ในอุปนิสัยที่ 3 เราต้องตอบคำถามหลายๆ คำถามในเรื่องของการบริหารชีวิตและการบริหารเวลาในฐานะที่ผมศึกษาเรื่องนี้มาเป็นเวลายาวนาน เชื่อว่าหัวใจของแนวคิดที่ดีที่สุดด้านการบริหารเวลาสามารถสรุปให้สั้นเหลือเพียงประโยคเดียวว่า “บริหารและดำเนินตามลำดับความสำคัญ” วลีนี้แสดงให้เห็นถึงการวิวัฒนาการถึงสามยุคของทฤษฏีบริหารเวลาและวิธีนำไปปฏิบัติดีที่สุด
ยุคที่ 1 ในทำนองเดียวกัน ในด้านการบริหารเวลาแต่ละยุคพัฒนาขึ้นมาจากยุคก่อนหน้านี้แต่ละยุคนำเราไปสู่การควบคุมชีวิตของตัวเองที่ดียิ่งขึ้น คลื่นลูกแรกหรือยุคแรกมีรูปแบบเป็นการจดบันทึกและการจัดทำรายการจากนั้น เป็นการพยายามที่จะบันทึกสิ่งต่างๆที่เรียกว่าแรงงานและเวลาของเรา
ยุคที่ 2 มีรูปแบบเป็นการใช้ปฎิทินและสมุดจดบันทึกนัดหมาย ยุคนี้สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามที่จะมองไปข้างหน้า จัดเวลาให้เข้ากับเหตุการณ์ และกิจกรรมต่างๆที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ยุคที่ 3 ก็คือการบริหารเวลาในยุคปัจจุบัน เพิ่มเติมจากยุคก่อนๆโดยให้ความสำคัญการจัดลำดับความสำคัญการมีค่านิยมที่ชัดเจน และเปรียบเทียบคุณค่าของกิจกรรมตามความสัมพันธ์กับค่านิยมเหล่านั้น และมุ่งเน้นการตั้งจุดหมายการใช้เวลาและแรงกายในระยะยาว ระยะกลาง และระยะสั้น ให้สอดคล้องกับค่านิยมนอกจากนั้นยังรวมไปถึงแนวคิดในเรื่องการวางแผนประจำวันซึ่งเป็นการวางแผนเฉพาะเพื่อบรรลุเป้าหมายและกิจกรรมที่จัดว่ามีค่ามากที่สุด ในขณะที่การบริหารเวลาในยุคที่ 3 ได้สร้างการพัฒนามากมายคนเริ่มตระหนักว่าการตัดตารางเวลาอย่างมีประสิทธิภาพและการควบคุมเวลามักขัดแย้งกัน การมุ่งเน้นประสิทธิภาพและการควบคุมเวลามักขัดแย้งกัน การมุ่งเน้นประสิทธิภาพทำให้เกิดความคาดหวังผล ซึ่งขัดแย้งกับโอกาสในการสร้างความสัมพันธ์การตอบสนองความต้องการมนุษย์ และการมีความสนุกกับเหตุการณ์ในแต่ละวัน
มาถึงตอนนี้ได้เกิดการบริหารเวลา ยุคที่ 4 ขึ้น ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างไปจากเดิมโดยชี้ให้เห็นว่าการใช้คำว่า การบริหารเวลา ทำให้เกิดการเข้าใจผิด เพราะความสำคัญไม่ได้อยู่ที่การบริหารเวลา แต่อยู่ที่การ บริหารตนเอง ความพึงพอใจเป็นเรื่องของความคาดหวังและการรับรู้ ซึ่งความคาดหวัง ( และความพึงพอใจ) เป็นสิ่งที่อยู่ภายในของเขตอิทธิพลของเรา
แทนที่จะให้ความสนใจไปกับสิ่งที่ต้องทำและเวลา การบริหารเวลาในยุคที่ 4 ให้ความสนใจไปในเรื่องของการดำรงรักษาไว้ การเพิ่มพูนสัมพันธภาพ และเรื่องการบรรลุถึงผลลัพธ์ สรุปให้สั้นก็คือรักษาสมดุลของ P/PC
อ้างอิงจาก
Stephen R.Covey. "การมอบ หมายงาน". The 7 Habits of Highly Effective People เรียบเรียงโดย สงกรานต์ จิตสุทธิภากร : บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่นจำกัด (มหาชน)
บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที