้ผู้ประกอบการต้องนำสินค้าไปให้ห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการตาม มอก. 17025-2543 ทำการทดสอบเท่านั้น |
|||||
Q. ขีดความสามารถด้าน "บุคลากร" กับการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย คุณไพโรจน์ : ปัจจุบันการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการมีความพร้อมในเรื่องของบุคลากรระดับหนึ่ง โดยส่วนใหญ่ใช้บุคลากรด้านวิชาการร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ที่มีความชำนายเฉพาะด้านแต่สำหรับสาขาการทดสอบที่เกิดขึ้นใหม่ตามเทคโนโลยี ค่อนข้างจะคาดแคลน / ผู้ประเมินสำหรับสาขานั้นๆ ภายในประเทศ จึงต้องจัดหามาจากต่างประเทศ โดยการขอความร่วมมือหรือจัดจ้าง หรือแม้แต่ส่งเจ้าหน้าที่ไปฝึกอบรมดูงานในสาขาใหม่ ณ ต่างประเทศ เพื่อให้กลับมาทำหน้าที่เป็นผู้ประเมิน และนำความรู้มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้เชี่ยวชาญและผู้ประกอบการภายในประเทศอีกทั้งทาง สมอ. เองยังจัดสัมมนา / ฝึกอบรมเพื่อแลกเปลี่ยนและเพิ่มความรู้ทางด้านวิชาการให้กับผู้ประเมินอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาขีดความสามารถทางด้านนี้ให้กับประเทศ | |||||
Q. การเตรียมตัวเพื่อให้ทันกับการแข่งขัน คุณไพโรจน์ : การเตรียมตัวนั้น สิ่งแรก เลยที่จะต้องมองถึง คือห้องปฏิบัติการควรมีการจัดทำระบบคุณภาพให้เป็นไปตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 และขอรับการรับรองจากหน่วยรับรองห้องปฏิบัติการที่ได้มีการลงนามในการยอมรับร่วมระดับภูมิภาค และระดับระหว่างประเทศ และควรที่จะต้องติดตามข้อมูลข่าวสาร เทคนิคหรือเทคโนโลยีใหม่ๆ และกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องของกับต่างประเทศ เพื่อพัฒนาบุคลากรให้ทันกับเหตุการณ์ แต่ท้านสุดแล้ว ผู้บริหารขององค์กรนั้นๆ จะต้องเป็นผู้นำในการสร้างมาตรฐานให้เกิดขึ้น สำหรับห้องปฏิบัติการที่ยังไม่ได้รับการรับรอง ก็ควรที่จะเตรียมความพร้อมเพื่อขอรับการรับรอง โดยพิจารณาความพร้อมของบุคลากร เครื่องมือที่ใช้งานการสอบเทียบ สภาวะแวดล้อม วิธีทดสอบและเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ด้วยการศึกษาข้อกำหนด ISO/IEC 17025:1999 (มอก. 17025-2543) ให้เข้าใจและทำการขอการรับรองเป็นกระบวนการสุดท้ายตามขั้นตอนนั่นเอง ท้ายสุดแล้ว นอกเหนือจากสิ่งที่ สมอ. ได้สร้างขึ้นมาเพื่อพัฒนาและส่งเสริมให้เกิดมาตรฐานสากล สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่ง ห้องปฏิบัติการสอบเทียบและทดสอบทั้งหลายเหล่านี้ จำเป็นที่จะต้องพัฒนาขีดความสามารถในสาขาที่ยังมิได้รับการรับรอง เป็นการต่อยอดความสามารถของห้องปฏิบัติการให้เพิ่มมากขึ้นต่อไปอีก โดย : อรอนงค์ โรจนวิภาต |
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที