จิรารัตน์

ผู้เขียน : จิรารัตน์

อัพเดท: 23 ก.ค. 2012 00.26 น. บทความนี้มีผู้ชม: 8347 ครั้ง

เรื่องจริง....พนักงานอุ้มบุญ ลาคลอด?


เรื่องจริง....พนักงานอุ้มบุญ ลาคลอด?

 

เรื่องจริง....พนักงานอุ้มบุญ ลาคลอด?

                        โลกปัจจุบัน เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมากจึงทำให้กฎหมายและแนวปฏิบัติสมัยก่อน ๆ ตามยุคสมัยกันแทบไม่ทัน เมื่อสมัยก่อนไม่มีหรอก คลินิกทางการแพทย์ที่มาคอยให้คำปรึกษาด้านภาวะการมีบุตรยาก มีแต่ว่าจะเป็นให้ความรู้และควบคุมไม่ให้มีบุตรมากได้อย่างไร ซึ่งนโยบายรัฐบาลสมัยนั้นเคยออกนโยบายจำกัดการมีบุตรเสียด้วยซ้ำ อาจจะเป็นเพราะสมัยก่อนไม่ค่อยมีมลภาวะสารพิษและความเครียดเหมือนปัจจุบัน จึงทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องการมีบุตร

                                ตามโรงพยาบาลเอกชนดัง ๆ ได้เปิดคลินิกรับปรึกษาภาวการณ์มีบุตรยากให้แก่ครอบครัวที่มีปัญหาเรื่องการมีบุตรจนได้รับความสนใจจากลูกค้าที่ประสบปัญหา ซึ่งส่วนใหญ่ลูกค้าที่มาปรึกษาที่คลินิกดังกล่าวก็เป็นผู้ที่มีฐานะพอที่จะจ่ายเงินให้แก่สถานพยาบาล แต่ละท้องก็มีค่าใช้จ่ายใกล้ 7 หลัก เลยทีเดียว โรงพยาบาลจึงหาบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญมาให้บริการกับลูกค้าให้เกิดความประทับใจ ลูกค้าก็มีความต้องการเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ บางครั้งลูกค้าให้โรงพยาบาลหาคนรับจ้างท้องแทนก็มี โดยจ่ายค่าอุ้มบุญเป็นจำนวนเงินก้อน โดยแบ่งจ่ายออกเป็นสองก้อน ก้อนแรกจ่ายเมื่อทราบว่ามีการตั้งครรภ์และก้อนที่สองจ่ายเมื่อคลอดบุตรเรียบร้อยแล้ว

                                เมื่อแนวความคิดของลูกค้าเปลี่ยนไปทางโรงพยาบาลก็ต้องปรับกลยุทธ์ในการให้บริการแก่ลูกค้าให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วด้วย จึงมีพนักงานในโรงพยาบาลเอกชลเริ่มมองเห็นรายได้ที่ตัวเองจะได้มาเป็นเงินก้อนประกอบกันบางส่วนยังสามารถนำไปเบิกกับภาครัฐได้อีกด้วยจึงเกิดแนวคิดการอุ้มบุญแทนลูกค้า

                                ผู้เขียนในฐานะที่ได้มีกรณีศึกษาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ได้นำมาเล่าสู่กันฟังเพื่อเป็นตัวอย่างในการเรียนรู้ ให้ระดับผู้บริหารและฝ่ายทรัพยากรบุคคลได้ต่อยอกแนวความคิดในเรื่องนี้ เพื่อเป็นบรรทัดฐานการตัดสินใจจากกรณีศึกษาดังกล่าวได้ ดังต่อไปนี้

                                เหตุการณ์

-      โรงพยาบาลแห่งหนึ่งเปิดคลีนิกรับปรึกษาด้านภาวะการมีบุตรยาก

-      มีลูกค้า 2 สามีภรรยา คู่หนึ่งได้เข้ามาปปรึกษา แต่ภรรยาไม่อยากท้องเอง

-      จึงได้เจรจากับพนักงานที่เป็นพยาบาลในโรงพยาบาลในทางลับ โดยให้สินจ้างพยาบาลในโรงพยาบาลดังกล่าว เพื่อรับจ้างในท้องแทนลูกค้า

-      พยาบาลยังไม่มีสามี เห็นว่าเป็นเงินก้อนใหญ่พอสมควรจึงตกลงรับจ้าง

-      3 เดือนผ่านไป ท้องเริ่มใหญ่ขึ้นจนเพื่อน ๆ ได้วิจารณ์กันไปต่าง ๆ นานา ว่าไม่มีสามีท้องได้อย่างไรเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง

-      เรื่องนี้ทราบถึงผู้บริหาร จึงได้ให้ทางหัวหน้างานตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามข้อบังคับของบริษัท

                                งานของ HR

                                ฝ่ายบุคคลควรพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ คือ

-      พนักงานมีสิทธิในสวัสดิการของพนักงานได้หรือไม่ เช่น ลาดคลอง ฝากครรถ์

-      การรับจ้างนี้ถือเป็นความผิดหรือไม่

-      ถ้าพนักงานอ้างว่าเป็นการบริการลูกค้า เพื่อให้เกิดความพึงพอใจจะเป็นเหตุผลที่ฟังขึ้นหรือไม่

-      พนักงานสามารถนำบิลไปเบิกการลาคลองจากประกันสังคมได้หรือไม่

-      ถ้าข้อเท็จจริงเป็นตามกล่าวหาจริง จะลงโทษพนักงานอย่างไร

                                จากเหตุการณ์ตามโจทย์พนักงานในคลินิกที่รับคำปรึกษาภาวะการมีบุตรยากไปตกลงกับลูกค้าว่าจะรับครรถ์แทนลูกค้าที่ไม่ต้องการตั้งครรภ์เอง เมื่อเวลาผ่านไปท้องพนักงานเริ่มใหญ่ขึ้นจนเห็นได้ชัด พนักงานที่อยู่ในสังกัดเดียวกันเริ่มมีความสงสัยว่าสามีก็ไม่มีจะตั้งครรภ์ได้อย่างไร ประกอบกับมีลูกค้า สามี ภรรยาคู่หนึ่งจะมาเยี่ยมและซื้อของมาฝากให้รับประทานแทบทุกอาทิตย์จนเป็นสิ่งที่ผิดสังเกตทำให้เกิดครหาว่าพนักงานสามารถทำได้หรือไม่

                                เรามาเริ่มที่ประเด็นเรื่อง การใช้สิทธิสวัสดิการ การลาคลอด ตามข้อบังคับของพนักงานบริษัทพนักงานมีสิทธิ์ลาคลอดได้ 90 วัน โดยได้รับค่าจ้าง 45 วัน

                                ตามข้อเท็จจริง ถ้ามีการสอบสวนแล้วปรากฎว่า พนักงานได้รับจ้างจากลูกค้าจริง พนักงานจำไม่สามารถใช้สิทธิ์ในการลาคลอดตามข้อบังคับของบริษัทได้ เพราะเป็นการลาคลอดทที่ไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดตั้งแต่เริ่มต้น และพนักงานจะใช้สิทธิ์ลาอะไรเมื่อถึงกำหนดคลอด พนักงานต้องหยุดงานโดยปริยายอยู่แล้วก็อาจจะใช้เป็นลากิจ ลาพักร้อน

                                การรักษาพยาบาลสำหรับการคลอดบุตรก็จะไม่เข้าข่ายอีกเช่นกัน ตามหลักเกณฑ์ เรื่องการลาคลอด ยกเว้นว่า แพทย์ได้วินิจฉัยว่า การเจ็บป่วยดังกล่าวไม่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ ผู้เขียนเห็นว่า พนักงานสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลในกรณีของการเจ็บป่วยนี้ได้ แต่สำหรับการเจ็บป่วยในลักษณะนี้เป็นสิ่งที่อาจวินิจฉัยค่อนข้างลำบากว่าเป็นการเจ็บป่วยเนื่องจากการแพ้ท้องหรือเจ็บป่วยจากสภาพอากาศ ควรจะยึดถือตามวินิจฉัยของแพทย์เป็นสำคัญ จะเป็นทางออกที่ดีกว่า

                                ประเด็นการรับจ้างท้องแทนถือเป็นความคิดผิดได้หรือไม่ ตามข้อบังคับของบริษัทจะมีข้อกำหนดไว้มีใจความว่า “พนักงานต้องไม่รับปฏิบัติงานใด ๆ ให้กับบุคคล คณะบุคคล ห้างร้านหรือบริษัทอื่นใดเป็นอันขัดผลประโยชน์ของบริษัทหรือใช้เวลาการปฏิบัติงานของบริษัทเพื่อทำการใด ๆ เว้นแต่จะได้รับอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรจากบริษัท”

                                จากข้อความ จะเห็นได้ว่า พนักงานจะเข้าข่ายความผิดเรื่องของการใช้เวลาการปฏิบัติงานของบริษัทไปทำการรับจ้างตั้งครรภ์แทนตามข้อเท็จจริง

                                ประเด็นเหตุผลข้ออ้างที่ว่าเพื่อเป็นการบริการลูกค้าให้เกิดความพึงพอใจต่อองค์กร ถ้าจะให้ฟังขึ้น พนักงานท่านนี้ควรจะมาปรึกษาหัวหน้าตามสายบัญชาเสียก่อนเพื่อขออนุญาติเป้นลายลักษณ์อักษร ก่อนที่จะตัดสินใจกระทำการใด ๆ ไป น่าจะเป็นเหตุผลที่พอจะฟังขึ้น เหตุผลลักษณะนี้จะเข้าข่ายของการแก้ตัวมากกว่า

                                การนำบิลไปเบิก การคลอดบุตรจากสำนักงานประกันสังคม ซึ่งเป็นการเหมาจ่ายครั้งเดียวจำนวนเงิน 12,000 บาท ผู้เขียนได้สอบถามความเห็นจากหัวหน้าสำนักงานประกันสังคม ได้ให้ความเห็นว่า ทางหน่วยงานประกันสังคมจะไม่ได้ตรวจสอบอะไรมากนัก โดยเฉพาะกรณีฝ่ายหญิงเป็นผู้มาขอเบิกเงินเพราด้วยหลักแล้วบุตรอยู่ในครรภ์ของผู้ใด ถือเป็นบุตรของบุคคลนั้นเมื่อนำหลักฐานการคลอดและใบสูติบัตรของเด็กมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ ก็จะดำเนินการจ่ายได้เลย

                                การลงโทษพนักงาน จะความผิดในฐานใด ซึ่งในกรณีนี้พนักงงานได้ยอมรับว่าได้ดำเนินการรับจ้างตั้งครรภ์ตามการสอบสวยจริง พนักงานจะเข้าข่ายความผิดในด้านการใช้เวลาการปฏิบัติงานของบริษัทเพื่อทำการรับจ้างในการตั้งครรภ์เพื่อให้ตนเองได้ประโยชน์ เว้นแต่จะได้รับอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรจากบริษัท

                                แต่ละเรื่องก็เป็นไปตามหลักการแต่ละกรณี ยกตัวอย่างจริงมาให้ลองคิด พิจารณากันดู

 

                                อ้างอิง :: กฤติน กุลเพ็ง.  “เรื่องจริง....พนักงานอุ้มบุญ ลาคลอด?” ใน เรื่องจริง เรื่องเจ็บ ในงาน HR.  หน้า 121 – 125.  ลัดดา เตมีย์, บรรณาธิการ.  กรุงเทพฯ : หจก.บ้านหนังสือโกสินทร์, 2555.

 

                                 

 

 

 

                                 

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที